เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
  สภิยปริพาชก ถามปัญหา (สภิยสูตรที่ ๖) 1353
 

(โดยย่อ)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง

สภิยปริพาชก ถามปัญหาเหล่าปริพาชก แล้วแก้ไม่ได้ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาค

ผู้ฝึกตนแล้วเป็นอย่างไร
ผู้สงบเสงี่ยม ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอดโลกนี้ และ โลกอื่น ทั้งภายในทั้ง ภายนอก ในโลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่อบรมตนแล้ว
ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว (ผู้อบรมอินทรีย์ ผู้สังวรอินทรีย์)

ผู้รู้เป็นอย่างไร
ผู้พิจารณาสงสารทั้งสองอย่าง คือ จุติและอุปบัติ ตลอดกัป ทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความสิ้นไป แห่งชาติ
ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้ (รู้การจุติและการอุบัติ ตลอดทั้งกัป)

บุคคลผู้บรรลุอะไรว่า เป็นพราหมณ์
ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นดี ดำรง ตนมั่น ก้าวล่วงสงสาร ได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมี ศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอันตัณหา และทิฐิไม่อาศัย แล้ว เป็นผู้คงที่
บัณฑิต กล่าวว่าเป็น พราหมณ์ (สิ้นตัณหาและทิฐิ)

ผู้ใดล้างบาป ได้หมดในโลกทั้งปวง
คือ อายตนะ ภายใน และ ภายนอกแล้ว ย่อม ไม่มาสู่กัปในเทวดา และมนุษย์ผู้สมควร ผู้นั้น บัณฑิต กล่าวว่า ผู้ล้างบาป
(ผู้ที่ละภพได้แล้ว) ผู้ใดไม่กระทำบาป อะไรๆ ในโลก สลัดออก ซึ่งธรรม เป็นเครื่อง ประกอบ และเครื่องผูก ได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง ข้อง มีขันธ์ เป็นต้น ทั้งปวง หลุดพ้นเด็ดขาดผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนาค (ละภพได้)

ผู้ชนะเขต
ผู้ใดพิจารณา (อายตนะหรือกรรม) เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของ ทิพย์เขต ของมนุษย์ และเขตของ พรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก อันเป็น รากเง่า แห่งเขต ทั้งหมด ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้ชนะเขต (หลุดพ้นจาก กรรมอันเป็น เครื่องผูก)

ผู้หลุดจากกรรมได้แล้ว
ผู้ใดพิจารณากะเปาะฟอง (กรรม) ทั้งสิ้นทั้งภายในทั้งภายนอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว จาก เครื่องผูกอัน เป็นรากเง่าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิต กล่าวว่า เป็นผู้ชื่อว่า อาชาไนย (หลุดจากเครื่องผูก)

ฟังเสียงอ่านพระสูตร (ฉบับมหาจุฬา)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๒๑ - หน้าที่ ๓๒๘

สภิยปริพาชก ถามปัญหาปริพาชก (สภิยสูตรที่ ๖)

ฟังเสียงอ่านพระสูตร (ฉบับมหาจุฬา)

        [๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เทวดา ผู้เป็นสาโลหิตเก่าของ สภิยปริพาชก ได้แสดงปัญญาขึ้นว่า

     ดูกรสภิยะ สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด ท่านถามปัญหาเหล่านี้แล้ว ย่อมพยากรณ์ ได้ท่าน พึงประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นเถิด

    ลำดับนั้น แล สภิยปริพาชก เรียนปัญหาในสำนักของเทวดานั้นแล เข้าไปหา สมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสปมักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ สญชัยเวฬัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร แล้วจึงถามปัญหาเหล่านั้น

     สมณพราหมณ์เหล่านั้น อัน สภิยปริพาชก ถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดงความโกรธ ความ ขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับ ถาม สภิยปริพาชกอีก ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณ พราหมณ์ ทั้งหลายผู้เป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ

     นิครนถ์นาฏบุตร ถูกเราถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดง ความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับถามเรา ในปัญหา เหล่านี้ อีก ถ้ากระไร เราพึงละเพศกลับมาบริโภคกามอีกเถิด

     ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชก มีความดำริว่า พระสมณโคดมนี้แล เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น คณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี ถ้ากระไร เราพึง เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลถามปัญหา เหล่านี้เถิด

     ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ เก่าแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ เป็นผู้เฒ่า รู้ราตรีนาน บวชมานาน เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก ยกย่องว่าดี คือปูรณกัสสป ฯลฯ

     นิครนถ์นาฏบุตร ท่านสมณพราหมณ์ แม้เหล่านั้นถูกเราถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ ไม่ได้ ย่อมแสดง ความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับถาม เราในปัญหาเหล่านี้อีก ส่วนพระสมณโคดม ถูกเราทูลถามแล้ว จักทรงพยากรณ์ปัญหา เหล่านี้ ได้อย่างไร เพราะพระสมณโคดม ยังเป็นหนุ่ม โดยพระชาติ ทั้งยังเป็นผู้ใหม่ โดยบรรพชา

     ลำดับนั้นสภิยปริพาชกมีความดำริว่า พระสมณโคดม เราไม่ควรดูหมิ่น ดูแคลนว่า ยังเป็นห นุ่ม ถึงหากว่า พระสมณโคดม จะยังเป็นหนุ่มแต่ท่าน ก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมแล้ว ทูลถามปัญหา เหล่านี้เถิด

สภิยปริพาชกเข้าเฝ้า

     ลำดับนั้น สภิยปริพาชกได้หลีกจาริก ไปทางพระนครราชคฤห์ เมื่อเที่ยวจาริกไป โดยลำดับ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ยังพระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนคร ราชคฤห์

     ครั้นแล้วปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า

        [๓๖๕] ข้าพระองค์ผู้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง มาหวังจะทูลถาม ปัญหา พระองค์ อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรมเถิด ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

     ดูกรสภิยะ ท่านมาแต่ไกล หวังจะถามปัญหา เราอันท่านถามปัญหาแล้ว จะ กระทำที่สุดแห่งปัญหาเหล่านั้น จะพยากรณ์แก่ท่านตามลำดับปัญหา ให้สมควร แก่ธรรม

     ดูกรสภิยะท่าน ปรารถนาปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง ในใจ ก็เชิญถามเราเถิดเราจะ กระทำที่สุด เฉพาะปัญหานั้นๆ แก่ท่าน

        [๓๖๖] ลำดับนั้น สภิยปริพาชกดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมี มาเลยหนอ เราไม่ได้ แม้เพียงให้โอกาส ในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเลย พระสมณโคดม ได้ทรงให้โอกาสนี้แก่เราแล้ว สภิยปริพาชกมีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟูเกิดปีติโสมนัส ได้กราบทูลถาม ปัญหากะพระผู้มีพระภาคว่า

     บัณฑิตกล่าว บุคคลผู้บรรลุอะไรว่าเป็นภิกษุ กล่าวบุคคลว่า ผู้สงบเสงี่ยม ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตน แล้วอย่างไร และอย่างไร บัณฑิตจึง กล่าว บุคคลว่าผู้รู้ ข้าแต่พระผู้มี พระภาค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัส พยากรณ์ แก่ข้าพระองค์เถิด

     พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรสภิยะ ผู้ใดถึงความดับกิเลส ด้วยมรรคที่ตน อบรมแล้ว ข้ามความสงสัย เสียได้ละ ความไม่เป็นและความเป็นได้เด็ดขาด อยู่จบ พรหมจรรย์ มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่าเป็นภิกษุ ผู้ใดวางเฉยใน อารมณ์ มีรูปเป็นต้นทั้งหมด มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในโลกทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้สงบ ไม่ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า

     ผู้สงบเสงี่ยม
ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอดโลกนี้ และ โลกอื่น ทั้งภายในทั้ง ภายนอก ในโลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่อบรมตนแล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว

     ผู้พิจารณาสงสารทั้งสองอย่าง คือ จุติและอุปบัติ ตลอดกัป ทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความสิ้นไป แห่งชาติ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้

        [๓๖๗] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว มีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟู เกิดปีติโสมนัส ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไป กะพระผู้มีพระภาค ว่า

        บัณฑิตกล่าว บุคคลผู้บรรลุอะไรว่า เป็นพราหมณ์ กล่าวบุคคลว่าเป็น สมณะ

        ด้วยอาการอย่างไร กล่าว บุคคลผู้ล้างบาปอย่างไร และอย่างไรบัณฑิต จึงกล่าว บุคคลว่าเป็นนาค (ผู้ประเสริฐ)ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์

        อันข้าพระองค์ทูลถาม แล้วขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด ฯพระผู้มี พระภาค ตรัสพยากรณ์ว่า ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน มีจิต ตั้งมั่นดีดำรง ตนมั่น ก้าวล่วงสงสารได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมี ศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ บัณฑิต กล่าวว่าเป็น พราหมณ์ ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาปได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลีรู้โลกนี้ และโลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คงที่ เห็นปานนั้น

     บัณฑิตกล่าวว่าเป็นสมณะ ผู้ใดล้างบาป ได้หมดในโลกทั้งปวง คือ อายตนะ ภายใน และ ภายนอกแล้ว ย่อม ไม่มาสู่กัปในเทวดา และมนุษย์ผู้สมควร ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้ล้างบาป ผู้ใดไม่กระทำบาป อะไรๆ ในโลก สลัดออกซึ่งธรรม เป็นเครื่องประกอบ และเครื่องผูก ได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง ข้อง มีขันธ์เป็นต้น ทั้งปวง หลุดพ้นเด็ดขาดผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนาค

          [๓๖๘] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ ทูลถามปัญหาข้อต่อไป กะพระผู้มี พระภาคว่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าว ใครว่า ผู้ชนะเขต กล่าวบุคคลว่าเป็น ผู้ฉลาด ด้วยอาการอย่างไร อย่างไรจึงกล่าวบุคคลว่าเป็นบัณฑิตและกล่าวบุคคล ชื่อว่า เป็นมุนี ด้วย อาการ อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์อัน ข้าพระองค์ทูล ถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์ แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า

     ดูกรสภิยะผู้ใดพิจารณา (อายตนะหรือกรรม) เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของ ทิพย์เขต ของมนุษย์ และเขตของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก อันเป็น รากเง่า แห่งเขต ทั้งหมด ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้ ชนะเขต ผู้ใดพิจารณา กะเปาะฟอง (กรรม) ทั้งสิ้นทั้งภายในทั้งภายนอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว จากเครื่องผูกอัน เป็นรากเง่าแห่งธรร มเป็นเครื่องข้องทั้งปวง ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ชื่อว่าอาชาไนย

        [๓๗๐] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไปกะ พระผู้มี พระภาค ว่า บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่าผู้ทรงพระสูตร กล่าวบุคคลว่าเป็น อริยะด้วยอาการ อย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้มีจรณะด้วยอาการอย่างไร และ บุคคล บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ชื่อ ว่าปริพาชกด้วยอาการอย่างไร ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัส พยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด

     พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรสภิยะบัณฑิตกล่าวบุคคลผู้ฟังแล้ว รู้ยิ่งธรรม ทั้งมวล ครอบงำธรรมที่มีโทษ และไม่มีโทษอะไรๆ อันมีอยู่ในโลกเสียได้ ไม่มีความ สงสัย หลุดพ้นแล้ว ไม่มีทุกข์ในธรรมมีขันธ์ และอายตนะเป็นต้นทั้งปวง ว่าผู้ทรง พระสูตร บุคคลนั้นรู้แล้วตัดอาลัย (และ) อาสวะได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการนอน ในครรภ์ บรรเทาสัญญา ๓ อย่าง และเปือกตม คือกามคุณแล้วย่อมไม่มาสู่กัป

     บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอริยะ ผู้ใดในศาสนานี้เป็นผู้บรรลุธรรม ที่ควรบรรลุเพราะ จรณะ เป็นผู้ฉลาด รู้ธรรมได้ในกาลทุกเมื่อ ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง มีจิต หลุดพ้นแล้วไม่มีปฏิฆะ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้มีจรณะ ผู้ใดขับไล่กรรม อันมีทุกข์ เป็นผล ซึ่งมีอยู่ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และเป็นปัจจุบันได้แล้วมีปรกติ กำหนดด้วย ปัญญาเที่ยวไป กระทำมายากับทั้งมานะ ความโลภความโกรธ และนามรูป ให้มีที่สุด ได้แล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ปริพาชกผู้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุ

---------------------------------------------------------------------------------------------------

        [๓๗๑] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค แล้วมีใจชื่นชม เฟื่องฟู เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส ลุกจากอาสนะ กระทำผ้า อุตราสงค์ เฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง แล้วประนม อัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ได้ชมเชย พระผู้มีพระภาค ด้วยคาถา อันสมควร ในที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

     ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปัญญา เสมอด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดทิฐิ ๓ และทิฐิ ๖๐ ที่อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะ เป็นประธานของสมณะผู้มีลัทธิอื่น ที่อาศัย อักขระ คือความหมายรู้กัน (ว่าหญิงว่าชาย) และสัญญาอันวิปริต (ซึ่งเป็นที่ยึดถือ)
ทรงก้าวล่วงความมืด คือโอฆะได้แล้วพระองค์เป็นผู้ถึงที่สุด ถึงฝั่งแห่งทุกข์ เป็นพระอรหันต์
(ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ)

     ทรงสำคัญพระองค์ว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรือง มีความรู้ มีพระปัญญา มาก ทรงช่วยข้าพระองค์ผู้กระทำที่สุดทุกข์ ให้ข้ามได้แล้ว เพราะพระองค์ได้ทรง ทราบ ข้อที่ข้าพระองค์สงสัยแล้ว ทรงช่วยให้ ข้าพระองค์ข้ามพ้นความสงสัย

     ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมุนี ผู้ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ ในทางแห่งมุนี ผู้ไม่มีกิเลส ดุจหลักตอผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ข้าพระองค์ขอนอบ น้อม แด่พระองค์พระองค์ เป็นผู้สงบดีแล้ว พระองค์ผู้มีพระจักษุ ทรงพยากรณ์ความ สงสัย ของข้าพระองค์ ที่ได้มีแล้ว ในกาลก่อนแก่ข้าพระองค์พระองค์เป็นมุนี ผู้ตรัสรู้เองแน่แท้

     พระองค์ไม่มีนิวรณ์ อนึ่งอุปายาสทั้งหมดพระองค์ ทรงกำจัดเสียแล้ว ถอนขึ้น ได้แล้ว พระองค์เป็นผู้เยือกเย็นเป็นผู้ถึงการฝึกตน มีพระปัญญาเครื่องจำทรง มีความบากบั่น เป็นนิตย์ในสัจจะ เทวดาทั้งปวงทั้งสองพวก (คือ อากาสัฏฐเทวดา และภุมมัฏฐ เทวดา) ที่อาศัยอยู่ในนารทบรรพต ย่อมชื่นชมต่อพระองค์ผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้แสดงธรรมเทศนา

     ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอนอบน้อม แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษ อันสูงสุด ข้าพระองค์ขอนอบน้อม แด่พระองค์ บุคคลผู้ เปรียบ เสมอพระองค์ ไม่มีในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นมุนีผู้ครอบงำมาร พระองค์ทรง ตัดอนุสัย ข้ามโอฆะได้เองแล้ว ทรงช่วยให้หมู่สัตว์นี้ข้ามได้ด้วย พระองค์ทรงก้าวอุปธิ ทำลายอาสวะได้แล้ว พระองค์เป็นดังสีหะ ไม่มีอุปาทาน ทรงละความกลัว และความขลาดได้แล้ว ไม่ทรงติดอยู่ในบุญ และบาปทั้งสองอย่าง เปรียบเหมือนดอกบัวขาบที่งามไม่ติด อยู่ในน้ำฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ขอเชิญพระองค์โปรดเหยียบพระบาท ออกมาเถิดสภิยะ จะขอถวายบังคมพระบาท ของพระศาสดา

        [๓๗๒] ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชก หมอบลงแทบพระบาท ของพระผู้มี พระภาค ด้วยเศียรเกล้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

     พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุ จักเห็นรูป ได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด

        พ. ดูกรสภิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน หวังบรรพชาหวังอุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือนไปแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พอใจ จึงยังผู้นั้นผู้อยู่ปริวาสแล้ว ให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็น ภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้

        ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุ ทั้งหลาย พอใจ จึงยังผู้นั้นผู้อยู่ปริวาสแล้ว ให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความ เป็น ภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส๔ ปี เมื่อล่วง ๔ ปีแล้ว ภิกษุทั้งหลายพอใจ ขอจงยังข้าพระองค์ ผู้อยู่ปริวาสแล้ว ให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด

     สภิยปริพาชก ได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้น ท่านสภิยะ อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายผู้ออกบวช เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกก็ท่าน สภิยะ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลายฉะนี้แล

จบสภิยสูตรที่ ๖






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์