เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
อังคิกสูตร การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ 1429
 

(โดยย่อ)

การเจริญสัมมา สมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน
1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกาย นี้แหละ ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง

2) ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข ที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิ

3) ภิกษุสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอัน ปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ

4) ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัส ก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

5) แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิต ด้วยปัญญา เปรียบเหมือน คนอื่น พึงเห็นคนอื่น คนยืนพึง เห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคน นอนฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิต ด้วยปัญญา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๓


๘. อังคิกสูตร

            [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วย องค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสัมมา สมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน
(1)

            ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกาย
นี้แหละ ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน พนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ จุรณสี(ผงสี) ตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อน จุรณสีตัว ซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด

            ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิด แต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วย องค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๑
—-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(2)
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข ที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน ห้วงน้ำลึก ที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหล มาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่ม ตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละ ให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็น จะไม่พึง ถูกต้อง ฉันใด

            ภิกษุก็ฉันนั้น นั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกาย ของเธอ ทั่วทั้งตัวที่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒
—-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(3)
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัวที่สุข อันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน ในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ ดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็น จะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด

            ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุข อันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติ จะไม่ถูกต้อง นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓
—-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(4)
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษจะพึงนั่งคลุมตัว ตลอดศรีษะด้วย ผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด

           ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศ ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔
—-------------------------------------------------------------------------------------------------------
(5)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิต ด้วยปัญญา เปรียบเหมือน คนอื่น พึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคน นอนฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิต ด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญ สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕

—-------------------------------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึง ความเป็นผู้ควร เป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน เปรียบเหมือน หม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำก็พึงกระฉอกออกมาได้หรือ ฯ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบ ด้วยองค์ ๕อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอโน้มน้อม จิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือน สระน้ำที่ภูมิภาคอันราบเรียบ กว้างสี่เหลี่ยมกั้นด้วยทำนบเต็มด้วยน้ำเสมอ ขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระนั้นทุกๆด้าน น้ำก็พึงไหลออกมา
ได้หรือ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบ ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอโน้มน้อม จิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่ง ใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือน รถม้า ที่เทียมแล้วจอดอยู่ทางใหญ่ ๔ แยก มีพื้นราบเรียบมีประตักวางไว้ข้างบน คนฝึกม้า ผู้ขยันชำนาญในการฝึก ขึ้นขี่รถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตัก ด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้าง ได้ตามต้องการฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธ ิอันประกอบ ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอโน้มน้อม จิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวัง อยู่ว่า

             เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความ เป็นผู้ควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสต ของมนุษย์ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอ มุ่งหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ

            หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็น พยาน ใน ธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็น ผู้ควรเป็น พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ

            พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความ เป็นผู้ควร เป็น พยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ฯ

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์