เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระผู้มีพระภาคตำหนิภิกษุเรื่องบิณฑบาต (ปิณฑปาตสูตร) 1660
  (ย่อ)

พระผู้มีพระภาคตำหนิภิกษุเรื่องบิณฑบาต (ปิณฑปาตสูตร)
ภิกษุจับกลุ่มสนทนาหลังกลับจากเที่ยวบิณฑบาตว่า ได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจ ได้ฟังเสียงอันเป็น ที่พอใจ ได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจ ได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจ ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจ

พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่
การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวช เป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา พึงกล่าวเรื่องเห็นปานนี้นั้น ไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ
- ธรรมีกถา (สนทนาธรรม)
- ดุษณีภาพ อันเป็นอริยะ (นั่งนิ่งอย่างอริยะ)

(หมายเหตุ ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันในเรื่องกามคุณ ทรงเห็นว่าไม่สมควร เมื่อภิกษุประชุมกันแล้ว พึงทำ 2 อย่างคือ สนทนาธรรม หรือนั่งนิ่งเป็นอริยะ)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน หน้าที่ ๘๔

พระผู้มีพระภาคตำหนิภิกษุเรื่องบิณฑบาต ( ปิณฑปาตสูตร)


            [๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ในเวลา ปัจฉาภัตนั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ต้นกุ่ม สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างนี้ว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยว บิณฑบาตอยู่ ย่อมได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจด้วยจักษุ ย่อมได้ฟังเสียงอันเป็นที่ พอใจ ด้วยหู ย่อมได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจด้วยจมูกย่อมได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจด้วยลิ้น ย่อมได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจด้วยกาย ตามกาลอันสมควร

            ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้อัน มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ย่อมเที่ยวไปบิณฑบาต

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายผิฉะนั้น เราทั้งหลายจงถือการเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตรเถิด แม้เราทั้งหลายก็จักได้เห็นรูป อันเป็นที่พอใจด้วยจักษุ ได้ฟังเสียงอันเป็น ที่พอใจด้วยหู ได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจด้วยจมูก ได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจด้วยลิ้น ได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจด้วยกาย ตามกาลอันสมควรแม้เราทั้งหลาย ก็จักเป็น ผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงเที่ยวไปบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้น สนทนากถาค้างอยู่ในระหว่างเพียงนี้

            ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ได้เสด็จ เข้าไปถึงโรงกลมใกล้ต้นกุ่ม แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่อง อะไรหนอ และเธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ในเวลา ปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ต้นกุ่มนี้ เกิดสนทนากันในระหว่างนี้ว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไป บิณฑบาตอยู่ ย่อมได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจด้วยจักษุ ... แม้เราทั้งหลายก็จักเป็นผู้อัน มหาชน สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง เที่ยวไปบิณฑบาต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จ มาถึง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวช เป็นบรรพชิต ด้วยศรัทธา พึงกล่าวเรื่องเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือ ดุษณีภาพอันเป็นอริยะ (นิ่งอย่างอริยะ)

            ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าถ้าว่า ภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้คงที่

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์