เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปสาทสูตร ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการ 470
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า อริยมรรมีองค์8
เลื่อมใสในวิราคะ(คลายความพอใจ)
เลื่อมใสพระสงฆ์(ที่ประพฤติปฏิบัติชอบ)


ปสาทสูตร ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการเป็นไฉน
1.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า (คำสอน) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

2.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

3.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคะ (คลายความพอใจ) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชน ผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

4.ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ (ที่ประพฤติปฏิบัติชอบตามธรรมวินัย) ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และพละอันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งซึ่งธรรมอันเลิศ



 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้า 34

ปสาทสูตร

           [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้

๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเท้าก็ตาม ๒ เท้าก็ตาม๔ เท้าก็ตาม มีเท้ามาก ก็ตาม มีรูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ตาม มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี สัญญา ก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเพียงใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อัน ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น (1) ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใส ใน สิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใส ในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น (2) ชนเหล่าใดเลื่อมใสใน อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และ วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด วิราคะคือ ธรรมอันย่ำยีความเมา ธรรมเครื่องกำจัดความกระหาย ความถอนเสียซึ่ง ความอาลัย ความเข้าไปตัดวัฏฏะ ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน เรากล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น (3) ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคะ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศย่อมมีแก่ชน ผู้เลื่อมใส ในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ คือ พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควร ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น (4) ชนเหล่า ใด เลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งเลิศ และวิบากอันเลิศ ย่อมมี แก่ชนผู้เลื่อมใสในสิ่งเลิศ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งเลิศ ๔ ประการนี้แล ฯ บุญที่เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุข และ พละอันเลิศ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้ง ซึ่งธรรมอันเลิศ      เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ
     เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม
     เลื่อมใส
ในพระธรรมอันเลิศซึ่งเป็นธรรมปราศจากราคะ สงบและเป็นสุข
     เลื่อมใส
ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตชั้นเยี่ยม ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น

ผู้มีปัญญาตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะเกิดเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์