เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยอินทรีย์ อินทรีย์ ๓ - ๖ อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่/ร่างกายและจิตใจ/สติปัญญา/สิ่งมีชีวิต 1563
พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา (คำแแต่งใหม่) อยู่ในพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑
อินทรีย์ ๓ - อินทรีย์ ๖
อินทรีย์ ๓ นัยยะ ๑ อินทรีย์ ๓ นัยยะ ๒ อินทรีย์ ๓ นัยยะ ๓ อินทรีย์ ๔ นัยยะ ๑ อินทรีย์ ๔ นัยยะ ๒
   1.อิตถินทรีย์
   2.ปุริสินทรีย์
   3.ชีวิตินทรีย์
   (อรรถกถา)
 1.อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
 2.อัญญินทรีย์
 3.อัญญาตาวินทรีย์
(อินทรีย์ ๓ เป็นอรรถกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ (พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์)
   1.สตินทรีย์
   2.สมาธินทรีย์
   3.ปัญญินทรีย์
 1.วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
 2.สตินทรีย์ (สติ)
 3.สมาธินทรีย์ (สมาธิ)
 4.ปัญญินทรีย์ (ปัญญา)
 1.สัทธินทรีย์ (ศรัทธา)
 2.วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
 3.สตินทรีย์ (สติ)
 4.สมาธินทรีย์ (สมาธิ)
อินทรีย์ ๕ นัยยะที่ ๑ อินทรีย์ ๕ นัยยะ ๒ อินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓ อินทรีย์ ๖  
 1.สัทธินทรีย์ (ศรัทธา)
 2.วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
 3.สตินทรีย์ (สติ)
 4.สมาธินทรีย์ (สมาธิ)
 5.ปัญญินทรีย์ (ปัญญา)
  1.สุขินทรีย์ (สุขกาย)
  2.ทุกขินทรีย์ (ทุกข์กาย)
  3.โสมนัสสินทรีย์ (สุขใจ)
  4.โทมนัสสินทรีย์ (ทุกข์ใจ)
  5.อุเปกขินทรีย์ (อุเบกขา)
 1.สุขกาย สุขใจ เป็นสุขเวทนา
 2.ทุกข์กาย ทุกข์ใจเป็นทุกขเวทนา
 3.อุเปกขินทรีย์ เป็นอทุกขมสุข
   1.จักขุนทรีย์
   2.โสตินทรีย์
   3.ฆานินทรีย์
   4.ชิวหินทรีย์
   5.กายินทรีย์
   6.มนินทรีย์
 
 
 


จาก พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้า ๒๑๗ - ๒๔๘

(เรียงตามลำดับอินทรีย์)

1) อินทรีย์ ๓ ประการ เป็นไฉน?   (อรรถกถา)
   1.อิตถินทรีย์
   2.ปุริสินทรีย์
   3.ชีวิตินทรีย์

2) อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง เป็นไฉน? (อรรถกถา)
   1.อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
   2.อัญญินทรีย์
   3.อัญญาตาวินทรีย์
อินทรีย์ ๓ เป็นอรรถกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ (พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์)

3) ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ
   1.สตินทรีย์
   2.สมาธินทรีย์
   3.ปัญญินทรีย์
-เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จึงพยากรณ์
อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นมิได้มี
-ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็นที่สุด.. มีความสิ้นเป็นที่สุด
มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด.. มีความสิ้นแห่งชาติ ชราและ มรณะเป็นที่สุด

4) อินทรีย์ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ
   1.วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
   2.สตินทรีย์ (สติ)
   3.สมาธินทรีย์ (สมาธิ)
   4.ปัญญินทรีย์ (ปัญญา)

5) อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน?คือ (อีกนัยยะหนึ่ง)
   1. สัทธินทรีย์ (ศรัทธา)
   2. วิริยินทรีย์ (วิริยะ)
   3. สตินทรีย์ (สติ)
   4. สมาธินทรีย์ (สมาธิ)

6) อินทรีย์ ๕ ประการ เป็นไฉน?
  1. สัทธินทรีย์ (ศรัทธา) เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
  2. วิริยินทรีย์ (วิริยะ) เป็นผู้ปรารภ สัมมัปปธาน ๔ (ปรารภความเพียร)
  3. สตินทรีย์ (สติ) เป็นผู้ปรารภ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ
  4. สมาธินทรีย์ (สมาธิ) เป็นผู้ยึดหน่วงในนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
  5. ปัญญินทรีย์ (ปัญญา) เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เห็นการเกิด-ดับ

7) เมื่อเรายังไม่รู้ทั่วถึงอินทรีย์ ๕ ประการ จึงยังไม่ปฏิญาณตน
    คือความเกิด ความดับ คุณ-โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ เราก็ยังไม่ปฏิญาณตน
    ว่าได้ตรัสรู้ฯ เมื่อใดเรารู้ทั่วถึงแล้ว เราจึงปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

8) ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? (อีกนัยยะหนึ่ง)
   1.สุขินทรีย์ (สุขกาย)
   2.ทุกขินทรีย์
(ทุกข์กาย)
   3.โสมนัสสินทรีย์
(สุขใจ)
   4.โทมนัสสินทรีย์
(ทุกข์ใจ)
   5.อุเปกขินทรีย์
(อุเบกขา ไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งกายและใจ)

9) รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน
    เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดความเกิดความดับ คุณโทษ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ สุขินทรีย์
    ...อุเปกขินทรีย์
เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้

10) รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์
    เมื่อใดภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องออกแห่งอินทรีย์ ๕ สุขินทรีย์..
    อุเปกขินทรีย์
หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้นเราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ

11) รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์ (นัยยะที่๑)
   สมณะหรือพราหมณ์ รู้ชัดความเกิดความดับคุณโทษ และอุบายเครื่องออกแห่งอินทรีย์๕ สุขินทรีย์    ..อุเปกขินทรีย์ เรานับว่าเป็นสมณะ.. เป็นพราหมณในหมู่พราหมณ์ เพราะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์

12) รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์ (นัยยะที่๒)
    สมณะหรือพราหมณ์ รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่งอินทรีย์ ๕     สุขินทรีย์ ..อุเปกขินทรีย์ เรานับว่าเป็นสมณะ.. เป็นพราหมณในหมู่พราหมณ์ เพราะทำให้แจ้ง

13) ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕ คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์
   1.สุขินทรีย์ คือ ความสุขทางกาย เวทนาอันเป็นสุข ที่เกิดแต่กายสัมผัส 
   2.ทุกขินทรีย์ คือ ความทุกข์ทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ ที่เกิดแต่กายสัมผัส
   3.โสมนัสสินทรีย์ คือ ความสุขทางใจ เวทนาอันเป็นสุข ที่เกิดแต่มโนสัมผัส 
   4.โทมนัสสินทรีย์ คือ ความทุกข์ทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ ที่เกิดแต่มโนสัมผัส
   5.อุเปกขินทรีย์ คือ เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ อันใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ

14) ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์ และอทุกขมสุข คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์
   1.ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? คือความสุขทางกาย
   2.ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? คือความทุกข์ทางกาย
   3.ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? คือความสุขทางใจ
   4.ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? คือความทุกข์ทางใจ
   5.ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ
   6.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา
   7.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา
   8.ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุข เวทนา

15) ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓
   1.ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์
   2.ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์
   3.ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
   4.ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
   5.ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ
   -ในอินทรีย์ ๕ นั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ (สุขกายสุขใจ) พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา (๑)
   -ในอินทรีย์ ๕ นั้น ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ (ทุกข์กายทุกข์ใจ) พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา(๒)
   -ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น อทุกขมสุข (๓)

16) อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา
  1.สุขินทรีย์ (สุขกาย) ย่อมอาศัยผัสส อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายกายก็รู้ว่า
   เราสบายกาย ย่อมรู้ว่าพราะผัสสะนั้นดับไป (ผัสสะดับ สุขทางกาย จึงเกิด)
  2.ทุกขินทรีย์ (ทุกข์กาย) ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น   ภิกษุไม่สบายกายก็รู้ว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ว่าเพราะผัสสะนั้นดับไป (ผัสสะดับ ทุกข์ทางกายจึงเกิด)
  3.โสมนัสสินทรีย์ (สุขใจ) ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น   ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะนั้นดับไป (ผัสสะดับ สุขทางใจ จึงเกิด)
  4.โทมนัสสินทรีย์ (ทุกข์ใจ) ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทสนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษไม่
   สบายใจ ก็รู้ว่าเราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะนั้นแหละดับไป (ผัสสะดับ ทุกข์ทางใจ จึงเกิด)
  5.อุเปกขินทรีย์ (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุรู้สึก
   เฉยๆ ก็รู้ว่าเรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ว่าเพราะผัสสะนั้นดับไป (ผัสสะดับ อุเบกขา หรือไม่ทุกข์ไม่สุข จึงเกิด)
- เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น ถ้าแยกไม้ ๒ อันให้ออกจากกัน
   ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

17) อินทรีย์ ๕ มีนิมิต เหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
   1.ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร.. ทุกขินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัด ว่า ทุกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง เธอย่อมรู้ชัด ทุกขินทรีย์ เหตุเกิด ความดับ และข้อปฏิบัติฯ ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ (ดับณ ที่เกิด เกิดที่ไหนดับที่นั่น)

   2.ภิกษุไม่ประมาทมีความเพียร .. โทมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อม รู้ชัดว่าโทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น แล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิด ความดับ และข้อปฏิบัติฯ ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ (ดับณ ที่เกิด)

  3.ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร .. สุขินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัด ว่าสุขินทรีย์นี้ เกิดขึ้น แล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง ... เธอย่อมรู้ชัด เหตุเกิด ความดับ และ ข้อปฏิบัตฯ ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ (ดับณ ที่เกิด

  4. ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร.. โสมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่าโสมนัสสินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และโสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง ...เธอย่อมรู้ชัด เหตุเกิด ความดับ และข้อ ปฏิบัติฯ ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มี เหลือในที่นี้ (ดับณ ที่เกิด)

  5.ภิกษุไม่ประมาทมีความเพียร .. อุเปกขินทรีย์ เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้น แล้วแก่เรา และอุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง ...เธอย่อมรู้ชัด เหตุเกิด ความดับ และข้อปฏิบัติฯ ก็อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน? ภิกษุล่วงเนวสัญญาฯ เข้า สัญญาเวทยิตอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือ ในที่นี้ (ดับณ ที่เกิด)


18) ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
   สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
   สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
   สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
   สิ่งใดเป็นวิริยพละสิ่งนั้น เป็นวิริยินทรีย์
   สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
   สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
   สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
   สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
   สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
   สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ (ดูภาพประกอบ)

19) ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
   ภ.เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อม พยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี?    พ.เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อม พยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

20) อินทรีย์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ

    1.จักขุนทรีย์ 2.โสตินทรีย์ 3.ฆานินทรีย์ 4.ชิวหินทรีย์ 5.กายินทรีย์ 6.มนินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

21) การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน
   อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ 1.จักขุนทรีย์ 2.โสตินทรีย์ 3.ฆานินทรีย์ 4.ชิวหินทรีย์ 5.กายินทรีย์ 6.มนินทรีย์ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย เครื่องสลัด ออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

22) การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์
   เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นเมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันต ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว

23) การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  เมื่อใดเรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริง เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
  เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ตามความ เป็นจริง เมื่อนั้นเราจึงปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก ญาณทัสสนะ ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ความเกิด อีกไม่มี

24) ว่าด้วยอินทรีย์ ๖
   ก็สมณะหรือพราหมณ์ ไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่ง อินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็น สมณะในหมู่สมณะ หรือว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

  ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่ง อินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ และว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

25) ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖
  ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความ เชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น   ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

26) ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์
พระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี (ปรินิพพานในระหว่าง) อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์พระอรหันต์
พระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระสกทาคามี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์พระอนาคา มีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
พระโสดาบัน ผู้เอกพิชี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระสกทาคามี
พระโสดาบัน ผู้โกลังโกละ อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี
พระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ
อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ
พระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ
พระโสดาบัน ผู้สัทธานุสารี อินทรีย์ ๕ อ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี

27) พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า (เธอเชื่อหรือไม่)
   ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิรยะ สติ สมาธิ ปัญญา)ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
   ส. ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อ (ไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น)
   ส. ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาในอินทรีย์ ๕ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่อาจหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
   ส. ส่วนชนเหล่าใด รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความเคลือบแคลงสงสัย ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
   ส. ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วย ปัญญา ข้าพระองค์ จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้น
(นัยยะนี้หมายถึง อินทรีย์ ๕ กระทำให้มากแล้วแต่เพียงอย่างเดียว ยังไม่พียงพอที่จะเข้าถึงอมตะ ต้องเห็นแจ้งและพิจารณาด้วยปัญญา.. พระสารีบุตรกล่าวถึงตนเองว่า ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์ รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา จึงสิ้นความเคลือมแคลงสงสัย)

28) ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญา ของพระอริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น…เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระสูตรนี้เป็นอรรถกถา (คำแแต่งใหม่) อยู่ในพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑

อินทรีย์ ๓

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓
(1)


ชีวิตินทริยสูตร

อินทรีย์ ๓

            [๘๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑

       อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓
(2)


อัญญาตาวินทริยสูตร
อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง

            [๘๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑

       อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.

(อินทรีย์ ๓ เป็นอรรถกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ (พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์)



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๔
(3)

ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๓

            [๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระปิณโฑล ภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

            [๑๐๐๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ พยากรณ์ อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

            [๑๐๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เห็นอำนาจ ประโยชน์ อะไรหนอ จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

            [๑๐๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

            [๑๐๐๗] อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

            [๑๐๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

            [๑๐๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ ชราและ มรณะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเห็นว่า ความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะดังนี้แล จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


อินทรีย์ ๔

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๒๔๓
(4)

ปุพพารามสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔

            [๙๙๕] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน ฯลฯ

            [๙๙๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้.

            [๙๙๗] อินทรีย์ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

            [๙๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการนี้แล อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้าที่ ๒๔๘

(5)

มัลลกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๔

            [๑๐๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

            [๑๐๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยญาณยังไม่เกิดขึ้น แก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้ว แก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น

            [๑๐๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อเขายังไม่ได้ ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ชื่อว่า ตั้งอยู่มั่นคงเพียงนั้น เมื่อใด เขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้นกลอนเรือน จึงเรียกว่า ตั้งอยู่มั่นคง ฉันใด อริยญาณ ยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ก็ตั้งลงมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑

            [๑๐๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญา ของอริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น


อินทรีย์ ๕


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗
(6)

ปฏิลาภสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

            [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            [๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์

            [๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ ความเพียรนี้ เรียกว่า วิริยินทรีย์.

            [๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่าสตินทรีย์.

            [๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วง นิพพาน ให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

            [๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓
(7)

ปุนัพภวสูตร
อินทรีย์ ๕

            [๘๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

            [๘๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

            [๘๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ ความเกิดอีกไม่มี.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
(8)

สุทธกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

            [๙๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑
           
       
อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
(9)


โสตาปันนสูตร
รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน

            [๙๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
(10)


อรหันตสูตร

รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

            [๙๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ ลงแล้ว บรรลุประโยชน์ ของตน แล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๙
(11)


สมณพราหมณสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์

            [๙๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำ ให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๙
(12)


สมณพราหมณสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์

            [๙๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์

            [๙๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

     ไม่รู้ชัด ซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และ ปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์

     ไม่รู้ชัดซึ่ง ทุกขินทรีย์ ... โสมนัสสินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่ง อุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับ แห่งอุเปกขินทรีย์

      สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่า เป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือว่าเป็น พราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของ ความเป็นสมณะ หรือ ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            [๙๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่ง สุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่ง อุเปกขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๐
(13)


วิภังคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕

            [๙๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

            [๙๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

            [๙๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

            [๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญ ก็ไม่ใช่ อันใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์

       ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๑

(14)


วิภังคสูตรที่ ๒

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข

            [๙๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.

            [๙๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์.

            [๙๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่าโสมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญ ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญ ก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

            [๙๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัส สินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.

            [๙๓๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา.

            [๙๓๙] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุข เวทนา

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๑
(15)


วิภังคสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓

            [๙๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์

            [๙๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์

            [๙๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย

            [๙๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

            [๙๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญ ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญ ก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

            [๙๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และ โสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา

            [๙๔๗] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา

            [๙๔๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น อทุกขมสุข

              เ
วทนาอินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓ แล้ว ขยายออกเป็น ๕ ก็ได้ โดยปริยาย ด้วยประการดังนี้แล



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๒
(16)


อรหันตสูตร
อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา

            [๙๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้น สบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ สุขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป

            [๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่ง ทุกขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

            [๙๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัสสเวทนา เกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัสสเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ นั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

            [๙๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งโทสนัสสเวทนา เกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัสสเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

            [๙๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเปกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะ ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

            [๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกัน จึงเกิด ความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย ความร้อนที่เกิด เพราะความเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่า เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่าเพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิด แต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไปสงบไป ทุกขินทรีย์ ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัย ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ

      โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเปกขินทรีย์ ย่อมอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้น รู้สึกเฉยๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉยๆ ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เวทนา นั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ ผัสสะ นั้น คือ อุเปกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้น เหมือนกัน



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๔
(17)


อุปปฏิกสูตร
อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง

            [๙๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑.

            [๙๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับ แห่งทุกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง ทุกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

            [๙๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น แล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์ นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะ อนุมานเอาว่า โทมนัสสินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ ความดับแห่ง โทมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับ โดยไม่เหลือแห่ง โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใส แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับ แห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น.

            [๙๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีความเด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์ นั้น ไม่ต้องมีนิมิตไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ ฐานะ ที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และข้อปฏิบัติที่ดับโดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์ เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้ว ซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์ และ น้อมจิต เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

            [๙๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และ โสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมาน เอาว่า โสมนัสสินทรีย์นั้น ไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง โสมนัสสินทรีย์ ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และ ข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่ง โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ในที่ไหน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความ เป็นอย่างนั้น.

            [๙๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา และอุเปกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมาน เอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่ง อุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่ง อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ ในที่ไหน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๙
(18)


สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕

            [๙๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?

            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะ พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้ว จักทรงจำไว้.

            [๙๗๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?

            [๙๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละสิ่งนั้น เป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

            [๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศ ตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

            [๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า กระแสเดียวเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตก แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

            [๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสเป็นไฉน? คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุด ด้านใต้แห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความ นับว่า สองกระแส ฉันใด.

            [๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละสิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

            [๙๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๔

(19)


ปุพพารามสูตรที่ ๔
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

            [๙๙๙] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์ อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน ฯลฯ

            [๑๐๐๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

            [๑๐๐๑] อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

            [๑๐๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


อินทรีย์ ๖


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

(20)


สุทธกสูตร

อินทรีย์ ๖

            [๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑

       อินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
(21)


โสตาปันนสูตร
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน

            [๙๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.

            [๙๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
(22)


อรหันตสูตรที่ ๑
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์

            [๙๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.

            [๙๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นเมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕
(23)


อรหันตสูตรที่ ๒
การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า

            [๙๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.

            [๙๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

            [๙๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละ ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกไม่มี.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๖
(24)


สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยอินทรีย์ ๖

            [๙๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือจักขุนทรีย์ ... มนินทรีย์.

            [๙๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็น สมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๗
(25)


สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖

            [๙๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่ง มนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และ ปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น เราไม่นับว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่ พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... มนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

            [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

            [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึง ความเชื่อ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำ ให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อ ต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้นชน เหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

            [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความ เชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.



ว่าด้วยอินทรีย์


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔
(26)


เอกาภิญญาสูตร
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

            [๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

            [๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจ ปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคา มีผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคา มีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคา มีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคา มีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคา มีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบัน ผู้เอกพิชี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบัน ผู้โกลังโกละ

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี เป็นพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบัน ผู้โกลังโกละ เป็นพระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นพระโสดาบัน ผู้สัทธานุสารี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๐
(27)


ปุพพโกฏฐกสูตร
พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า (เธอเชื่อหรือไม่)

            [๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว ตรัสว่า

            [๙๘๔] ดูกรสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

            [๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อ ต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใด รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความ เคลือบแคลง สงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์ รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

     ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

            [๙๘๖] พ. ดีละๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความ เชื่อต่อชนเหล่าอื่น ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลง สู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แล อมตะนั้น ชนเหล่าใด รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้ว ด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น หมดความเคลือบแคลงสงสัย ในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๒
(28)


ปุพพารามสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่

            [๙๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

            [๙๘๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่ง อันตน เจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี อินทรีย์อย่างหนึ่งเป็นไฉน? คือปัญญินทรีย์.

            [๙๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของ พระอริยสาวก ผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.

            [๙๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์