เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 4. อริยสัจสี่ บทสรุป รวบรวมได้ ๖ นัยยะ 1445
P1442 P1443 P1444 P1445

ฉบับหลวง พุทธวจน อริยสัจจจากพระโอษฐ์ สรุป

 

(โดยย่อ)

ทรงประกาศธรรมจักร(อริยสัจสี่) ที่อิสิปตนมฤคทายวัน

อริยสัจจ

นัยยะที่ ๑ (นัยยะทั่วไป)
ทุกขอริยสัจ คือความเกิด ความแก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ ความพลัดพรากเป้นทุกข์
ทุกขสมุทยอริยสัจ คือตัณหา อันมีภพใหม่ด้วยอำนาจความพอใจ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับ การสำรอก ความสละ ความวาง ความไม่อาลัย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ

นัยยะที่ ๒ (อุปาทานขันธ์ ๕)
ทุกขอริยสัจ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
ทุกขสมุทยอริยสัจ คือตัณหา อันมีภพใหม่ด้วยอำนาจความพอใจ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับ การสำรอก ความสละ ความวาง ความไม่อาลัย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ

นัยยะที่ ๓ (อายตนะ ๖)
ทุกขอริยสัจคือ อายตนะคือตา อายตนะคือหู คือจมูก คือลิ้น คือกาย คือใจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ คือตัณหา อันมีภพใหม่ด้วยอำนาจความพอใจ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับ การสำรอก ความสละ ความวาง ความไม่อาลัย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ

นัยยะที่ ๔ (อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ)
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้ ทุกข์นี้เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย..เราได้ละเสียแล้ว
ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ ควรทำให้แจ้ง..เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินฯ ควรทำให้เจริญ... เราได้ทำให้เจริญแล้ว

นัยยะที่ ๕ (ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด-สายดับ)
ทุกขอริยสัจ คือ แม้ชาติ แม้ชรา แม้มรณะ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ทั้งหลาย...
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ....
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ

นัยยะที่ ๖ (อริยสัจชื่อว่าสุตมยญาณ)
ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์...
ชาติเป็นไฉน ชราเป็นไฉน มรณะเป็นไฉน ...

ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ กำหนัดด้วยนันทิราคะ (กามตัณหา ภว วิภวตัณหา)
ตัณหาเมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะภายใน๖)
ตัณหาเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญานทางตา หู จมูก ... ย่อมเกิดในที่นั้น
ผัสสะทางตา หู จมูก ...ย่อมเกิดในที่นั้น
ตัณหานั้น เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ธรรมวิจารเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความที่ตัณหานั้น นั่นแล ดับด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน ... ย่อมดับ ย่อมละในที่เกิด(ทุกขสมุทย)

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แล สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย..... (รู้อริยสัจสี่)


 

 


ทรงประกาศธรรมจักร(อริยสัจสี่)ที่อิสิปตนมฤคทายวัน


ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้

ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้งการเปิดเผยการจำแนก และการ ทำให้ตื้น ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

สี่ประการได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ และ
ความจริงอันประเสริฐ คือทางทำผู้ปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์


นัยยะที่๑ (นัยยะทั่วไป)

ทุกข อริยสัจ คือ
-ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็เป็นทุกข์
-ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ก็เป็นทุกข์
-โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ทุกขสมุทย อริยสัจ คือ
-ตัณหา ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ
-ความดับ การสำรอก ความสละ ความวาง ความไม่อาลัย

ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ คือ
อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ



นัยยะที่๒ (อุปาทานขันธ์ ๕)

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อุปทานในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ

ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหาวิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดย ไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ตัณหา นั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ



นัยยะที่๓ (อายตนะ ๖)

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน? คือ อายตนะ คือตา อายตนะคือหู คือจมูก คือลิ้น คือกาย คือใจ

ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอก โดย ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ตัณหานั้น

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอัน ประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ



นัยยะที่๔ (อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ)


๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
       ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
       ๒. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้
       ๓. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว

๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคย ได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
   ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
   ๒. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย
   ๓. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว

๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคย ได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
   ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
   ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้แจ้ง
   ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว

๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคย ได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อนว่า
   ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
   ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้เจริญ
   ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว

ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจสี่ อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้ ยังไม่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี เราก็ยังไม่ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อยู่เพียงนั้น.

เมื่อใด บริสุทธ์ิสะอาด ด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่ง อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ.




นัยยะที่๕ (ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด-สายดับ)

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ
แม้ชาติ ก็เป็นทุกข์
แม้ชรา ก็เป็นทุกข์
แม้มรณะ ก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง ก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕
เป็นทุกข์

ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้

ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับ โดยสำรอก ไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูป จึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทาน จึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับ ด้วย อาการอย่างนี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ




นัยยะที่๖ (อริยสัจชื่อว่าสุตมยญาณ)

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน

ปัญญาเครื่องทรงจำธรรม ที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ชื่อว่า สุตมยญาณ อย่างไร

ในอริยสัจ ๔ ประการนั้น

ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน

ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทสนัส และอุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบ กับสังขาร หรือสัตว์อันไม่เป็น ที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สังขาร หรือสัตว์ อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ชาติ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ทั้งหลาย ความกลับได้ อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ

ชรา นทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา

มรณะ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน ความแตก ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้ง ซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆนี้ ท่านกล่าวว่า มรณะ

โสกะ ในทุกขอริสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้ โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรมตรอม ณ ภายใน ความตรอมจิต ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศก แห่งบุคคล ผู้ถูกความฉิบหาย แห่งญาติ กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูก ความฉิบหาย แห่งสมบัติ กระทบเข้าก็ดีผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรคกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหาย แห่งศีล กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฐิ กระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบกับความ ฉิบหายอื่นๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า โสกะ

ปริเทวะ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำครวญ ความ ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วยวาจา ความเพ้อด้วยวาจา ความพูด พร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความเป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคล ผู้ถูกความ ฉิบหาย แห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า ปริเทวะ

ทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบาก อันมีทาง กาย ความไม่สำราญ ความลำบาก ที่สัตว์เสวยแล้ว ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาอันไม่ สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข์

โทมนัส ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี ทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบาก ที่สัตว์เสวยแล้ว เกิดแต่สัมผัสทางใจ กิริยา อันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้ท่านกล่าวว่า โทมนัส

อุปายาส
ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง ความเป็นผู้ แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคล ผู้ถูกความฉิบหาย แห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุ แห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า อุปายาส

ความประจวบกับสังขาร หรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ใน ทุกขอริยสัจ นั้นเป็นไฉนสังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด เป็นผู้ ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย ไม่หวังความปลอดโปร่ง จากโยคกิเลส แก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การทำกิจ ร่วมกัน กับสังขาร หรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่าความประจวบกับสังขาร หรือสัตว์ อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

ความพลัดพรากจากสังขาร หรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ใน ทุกขอริยสัจ นั้น เป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใดคือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิงมิตร พวกพ้อง ญาติหรือสาโลหิต เป็นผู้หวัง ประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบายหวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขาร หรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนา เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่า มีชาติ เป็นธรรมดา และชาติอย่ามาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์สัตว์ ทั้งหลาย มีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลาย มีพยาธิ เป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ ทั้งหลาย มีมรณะ เป็นธรรมดา ฯลฯ

สัตว์ทั้งหลาย มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลาย อย่าพึงมีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ เป็นธรรมดาเลย และขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เรา ทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ ตามความปรารถนา ความไม่ได้ สมปรารถนา แม้นี้ก็เป็นทุกข์ ฯ

โดยย่อ อุปาทาขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือ รูป
อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ
------------------------------------------------------------------------

ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ สหรคต(กำหนัด) ด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินใน อารมณ์ นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้ง อยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รัก ที่ยินดีในโลกตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิด ในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ในสิ่งนั้น

ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลกจักษุเป็นที่รัก ที่ยินดี ในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิด ย่อมเกิด ที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น หู...จมูก.. ลิ้น... กาย..ใจ เป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลาย เป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก

ตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์ ... จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิด แต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสรูปสัญญา ฯลฯ

ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา ฯลฯ
ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ
ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ
ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ
ธรรมวิจารเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก

ตัณหานั้น เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ
------------------------------------------------------------------------

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความที่ตัณหานั้นนั่นแล ดับด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน

เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก

ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ ที่จักษุนั้น ที่หู จมูก ลิ้น กาย ใจู ( ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่ ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับ ก็ดับได้ ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่าทุกขนิโรธอริยสัจ
------------------------------------------------------------------------

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แล
สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย. (รู้อริยสัจสี่)
สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในความออกจากกาม พยาบาท เบียดเบียน
สัมมาวาจาเป็นไฉน งดเว้นจาก การพูดเท็จ (วจีสุจริต๔)
สัมมากัมมันตะเป็นไฉน งดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ละอาชีพที่ผิด เป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ
สัมมาวายามะเป็นไฉน ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อยังอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด (สัมมัปปธาน๔)
สัมมาสติเป็นไฉน พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ (สติปัฏฐาน๔)
สัมมาสมาธิเป็นไฉน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ (ฌาน๑-๔)











พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์