เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 เอชสูตรที่ ๑ เอชสูตรที่ ๒ ความหวั่นไหว เป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร 1247
 

(โดยย่อ)

ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นฝี เป็นลูกศร...
เมื่อไม่สำคัญอย่างนี้
  ย่อมไม่ถือมั่น สิ่งอะไรๆ ในโลก
  เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง
  เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว
  ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
  กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๖๕

เอชสูตรที่ ๑


         [๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ  เหตุนั้นแล ตถาคตเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความ หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ภิกษุ

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุ
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุ
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุ
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ใน รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ แต่ รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ว่า รูปทั้งหลายของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุวิญญาณของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุสัมผัสของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ แต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่งโสตะ...
ไม่พึงสำคัญ ซึ่งฆานะ...
ไม่พึงสำคัญ ซึ่งกาย...
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ใจ
ไม่พึงสำคัญ ใน ใจ
ไม่พึงสำคัญ แต่ ใจ
ไม่พึงสำคัญ ว่า ใจของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ...
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ใน มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ แต่ มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ว่า มโนวิญญาณของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ใน มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ แต่ มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ว่า มโนสัมผัสของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ใน สุขเวทนา  ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ แต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง สิ่งทั้งปวง
ไม่พึงสำคัญ ใน สิ่งทั้งปวง
ไม่พึงสำคัญ แต่ สิ่งทั้งปวง
ไม่พึงสำคัญ ว่า สิ่งทั้งปวงของเรา

เธอนั้นเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ

         [๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็น โรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ถึงแม้ ภิกษุ ก็พึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เอชสูตรที่ ๒

         [๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุ
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุ
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุ
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ใน รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ แต่ รูปทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ว่า รูปทั้งหลายของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุวิญญาณของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ใน จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ แต่ จักษุสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุสัมผัสของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ แต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ
ย่อมสำคัญ ซึ่ง สิ่งใด 
ย่อมสำคัญ ใน สิ่งใด
ย่อมสำคัญ แต่ สิ่งใด
ย่อมสำคัญ ว่า สิ่งใดของเรา
สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่น จากสิ่งนั้น
โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง โสตะ ฯลฯ
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ฆานะ ฯลฯ
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ชิวหา ฯลฯ
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง กาย ฯลฯ

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ใจ
ไม่พึงสำคัญ ใน ใจ
ไม่พึงสำคัญ แต่ ใ
ไม่พึงสำคัญ ว่า ใจของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ใน ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ แต่ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
ไม่พึงสำคัญ ว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ใน มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ แต่ มโนวิญญาณ
ไม่พึงสำคัญ ว่า มโนวิญญาณของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ใน มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ แต่ มโนสัมผัส
ไม่พึงสำคัญ ว่า มโนสัมผัสของเรา

ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ แต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่พึงสำคัญ ว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขม  สุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ
ย่อมสำคัญ ซึ่ง สิ่งใด
ย่อมสำคัญ ใน สิ่งใด
ย่อมสำคัญ แต่ สิ่งใด
ย่อมสำคัญ ว่า สิ่งใดของเรา
สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่น จากสิ่งนั้น
โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ไม่พึงสำคัญ ซึ่ง ขันธ์ธาตุ และอายตนะ
ไม่พึงสำคัญ ใน ขันธ์ธาตุ และอายตนะ
ไม่พึงสำคัญ แต่ ขันธ์ธาตุ และอายตนะ
ไม่พึงสำคัญ ว่า ขันธ์ธาตุ และอายตนะ ของเรา

เธอเมื่อไม่ สำคัญอย่างนี้
ย่อมไม่ถือมั่น สิ่งอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์