เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหาจัตตารีสกสูตร [ฉบับมหาจุฬาฯ] 420.1
 


สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร

คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล คืออุปธิ (อุปาทาน)
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุ
รู้ชัด มิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ........... รู้ชัด สัมมาทิฏฐิว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ
รู้ชัด มิจฉาสังกัปปะว่า เป็นมิจฉาสังกัปปะ.. รู้ชัด สัมมาสังกัปปะว่า เป็นสัมมาสังกัปปะ
รู้ชัด มิจฉาวาจาว่า เป็นมิจฉาวาจา ...........รู้ชัด สัมมาวาจาว่า เป็นสัมมาวาจา
รู้ชัด มิจฉาอาชีวะว่า เป็นมิจฉาอาชีวะ....... รู้ชัด สัมมาอาชีวะว่า เป็นสัมมา อาชีวะ
รู้ชัด มิจฉากัมมันตะว่า เป็นมิจฉากัมมันตะ.. รู้ชัด สัมมากัมมันตะว่า เป็นสัมมากัมมันตะ
ความรู้ของภิกษุนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ

มรรค 8 แบบสาสวะ และอนาสวะ(ตาราง)


ออกไป มหาจัตตารีสกสูตร ฉบับหลวง

คลิป มหาจัตตารีสกสูตร(ฉบับมหาจุฬา)
คลิป เสียงอ่าน/สาธยาย(ฉบับหลวง)

 
 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๑๗๔-๑๘๓.

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ



             [๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะที่มีอุปนิสะบ้าง(๑) มีปริขารบ้าง (๒) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องว่า
(๑) อุปนิสะ หมายถึงมีเหตุปัจจัย (๒) ปริขาร หมายถึงมีองค์ประกอบ

“สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มี อุปนิสะ มีปริขาร เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุรู้ชัด มิจฉาทิฏฐิ ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัด สัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็นสัมมาทิฏฐิ’
ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่น สรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี และทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ ก็ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติ ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ(อุปาทาน)
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

     สัมมาทิฏฐิ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวง แล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี และทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามีมารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง โลกนี้และโลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก’ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

   สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย อริยมรรค เจริญ อริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง มรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยังสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความ พยายามของ ภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติ เข้าถึง สัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม สัมมาทิฏฐิ ของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัด มิจฉาสังกัปปะว่า ‘เป็นมิจฉา สังกัปปะ’ รู้ชัดสัมมาสังกัปปะว่า ‘เป็นสัมมาสังกัปปะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ

มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในกาม ความดำริในความพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียนนี้ เป็นมิจฉาสังกัปปะ

สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นสัมมาสังกัปปะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่วแน่ ความแนบแน่นความปักใจ ความปรุงแต่งคำ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้เพียบพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉาสังกัปปะ ยังสัมมาสังกัปปะ ให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ มิจฉาสังกัปปะ มีสติเข้าถึงสัมมาสังกัปปะอยู่สติของภิกษุนั้นเป็น สัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม สัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัด มิจฉาวาจาว่า ‘เป็นมิจฉาวาจา’ รู้ชัดสัมมาวาจาว่า ‘เป็นสัมมาวาจา’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

มิจฉาวาจา เป็นอย่างไร
คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นมิจฉาวาจา

สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาวาจาว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นสัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรคเป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ ของภิกษุผู้มี จิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระเป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุ ย่อม พยายามเพื่อละมิจฉาวาจา ยังสัมมาวาจาให้ถึงพร้อมอยู่ ความพยายามของ ภิกษุ นั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาวาจามีสติเข้าถึงสัมมาวาจาอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม สัมมาวาจา ของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัด มิจฉากัมมันตะว่า ‘เป็นมิจฉากัมมันตะ’ รู้ชัด สัมมากัมมันตะว่า ‘เป็นสัมมากัมมันตะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ  

มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นมิจฉากัมมันตะ

สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมากัมมันตะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นสัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากกายทุจริต ๓ ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระเป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉากัมมันตะ ยังสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะ มีสติ เข้าถึงสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม สัมมากัมมันตะ ของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร

คือ ภิกษุรู้ชัด มิจฉาอาชีวะว่า ‘เป็นมิจฉาอาชีวะ’ รู้ชัดสัมมาอาชีวะว่า ‘เป็นสัมมา อาชีวะ’ ความรู้ของภิกษุนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ

มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ การพูด หลอกลวง การเลียบเคียง การหว่านล้อม การพูดและเล็มการใช้ลาภต่อลาภ นี้เป็น มิจฉาอาชีวะ

สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาอาชีวะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ

สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรคเป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระเป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉาอาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม ความพยายาม ของภิกษุนั้นเป็น สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะ มีสติ เข้าถึงสัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ
(๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม คล้อยตาม สัมมาอาชีวะ ของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ ก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ ก็มีพอเหมาะ (รวมองค์ ๑๐)
ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้

             [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า

สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมี มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรม เป็นอเนก อันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลาย มิจฉาสังกัปปะได้ ...
สัมมาวาจา ย่อมทำลาย มิจฉาวาจาได้ ...
สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลาย มิจฉากัมมันตะได้ ...
สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลาย มิจฉาอาชีวะได้ ...
สัมมาวายามะ ย่อมทำลาย มิจฉาวายามะได้ ...
สัมมาสติ ย่อมทำลาย มิจฉาสติได้ ...
สัมมาสมาธิ ย่อมทำลาย มิจฉาสมาธิได้ ...
สัมมาญาณะ ย่อมทำลาย มิจฉาญาณะได้ ...
สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลาย มิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาวิมุตติ เป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น อเนก อันมีสัมมาวิมุตติ เป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยาย ชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้

             [๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเข้าใจธรรม บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ๑- นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะ หรือพราหมณ์นั้น จะเป็นเหตุให้ ถูก ตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว คือ

๑. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาทิฏฐิ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ ผู้เป็น มิจฉาทิฏฐิ
๒. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาสังกัปปะ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ ผู้เป็น มิจฉาสังกัปปะ
๓. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาวาจา ฯลฯ
๔. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมากัมมันตะ ...
๕. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาอาชีวะ ...
๖. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาวายามะ ...
๗. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาสติ ...
๘. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาสมาธิ ...
๙. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาญาณะ ...
๑๐. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียน สัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงเข้าใจธรรมบรรยายชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือควรคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้นและคำ ที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิ ได้ ในปัจจุบันทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกวัสสะและพวกภัญญะชาวโอกกลชนบท ผู้เป็น อเหตุกวาทะ๑- อกิริยวาทะ๒- นัตถิกวาทะ๓- เหล่านั้น ก็ยังเข้าใจ ธรรมบรรยาย ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน
(๑- ๒- ๓- เป็นชื่อลัทธิอื่น)

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การว่าร้าย และการแข่งดี”

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล


มรรค 8 ที่เป็นทั้ง สาสวะ และ อนาสวะ
  มรรค 8 ที่เป็น สาสวะ   มรรค 8 ที่เป็น อนาสวะ

1 สัมมาทิฐิ

(ความเห็นชอบ)


สัมมาทิฏฐิ ที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล คือ อุปธิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่ เซ่นสรวง แล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรม ที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้า มี มารดามีคุณ บิดา มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณ พราหมณ์ ผู้ประพฤติ ปฏิบัติชอบทำให้ แจ้ง โลกนี้ และ โลกหน้า ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น ให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผล คือ อุปธิ (อุปาทาน)

 


สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ

เป็นองค์แห่ง มรรคเป็นอย่างไร
คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญา พละ ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิองค์แห่งมรรค ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญ อริยมรรค อยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละ มิจฉาทิฏฐิ ยังสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความ พยายามของ ภิกษุนั้น เป็นสัมมา วายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติ เข้าถึง สัมมาทิฏฐิ อยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม คล้อยตาม สัมมาทิฏฐิ ของภิกษุนั้นี้



2 สัมมาสังกัปปะ

(ดำริชอบ)

สัมมาสังกัปปะ ที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผล คือ อุปธิ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่ เบียดเบียน นี้เป็นสัมมาสังกัปปะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วน แห่งบุญ ให้ผล คืออุปธิ
 
สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ

เป็นองค์ แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความ แน่วแน่ ความแนบแน่น ความปักใจ ความปรุงแต่งคำ ของภิกษุผู้มี จิตไกล จากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มี อาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อม พยายามเพื่อละมิจฉา สังกัปปะ ยังสัมมาสังกัปปะ ให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมา วายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ มิจฉาสังกัปปะ มีสติเข้าถึง สัมมาสังกัปปะอยู่ สติของ ภิกษุนั้นเป็น สัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม คล้อย ตาม สัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น


3 สัมมาวาจา

(วาจาชอบ)

สัมมาวาจา ที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคือ อุปธิ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจาก การพูด เท็จ เจตนาเป็นเหตุ งดเว้นจากการพูด ส่อเสียด เจตนา เป็นเหต งดเว้นจาก การพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุ งดเว้น จากการ พูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นสัมมาวาจาที่ยังมี อาสวะ เป็น ส่วนแห่งบุญ ให้ผล คืออุปธิ
 
สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่ง มรรค เป็นอย่างไร
 คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุ งดเว้นจากวจีทุจริต ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจาก ข้าศึก มีจิตหาอาสวะ มิได้ เพียบพร้อมด้วย อริยมรรคเจริญอริยมรรค อยู่ นี้เป็นสัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ที่ไม่มี อาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น องค์แห่งมรรค ภิกษุ ย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา ยังสัมมาวาจา ให้ถึงพร้อมอยู่ ความพยายามของ ภิกษุ นั้น เป็น สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละ มิจฉาวาจามีสติเข้าถึง สัมมาวาจาอยู่ สติของ ภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวา ยามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม คล้อยตาม สัมมาวาจา ของภิกษุนั้น


4 สัมมากัมมันตะ

(ประพฤติชอบ)

สัมมากัมมันตะ ที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคือ อุปธิ เป็นอย่างไรคือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจาก การฆ่า สัตว์ เจตนาเป็นเหตุ งดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนา เป็นเหตุงดเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นสัมมา กัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
 
สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ

เป็นองค์ แห่ง มรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็น เหตุงดเว้นจากกายทุจริต ๓ ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลจาก ข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อม ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรค อยู่ นี้เป็น สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค ภิกษุนั้น ย่อมพยายาม เพื่อละมิจฉากัมมันตะ ยังสัมมา กัมมันตะ ให้ถึงพร้อม ความพยายาม ของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ ภิกษุนั้น มีสติละมิจฉากัมมันตะ มีสติ เข้าถึงสัมมา กัมมันตะอยู่ สติ ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม คล้อยตาม สัมมากัมมันตะ ของภิกษุนั้น


5 สัมมาอาชีวะ

(เลี้ยงชีพชอบ)

สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคือ อุปธิ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เป็นสัมมา อาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
 
สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ

เป็นองค์แห่ง มรรคเป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุ งดเว้น จากมิจฉา อาชีวะ ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลจาก ข้าศึก มีจิตหา อาสวะมิได้ เพียบ พร้อมด้วยอริยมรรคเจริญ อริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมา อาชีวะ อันเป็น อริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้น ย่อม พยายาม เพื่อละมิจฉา อาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้ถึง พร้อม ความ พยายาม ของภิกษุ นั้น เป็น สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมี สติละ มิจฉา อาชีวะ มีสติ เข้าถึง สัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้น เป็นสัมมาสติ ธรรม๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม คล้อยตาม สัมมาอาชีวะ ของภิกษุ นั้น

6 สัมมาวายามะ
(ความเพียรชอบ)
    เป็นธรรม ๓ ที่แวดล้อมองค์อื่นๆ ที่ถูกปฏิบัติขึ้นมา
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ

7 สัมมาสติ
(ระลึกชอบ)
    เป็นธรรม ๓ ที่แวดล้อมองค์อื่นๆ ที่ถูกปฏิบัติขึ้นมา
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ

8 สัมมาสมาธิ
(จิตตั้งมั่น)
   
สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มี อุปนิสะ มีปริขาร เป็นอย่างไร

คือ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็น หัวหน้า (สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ต้องประกอบด้วยองค์ ๗)
       
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์