เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อวิชชาสูตร (ไม่รู้ชัดซึ่งรูป) ธัมมกถิกสูตร (แสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย)พันธสูตร (เห็นรูปโดยความเป็นตน) 2001
 

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗)

๑. อวิชชาสูตร
ที่เรียกว่า อวิชชาอวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล?
ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด แห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป (แห่งเวทนา แห่งสัญญา..)

๒. วิชชาสูตร
ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน หนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ

๓. ธัมมกถิกสูตรที่ ๑
ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ดูกรภิกษุ ภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่าภิกษุธรรมกถึก

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
หากว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่าภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

๔. ธัมมกถิกสูตรที่ ๒

๕. พันธสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ... ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป
อริยสาวกผู้ได้สดับ... ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป

๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑
เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา ... วิญญาณ ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒

๘. สังโยชนสูตร
ภิกษุท. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์

๙. อุปาทานสูตร
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน เป็นไฉน?
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

อุปาทานเป็นไฉน?
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๖

๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา

            [๓๐๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาอวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

            ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด แห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัด ซึ่งเวทนา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ไม่รู้ชัด ซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึง ความดับวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๖

๒. วิชชาสูตร
ว่าด้วยความหมายของวิชชา

            [๓๐๑] พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน หนอแล? และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

            ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในโลกนี้ รู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งเวทนา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสัญญา ฯลฯ รู้ชัดซึ่งสังขาร ฯลฯรู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับวิญญาณ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๗

๓. ธัมมกถิกสูตรที่ ๑
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าพระธรรมกถึก

            [๓๐๒] พระนครสาวัตถี. ภิกษุรูปนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

            ดูกรภิกษุ หากว่า ภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่าภิกษุธรรมกถึก.

            หากว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

             หากว่า ภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุ นิพพานในปัจจุบัน.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๗

๔. ธัมมกถิกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าพระธรรมกถึก

            [๓๐๓] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระธรรมกถึก พระธรรมกถึก ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

             ดูกรภิกษุ หากว่า ภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ธรรมกถึก.

            หากว่า ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

             หากว่า ภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุ นิพพานในปัจจุบัน.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘

๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำคือขันธ์ ๕

            [๓๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับคำแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมตามเห็นเวทนา ... ตามเห็นสัญญาตามเห็นสังขาร ... ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้แล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในทั้งภายนอก จำไว้แล้ว เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมตาย ทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมไปจากโลกนี้ สู่โลกหน้าทั้งๆ ที่ถูกจำ.

            [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยเจ้า ทั้งหลายฯลฯ ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ เป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป. ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...วิญญาณโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณ ในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้ ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ ทั้งภายในภายนอกจำไว้ เป็นผู้มองเห็นฝั่งนี้เป็นผู้มองเห็นฝั่งโน้น เรากล่าวว่า ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากทุกข์.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๕๙

๖. ปริมุจจิตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น

 

            [๓๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เธอทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ ของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราดังนี้.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๙

๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น

            [๓๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๙

๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์

            [๓๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง สังโยชน์เป็นไฉนสังโยชน์เป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่ง สังโยชน์. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นชื่อว่า สังโยชน์.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๐

๙. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน

            [๓๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน เป็นไฉน อุปาทานเป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่ง อุปาทาน.

            ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์