เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปฏิปทา ๓ อย่าง ทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา 1.พอใจในกาม 2.ทรมานตน 3.ทางสายกลาง 1559
  (ย่อ)

ปฏิปทา ๓ อย่าง

1) ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ
๑) อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติหยาบช้า (พอใจในกาม มีทิฐิว่ากามไม่มีโทษ)
๒) นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติทรมานตน (อเจลกไร้มรรยาทเลียมือ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์)
๓) มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง (เจริญสติปัฏฐาน๔ พิจารณาเห็นกายในกาย ..)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2)
ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ
๑) อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติหยาบช้า (พอใจในกาม มีทิฐิว่ากามไม่มีโทษ)
๒) นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติทรมานตน (อเจลกไร้มรรยาทเลียมือ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์)
๓) มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง (โพธิปักขิยธรรม ๓๗ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ ...)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ต้องตกนรก และขึ้นสวรรค์
(ตกนรก)
๑) ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์
๓) พอใจในการฆ่าสัตว์
(ขึ้นสวรรค์)
๑) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓) พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
(2.ลักทรัพย์ 3.ประพฤติผิดในกาม 3.พูดเท็จ 4.กล่าวคำส่อเสียด 5.กล่าวคำหยาบ 6. พูดพ้อเจ้อ 7.เป็นผู้ละโมภ 8.มีจิตพยาบาท 9.มีความเห็นผิด ก็ทำนองเดียวกับการฆ่าสัตว์)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4) เพื่อรู้ราคะ เพื่อละราคะ จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ
๑) สุญญตสมาธิ (สมาธิที่เห็นความไม่มีตัวตน เห็นความว่างของสรรพสิ่ง)
๒) อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่เห็นธรรมชาติที่ไม่มีนิมิต จากการปรุงแต่งของจิต)
๓) อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่เข้าถึงการหลุดพ้น ไม่ติดข้องอารมณ์ใดๆ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๒๘๗

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์


ปฏิปทา 3 อย่าง (1)

             [๕๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ
๑) อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า (พอใจในกาม คิดว่ากามไม่มีโทษ)
๒) นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่าง เหี้ยมเกรียม (ทรมานตนเอง)
๓) มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง
(ข้อปฏิบัติของตถาคต)

      ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ (๑) อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี เขาย่อมถึง ความเป็นผู้ตกไปในกาม (บริโภคกาม)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อาคาฬหปฏิปทา
--------------------------------------------------------------------------------------------------

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ (๒) นิชฌามปฏิปทาเป็นไฉน อเจลก บางคนในโลกนี้
เป็นผู้ไร้มรรยาท เลียมือ
เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา
เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด

ไม่รับภิกษา ที่เขาแบ่งไว้ก่อน
ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ
ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์
ไม่รับภิกษาปากหม้อ
ไม่รับภิกษาจากปากกะเช้า
ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู
ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้
ไม่รับภิกษาคร่อมสาก
ไม่รับภิกษาที่คนสองคนกำลังบริโภคอยู่
ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์
ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม
ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ
ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้
ไม่รับภิกษาในที่ที่ได้รับเลี้ยงดูสุนัข
ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม
ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง

เขารับภิกษา ที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง
รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ...
รับภิกษาที่เรือน ๗ หลังเยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง

เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษา ในถาดน้อยใบเดียวบ้าง
เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา ในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง ...
เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง

กินอาหารที่เก็บค้างไว้ วันเดียว บ้าง ๒ วันบ้าง ...๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวาย ในการบริโภคภัต ที่เวียนมา ตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้

อเจลกนั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวฟ่างเป็น ภักษาบ้าง
มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง
มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง
มียางเป็นภักษาบ้าง
มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง
มีกำยานเป็นภักษาบ้าง
มีหญ้า เป็นภักษาบ้าง
มีโคมัย(ขี้วัวอ่อน) เป็นภักษาบ้าง
มีเง่าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง
บริโภคผลไม้ หล่นเยียวยาอัตภาพ

อเจลกนั้น ทรงผ้าป่านบ้าง
ผ้าแกมกันบ้าง
ผ้าห่อศพบ้าง
ผ้าบังสุกุลบ้าง
ผ้าเปลือกไม้บ้าง
หนังเสือบ้าง
หนังเสือทั้งเล็บบ้าง
ผ้าคากรองบ้าง
ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง
ผ้าผลไม้กรองบ้าง
ผ้ากำพลทำด้วยผมคนบ้าง
ผ้ากำพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง
ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง

เป็นผู้ถอนผมและหนวด
คือประกอบความขวนขวาย(ขยัน) ในการถอนผม และหนวดบ้าง
เป็นผู้ยืนคือห้ามอาสนะบ้าง (ห้ามนั่ง)
เป็นผู้กระโหย่งคือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง (เดินปลายเท้าทำตัวให้สูง)
เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทำร่างกายให้เดือดร้อนกระสับกระส่าย(ทรมาน)
หลายวิธีดังกล่าวมา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ (๓) มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ...
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (สติปัฏฐาน๔)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปฏิปทา 3 อย่าง (2)

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้แล

      [๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ
๑) อาคาฬหปฏิปทา ( (พอใจในกาม คิดว่ากามไม่มีโทษ)
๒) นิชฌามปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติอย่าง เหี้ยมเกรียม)
๓) มัชฌิมาปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติอย่างกลาง)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน ฯลฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อาคาฬหปฏิปทา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิชฌามปฏิปทา เป็นไฉน ฯลฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมามปฏิปทาเป็นไฉน (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)

 โพธิปักขิยธรรม ๓๗
 สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (1-สัมมัปปธาน๔)
๑) ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้
๒) เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๓) เพื่อละธรรม อันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว
๔) เพื่อยังกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูนไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ...

      เจริญอิทธิบาท(2-อิทธิบาท๔) อันประกอบด้วย ฉันทะสมาธิ และ ปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิ และ ปธานสังขาร (ความเพียร การเฝ้าระวัง)
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย จิตสมาธิ และ ปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิมังสสมาธิ และ ปธานสังขาร..
(ฉันทะ วิริยะ จิตต วิมังสา)

      เจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์..(3-อินทรีย์๕)

      เจริญสัทธาพละ วิริยพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ...(5-พละ๕)

      เจริญสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ... (6-โพชฌงค์๗)

      เจริญสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ (7-มรรค๘)
      ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปฏิปทา 3 อย่าง (3)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้แล ฯ

             [๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
๑) ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง
(1)
๒) ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์
๓) พอใจในการฆ่าสัตว์
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
๑) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓) พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) ลักทรัพย์ด้วยตนเอง (2)
๒) ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์
๓) พอใจในการลักทรัพย์

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๓) พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง (3)
๒) ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม
๓) พอใจในการประพฤติผิดในกาม

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓) พอใจในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) พูดเท็จด้วยตนเอง (4)
๒) ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ
๓) พอใจในการพูดเท็จ

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) งดเว้นจากการพูดเท็จด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๓) พอใจในการงดเว้นจากการพูดเท็จ
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) กล่าวคำส่อเสียดด้วยตนเอง (5)
๒) ชักชวนผู้อื่นในคำส่อเสียด
๓) พอใจในคำส่อเสียด

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) งดเว้นจากคำส่อเสียดด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากคำส่อเสียด
๓) พอใจในการงดเว้นจากคำส่อเสียด ...
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก)
๑) กล่าวคำหยาบด้วยตนเอง (6)
๒) ชักชวนผู้อื่นในคำหยาบ
๓) พอใจในคำหยาบ

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) งดเว้นจากคำหยาบด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากคำหยาบ
๓) พอใจในการงดเว้นจากคำหยาบ
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก)
๑) กล่าวคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง (7)
๒) ชักชวนผู้อื่นในคำเพ้อเจ้อ
๓) พอใจในคำเพ้อเจ้อ

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ
๓) พอใจในการงดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก)
๑) เป็นผู้ละโมภด้วยตนเอง (8)
๒) ชักชวนผู้อื่นในความละโมภ
๓) พอใจในความละโมภ

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) ไม่มากด้วยความละโมภด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในความไม่ละโมภ
๓) พอใจในความไม่ละโมภ
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) มีจิตพยาบาทด้วยตนเอง (9)
๒) ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท
๓) พอใจในความพยาบาท

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) มีจิตไม่พยาบาทด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาท
๓) พอใจในความไม่พยาบาท
-------------------------------------------------------------
(ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้)
๑) มีความเห็นผิดด้วยตนเอง (10)
๒) ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด
๓) พอใจในความเห็นผิด

(ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับเชิญ เอาไปวางไว้)
๑) มีความเห็นชอบด้วยตนเอง
๒) ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ
๓) พอใจในความเห็นชอบ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ต้องได้ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับ เชิญเอาไปวางไว้
---------------------------------------------------------------------------

ปฏิปทา 3 อย่าง (4)

             [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
๑) สุญญตสมาธิ (สมาธิที่เห็นความไม่มีตัวตน เห็นความว่างของสรรพสิ่ง)
๒) อนิมิตตสมาธิ
(สมาธิที่เห็นธรรมชาติที่ไม่มีนิมิต จากการปรุงแต่งของจิต)
๓) อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่เข้าถึงการหลุดพ้น ไม่ติดข้องอารมณ์ใดๆ )

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน ราคะ จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอกเพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะมักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายาสาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะอติมานะ ทมะ ปมาทะ จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ฉะนี้แล

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์