เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อิสิทัตตสูตรที่ ๑ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ ด้วยเหตุ เท่าไรหนอแล 2046
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

อิสิทัตตสูตรที่ ๑
คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ ด้วยเหตุ เท่าไรหนอแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระ ผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น

คือจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุคันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุโผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูกรคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุ เท่านี้แล

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๑๔-๓๑๕

อิสิทัตตสูตรที่ ๑

           [๕๔๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกัน อยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           ครั้นแล้ว ได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ได้รับอาราธนาโดย ดุษณีภาพ

           ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่ง กราบไหว้ กระทำประทักษิณแล้วจากไป

           [๕๔๒] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร พากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ตบแต่ง ไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระ ผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล

           [๕๔๓] เมื่อจิตตคฤหบดีถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระ ผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๒ พระเถระผู้เป็นประธาน ก็ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีก็ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไร หนอแล แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่

           [๕๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านอิสิทัตตะ เป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุสงฆ์ หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระ ผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระ ผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ของจิตตคฤหบดี

           พระเถระกล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ เชิญท่านพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ของ จิตตคฤหบดีเถิด

           อิ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกัน ว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไร หนอแล ดังนี้หรือ
           จิตต. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ

           อิ. ดูกรคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ คือจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุคันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุโผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูกรคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล

           [๕๔๕] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของท่านอิสิทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธาน ได้กล่าวกะท่านอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่เรา

           ดูกรท่านอิสิทัตตะ ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้ พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหล ะพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น



 

 

 

 

 

 

 

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์