เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โสดาบันละทิฐินี้ได้แล้ว ทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ไม่มีบาปแก่ผู้กระทำ ความเศร้าหมองไม่มีเหตุ 2008
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

๔. โนจเมสิยาสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งนัตถิกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี)
เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีและบริขารของเรา ไม่พึงมี เราจักไม่มีและบริขารของเราจักไม่มี. (เมื่อเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ ...)
เมื่อใดอริยสาวก ละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ (อายตนะ ๖) ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัย แม้ใน ทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคาฯ เมื่อนั้น เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน

๕. นัตถิทินนสูตร ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น)
ทิฏฐินี้เชื่อว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔

๖. กโรโตสูตร ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าเมื่อบุคคลทำเองเป็นต้น)
ทิฏฐินี้เชื่อว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่น ดิ้นรนฆ่าสัตว์ ...ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป บาปที่มีการทำ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา

๗. เหตุสูตร ว่าด้วยอเหตุกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งนัตถิกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี)

            [๔๒๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี ดังนี้ ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค เป็น รากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีและบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มีและบริขารของเราจักไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่น วิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเรา ไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี

            [๔๒๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น ในสิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริการของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี บ้างไหมฯ
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้นพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขาร ของเราจักไม่มีบ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวก ละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๐

๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น)


            [๔๒๕] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔

            เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปใน อากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา)ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลา บัญญัติไว้ คำของคนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกาย สลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี พระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อม ขาดสูญพินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่าทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี

            [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้นจะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๒

๖. กโรโตสูตร
ว่าด้วยอกิริยทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าเมื่อบุคคลทำเองเป็นต้น)

            [๔๒๗] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคล ทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ตัดเอง ใช้ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่น ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขาพูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองมังสะ อันเดียว บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขาไม่มีบาปมาถึงเขา

            แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวา แห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองใช้ ผู้อื่นให้ตัด เดือดร้อนเอง ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี แก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา

            แม้หากบุคคล จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ให้ทาน บูชาเอง ใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึง เขาบุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา?

            ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูปอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นทำให้ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝน อินทรีย์ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ...เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะ ยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา.

            [๔๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วย การ ให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมา ถึงเขา บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วย การให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึง เขา บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำ ฯลฯ บุญที่เนื่องด้วย การให้ทาน การฝึกฝนอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมา ถึงเขา บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวก ละความสงสัย ในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓-๒๒๔

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยอเหตุกทิฏฐิ (ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น)

            [๔๒๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัย มิได้ ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ

            สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุข เสวยทุกข์ ใน อภิชาติ * ทั้ง ๖ เท่านั้น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าพระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
* อภิชาติ หมายถึงการกำหนดชนชั้น

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิ ขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่น วิญญาณเพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อม เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น

            [๔๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ ในอภิชาติทั้ง ๖เท่านั้น บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ ในอภิชาติทั้ง ๖เท่านั้น บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่น สิ่งนั้นจะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ ในอภิชาติทั้ง ๖เท่านั้น บ้างไหม?
            ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ นี้ ชื่อว่า เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.




 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์