เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อนาคามีในกลุ่มปุริสคติ ๗ (ปุริสคติสูตร) อุปมาช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน 1612
  (ย่อ)

1.
อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก แล้วดับ
2
.อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วดับ
3.
อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ยังไม่ตกถึงพื้น แล้วดับ
4.อุปหัจจปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกถึงพื้น แล้วดับ
5.อสังขารปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกลงที่กองหญ้ากองไม้เล็กๆ แล้วดับ (หมดเชื้อ)
6.สสังขารปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกลงที่กองหญ้ากองไม้เขื่องๆ แล้วดับ (หมดเชื้อ)
7.อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี สะเก็ดร่อนออกลอยไป ตกลงที่กองไม้ใหญ่ๆลามไปสุดชายเขา สุดชายน้ำ
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๑/๕๒./หนังสืออานาคามี หน้า 28

อุปมาช่างตีเหล็ก


             ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการ เป็นอย่างไร คือ

             (1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม ในอดีต ไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบัน ไม่มีไซร้ อัตภาพใน อนาคต ก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด ในเบญจขันธ์ อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์ อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญา อันชอบก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้ โดยอาการ ทั้งปวง อนุสัยคือ มานะ อนุสัยคือ ภวราคะ อนุสัยคือ อวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้นย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก แล้วดับไป ฉะนั้น.1

1. อุปมานี้ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีมาโดยภาษาบาลี จึงได้เทียบเคียงสำนวนแปลมาจากพระไตรปิฎกฉบับอื่น. -ผู้รวบรวม

             (2) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่มีแล้วไซร้ … เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็น มาแล้ว เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต… ย่อมพิจารณา เห็นบทอันสงบ ระงับ อย่างยิ่ง ซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล
ภิกษุนั้นยัง ทำให้แจ้งไม่ได้โดย อาการทั้งปวง อนุสัยคือ มานะ … อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็น อันตรา ปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่น เหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ด ร่อนออก ลอยไปแล้วก็ดับ ฉะนั้น

             (3) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ …
เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่น เหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกยังไม่ถึง พื้นก็ดับ ฉะนั้น.

             (4) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ … เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่น เหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปตกถึงพื้นแล้ว ก็ดับ ฉะนั้น.

             (5) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ …
เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อนายช่าง ตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไปแล้วตกลงที่กองหญ้า หรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้น ย่อมให้ไฟ และควัน เกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกองไม้เล็กๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันเผา กองหญ้า หรือ กองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปจนไม่มีเชื้อ แล้วก็ดับ ฉะนั้น.

             (6) ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ …
เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตี แผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วตกลงที่ กองหญ้าหรือ กองไม้เขื่องๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้เกิดไฟ และควันที่ กองหญ้า หรือ กองไม้เขื่องๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟ และควันแล้ว เผากองหญ้าหรือ กองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปจนไม่มีเชื้อ แล้วก็ดับ ฉะนั้น.

             (7) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ …
เพราะโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
เธอเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสใน เบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ) เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วตกลงที่กองหญ้า หรือกองไม้ใหญ่ๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้เกิด ไฟและควัน ที่กองหญ้า หรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้า หรือ กองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วจึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้ ครั้นไหม้ไม้กอและ ป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียวที่สุดภูเขา ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลปุริสคติ ๗ ประการ



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์