เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อานิสงส์ของการทรงจำคำพระศาสดา อานิสงส์ 4 ประการ 233  
 
(สรุปย่อพอสังเขป)

อานิสงส์ ๔ ประการ จากการทรงจำคำของพระศาสดา จนคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ
หลังทำกาละ จะได้ไปเกิดเป็นเทวดาภพใดภพหนึ่ง และจะบรรลุธรรมในภพนั้น ด้วยเหตุ ๔ ประการ

1 ช่วยตัวเองได้ แม้ในกาลทำกาละ
*เนื่องจากสั่งสมสุตตะมากพอ(๑) ธรรมย่อมปรากฏ
สามารถลรรลุธรรมโดยพลัน

2 ภิกษุผู้มีฤทธิ์มาช่วย (สุตตะหย่อนลงมา)
สุตตะไม่พอ บทธรรมไม่ปรากฏ ช่วยตัวเองไม่ได้ (๑)
*แต่มีภิกษุ(มนุษย์) มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรมให้ฟัง (๒)

ทำให้นึกถึงบทแห่งธรรมในอดีต สมัยเป็นมนุษย์ ทำให้บรรลุธรรมในภพนั้น

3 เทวดาด้วยกันมาช่วย (สุตตะหย่อนลงมาอีก)
สุตตะไม่พอ บทธรรมไม่ปรากฏ ช่วยตัวเองไม่ได้ (๑)
ไม่มีภิกษุ(มนุษย์) มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรมให้ฟัง (๒)

*แต่มีเทพในภพเทวดา ที่รู้ธรรม แสดงธรรมให้ฟัง (๓)

ทำให้นึกถึงบทแห่งธรรมในอดีต สมัยเป็นมนุษย์ ทำให้บรรลุธรรมในภพนั้น

4 เทพผู้เกิดก่อนมาเตือน (สุตตะหย่อนลงมาอีก)
สุตตะไม่พอ บทธรรมไม่ปรากฏ ช่วยตัวเองไม่ได้ (๑)
ไม่มีภิกษุ(มนุษย์) มีฤทธิ์ขึ้นไปแสดงธรรมให้ฟัง (๒) )
ไม่มีเทพในภพเทวดา ที่รู้ธรรม แสดงธรรมให้ฟัง (๓)
*แต่เทพผู้เกิดก่อนเตือนเทพที่เกิดทีหลัง (๔)
ทำให้นึกถึงบทแห่งธรรมในอดีต สมัยเป็นมนุษย์ ทำให้บรรลุธรรมในภพนั้น

สรุป แบบที่ 1 ดีที่สุด พึ่งตนได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก มหาวรรคที่ ๕ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๘/๑๙๑

อานิสงส์ของการทรงจำคำพระศาสดา
อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย แม้จะอยู่ในภพเทวดา

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย (1)
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น ฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง (2)
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้น ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกาย หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความ ชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความ สงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง (3)
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดง ธรรม ในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรม วินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือ มิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึง ความตกลงใจว่า เสียงสังข์ทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง (4)
ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มี ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อน เตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้ หรือว่าเราได้ ประพฤติพรหมจรรย์ ในกาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกันบางครั้งบางคราว ในที่ บางแห่ง สหายคนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรม แม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์