เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 รวม ๑๒ พระสูตร พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 1349
พวกเธอสำคัญ ความนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
  ตรัสกับ เรื่อง ประไตรปิฎก ฉบับหลวง
1 ตรัสกับ ปัจจวัคคีย์ ตรัสถามความเห็น ปัญจวัคคีย์ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๑
2 ตรัสกับ ภิกษุ ท. พาลธรรม เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๙๑
3 ตรัสกับ คฤหบดี บุตรโสณะ สณสูตรที่ ๑ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๔๘
4 ตรัสกับ ภิกษุรูปหนึ่ง กรรมที่อนัตตากระทำ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๑
5 พระปุณณ/อานนท์/ภิกษุ.ท ๑. อานันทสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๓
6 ตรัสกับ ติสสะ ๒. ติสสสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๔
7 พระสารีบุตร กล่าวกะ ยมกะ ๓. ยมกสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๖
8 ตรัสกับ อนุราธะ ๔. อนุราธสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๒
9 ตรัสกับ วักกลิ (ผู้อาพาธ) ๕. วักกลิสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๕
10 ตรัสกับ อัสสชิ ๖. อัสสชิสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๒๐
11 ตรัสกับ ภิกษุรูปหนึ่ง ๕. นขสิขสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๓๘
12 ตรัสกับ อานนท์ ๑๐. อานันทสูตร เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๘๗
  พระสูตรในชุดนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสรื่องความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ โดยใช้วิธีทวนคำถาม
  แล้วให้สาวกตอบทีละข้อ ไล่เรียงจาก รูป ตามด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

  - รูป ... รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง... ภิกษุจะทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
  - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า...เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
  - สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
  นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา) ของเรา?...ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า

  จากนั้นก็จะตรัสทวนถามขันธ์ที่เหลือ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ในคำถามลักษณะเดียวกัน
  บางสูตร จบด้วย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้.. หรือกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

 

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


1)
ตรัสกับปัจจวัคคีย์
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๑)


            [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญ ความนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
        ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

       ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ



2)

ตรัสกับ ภิกษุ ท.
พาลธรรม
(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๙๑)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
     ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรม ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา?
     ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นไฉน เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...ทั้งหลาย ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
     เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า?

     ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา?

     ข้อนี้ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า


3)

ตรัสกับ คฤหบดีบุตรชื่อโสณะ
ว่าด้วยขันธ์ ๕ มิใช่ของเรา (สณสูตรที่ ๑)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๔๘


          [๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโสณะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?

      คฤหบดีบุตรชื่อโสณะทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?
     ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ส. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ส. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะ พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?
     ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า



4)
ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง
ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำจะถูกต้องอัตตา
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถาม ในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง?
     ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
     ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล



5)
พระปุณณมันตานีบุตร  กล่าวกะพระอานนท์ และ ภิกษุท.
ว่าด้วยปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ (๑. อานันทสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๓

          ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจึงไม่มี ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล.

     ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.

     ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ

     ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า)



6)
ตรัสกับติสสะ
ว่าด้วยปัจจัยให้เกิดและไม่ให้เกิดโสกะ (๒. ติสสสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๔

          [๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูป พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

     ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านติสสะผู้เป็นโอรสของปิตุจฉา ของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุหลายรูปว่า อาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระอันหนักโดยแท้ แม้ทิศทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้า แม้ธรรม ทั้งหลาย ก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ถีนมิทธะ ย่อมครอบงำจิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมี แก่ข้าพเจ้า.

     ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงไปเรียกติสสภิกษ ุตามคำของเราว่า ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นรับพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านติสสะถึงที่อยู่แล้ว บอกแก่ท่านติสสะ อย่างนี้ ว่า ท่านติสสะ  พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.

     ท่านพระติสสะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

     ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระติสสะว่า ดูกรติสสะ ทราบว่า เธอ ได้บอกแก่ภิกษุหลายรูปว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย กายของข้าพเจ้า เป็นดุจภาระ อันหนัก โดยแท้ ฯลฯ และความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดมีแก่ข้าพเจ้า จริงหรือ? ท่านพระติสสะกราบทูลว่า จริงอย่างนั้นพระเจ้าข้า.


     ดูกรติสสะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ต. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ต. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. เพราะเหตุนั้นแล ติสสะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก


7)

พระสารีบุตร กล่าวกะ ยมกะ
ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่ (๓. ยมกสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๐๖

          สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ

     สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ

     สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

             [๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน

        [๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์ บุคคลมีในรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

        [๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

        [๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.

     สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.

ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้า อย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะ ฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระสารีบุตร



8)
ตรัสกับ อนุราธะ
ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕ (อนุราธสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๒

          [๒๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
     อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.



9

ตรัสกับ วักกลิ (ผู้อาพาธ)
ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า (๕. วักกลิสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๕

     ว. พระเจ้าข้า จำเดิมแต่กาลนานมาแล้ว ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค แต่ว่าในร่างกายของข้าพระองค์ ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคได้.

     พ. อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร?                ดูกรวักกลิผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม.

     วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม

     วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
     ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ว. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ว. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
     ว. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


10)

ตรัสกับ อัสสชิ
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา (๖. อัสสชิสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๒๐

          [๒๒๓] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกลครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง.

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า อย่าเลยอัสสชิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น.

     พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.

     ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่าดูกรอัสสชิ เธอพอทนได้หรือ พอยัง อัตภาพ ให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ?

     ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่า กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย

     พ. ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?
     อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อน อยู่ไม่น้อยเลย

     พ. ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?
     อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่

     พ. ดูกรอัสสชิ  ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร?

     อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่างลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ.

     พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ.

     ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ

     พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี



11)

ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง
ว่าด้วยความไม่เที่ยงแท้แน่นอนแห่งขันธ์ ๕ (๕. นขสิขสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๓๘


            [๒๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นนิดหน่อย ด้วยปลายเล็บ แล้ว ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ แม้รูปมีประมาณเท่านี้แล เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มี.

     ถ้าว่ารูปแม้มีประมาณเท่านี้ จักได้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคงไม่มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะ ไม่พึงปรากฏ.

     ก็เพราะเหตุที่รูปแม้มีประมาณเท่านี้แล เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ จึงปรากฏ.

     เวทนาแม้มีประมาณเท่านี้แล ฯลฯ วิญญาณแม้มีประมาณเท่านี้แล เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักคงเที่ยงอยู่เสมออย่างนั้น ไม่มี.

     ถ้าแม้ว่าวิญญาณมีประมาณเท่านี้ จักเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา แล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ.

     ก็เพราะเหตุที่วิญญาณแม้มีประมาณเท่านี้แล เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความ สิ้นทุกข์ โดยชอบจึงปรากฏ

         [๒๕๔] ดูกรภิกษุ ธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ อริยสาวกผู้ได้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่าฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


12)

ตรัสกับอานนท์
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจังและมิใช่ของเรา (๑๐. อานันทสูตร)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๘๗

            [๓๖๔] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆเดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
     อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.


     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?

     อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์