พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ อัชฌัตติกอนิจจสูตร [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ไม่เที่ยง สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ .............................................................................................................................................................. เป็นทุกข์ อัชฌัตติกทุกขสูตร [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นทุกข์ ฯลฯ จมูกเป็นทุกข์ ฯลฯ ลิ้นเป็นทุกข์ ฯลฯ กายเป็นทุกข์ ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ .............................................................................................................................................................. เป็นอนัตตา อัชฌัตติกอนัตตสูตร [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา หูเป็นอนัตตา ฯลฯ จมูกเป็นอนัตตา ฯลฯ ลิ้นเป็นอนัตตา ฯลฯ กายเป็นอนัตตา ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ ฯ .............................................................................................................................................................. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง พาหิรอนิจจสูตร [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป .. ย่อมทราบชัด ... ฯ ทุกขัง พาหิรทุกขสูตร [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาสิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตาสิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ อนัตตา พาหิรอนัตตสูตร [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ... ฯ .............................................................................................................................................................. อดีต อนาคต เป็นของไม่เที่ยง อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ที่เป็นอดีต และอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึง จักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใย ในจักษุ ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้นกาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใย ในใจที่เป็นอดีตไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นปัจจุบัน ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นทุกข์ อตีตานาคต ปัจจุปันนทุกขสูตร [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ที่เป็นอดีต และอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงจักษุ ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุ ที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงใจ ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ อดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นอนัตตา อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ที่เป็นอดีต และอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กายใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน ฯ รูป ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พาหิรสูตร [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไย ถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็น อดีต และอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินใน ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่ง ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ที่เป็นอดีต และอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป ที่เป็นอดีต และอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็น อดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็น อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ