เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ปาสาทิกสูตร การแตกกันของลัทธินิครนฐ์นาฏบุตร และสามเณรจุนทะ เข้าเฝ้าฯ 1170
  สรุปย่อแต่ละหัวข้อ

1. ลัทธินิครนฐ์แบ่งเป็น2 พวก หลักจาก นิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ทำกาละแล้ว พวกนิครนฐ์ ได้ ทะเลาะกันเอง ว่าฝ่ายตนเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายเรารู้ธรรมมากกว่า จึงแบ่งเป็นสองฝ่าย

2. สามเณรจุนทะ เข้าไปหาพระอานนท์ หลังเห็นการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ และพระอานนท์ พาไปเขาเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้

3. สามเณรจุนทะเข้ามาสู่ธรรมวินัยของ พ. สามเณรกล่าวกับ พระอานนท์ ว่า เป็นลาภของท่านแล้ว ท่านได้ดีแล้ว

4. ผู้ได้ลาภ: ผู้ใดไม่มีโอกาสเข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต ที่ประกาศไว้ดีแล้ว ถือว่าไม่ได้ลาภ ไม่สามารถออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่พระสัมพุทธะประกาศไว้ดีแล้ว

5. ผู้ไม่ได้ลาภ : แม้ภิกษุจะเข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต แต่ไม่ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมไม่ได้ลาภ ภิกษุนั้นไม่ได้ดีแล้ว

6. ผู้ได้ลาภ : ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต และประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมเป็นลาภ อย่างยิ่ง ภิกษุนั้นได้ดีแล้ว)

7. ผู้ไม่แจ้งในอรรถในธรรม : ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต แต่ไม่แจ้งในอรรถในธรรม แต่หลัง ทำกาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุทำให้เดือดร้อน)

8. ผู้แจ้งในธรรม ย่อมไม่เดือดร้อน : ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต และรู้แจ้งในอรรถในธรรม แต่หลังทำ กาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุไม่ทำให้เดือดร้อน)

9. พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ต้องการกอบด้วย
1.ศาสดาที่สมบูรณ์ (1เป็นเถระ 2 รู้ราตรีนาน 3.บวชมานาน 4.เป็นผู้ล่วงกาลมาโดยลำดับ)
2.สาวกที่สมบูรณ์ (1.เป็นเถระ 2.เป็นผู้เชี่ยวชาญ 3.แกล้วกล้า 4.เป็นผู้บรรลุธรรม)

10. พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ ต้องมีผู้สืบทอด แม้พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ ด้วยศาสดาที่สมบูรณ์ และ สาวกที่สมบูรณ์มีอยู่ แต่..ถ้าหากขาดผู้สืบทอด คือ สาวกผู้ปานกลาง สาวกผู้ใหม่ อุบากสิกา เถรี อุบาสิกาผู้ใหม่ อุบาสกผู้นุ่งขาวห่มขาว ทั้งเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ พรหมจรรย์นั้นก็ไม่สมบูรณ์

11. พรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ จึงจะถือว่า พรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์ 1.พระศาสดาเป็น เถระ 2. สาวกเป็นผู้รู้ราตรีนาน 3. เป็นผู้บวชมานาน 4.เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา โดยลำดับ 5. สาวก ของศาสดาเป็นเถระเชี่ยวชาญ บรรลุธรรมโดยชอบ แสดงธรรมได้ด้วยดี
---------------------------------------------------------------------

นิครนฐ์ นาฏบุตร บ้างใช้คำว่า นิครนถ์ นาฏบุตร (วิกิพีเดียใช้คำว่า นิครนถ์)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๙๑ - ๙๘


๖. ปาสาทิกสูตร (๒๙)

1)
(หลังจากนิครณฐ์ (เจ้าลัทธิ) ทำกาละแล้ว ก็ทะเลาะกันเอง ว่าฝ่ายตนเหนือกว่า เรารู้ธรรมมากกว่า แบ่งเป็นสองฝ่าย มาจนถึงทุกวันนี้)

          [๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาท ในสวนอัมพวันของพวกศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในสักกชนบท ก็สมัยนั้นแล นิครณฐ์นาฏบุตร ทำกาละแล้ว ที่เมืองปาวา ไม่นานนัก เพราะกาลกิริยา ของนิครณฐ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิดแยก กันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดทะเลาะ วิวาทกันขึ้น เสียดแทงกัน และกัน ด้วยหอกคือปาก อยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของ ข้าพเจ้า เป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับ กล่าวภายหลัง คำที่ควร จะกล่าว ภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน

ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้า ข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ คงมีแต่ ความตายเท่านั้น จะเป็นไปในพวกสาวกของนิครณฐ์นาฏบุตร พวกสาวกของ นิครณฐ์นาฏบุตรแม้เหล่าใด ที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว พวกสาวกแม้เหล่านั้น มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอย ในพวกสาวกของ นิครณฐ์นาฏบุตร โดยเหตุที่ธรรมวินัย อันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่าน ผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนัก อันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ฯ

(ลัทธินิครนถ์นาฏบุตรในปัจจุบัน)


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2)
(สามเณรจุนทะเห็นการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ และพระอานนท์ พาไปเขาเฝ้า พระภูมีพระภาค)

          [๙๕] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะ อยู่จำพรรษาในเมืองปาวา (เมืองที่เจ้าลัทธินิคราถ์ทำกาละ) ได้เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ ซึ่งอยู่ ในสามคาม ครั้นกราบไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะ ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐ์ นาฏบุตร ทำกาละแล้วที่เมืองปาวา ไม่นานนัก เพราะกาลกิริยา ของ นิครณฐ์นาฏบุตร นั้น พวกนิครณฐ์แตกกันแล้ว เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุ ที่ธรรมวินัย อันนิครณฐ์นาฏบุตรกล่าวไว้ ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ ท่านผู้เป็นสัมมา สัมพุทธะ ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัย ไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ฯ

เมื่อสามเณรจุนทะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสามเณรจุนทะว่า อาวุโสจุนทะ มีมูลเหตุแห่งถ้อยคำนี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าละ อาวุโส จุนทะ มาเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว พึงทูลบอกเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาค สามเณร จุนทะรับคำของท่าน พระอานนท์ แล้วลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์และสามเณรจุนทะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วท่าน พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามเณรจุนทะนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐ์นาฏบุตรทำกาละแล้ว ที่เมืองปาวาไม่นานนัก เพราะกาลกิริยาของ นิครณฐ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครณฐ์นาฏบุตร แตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัย อันนิครณฐ์นาฏบุตร กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัย มีที่พำนักอันทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย ดังนี้ ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3)

(พระพุทธเจ้าชักชวนให้ สามเณรจุนทะเข้ามาสู่ธรรมวินัยของพระองค์ สามเณรกล่าวกับพระอานนท์ว่า เป็นลาภของท่านแล้ว ท่านได้ดีแล้ว)

          [๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ข้อนี้ย่อมมีได้อย่างนั้น ในธรรมวินัยที่ ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจาก ทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรมวินัย ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ อย่างนี้แล

ดูกรจุนทะ ศาสดาในโลกนี้ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมอันศาสดานั้น กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ ไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่ธรรม ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้
(ธรรมในโลกนี้ มีธรรมของตถาคตเท่านั้นที่ออกไปจากทุกข์ได้)

แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติ ตามธรรม และย่อมประพฤติหลีก เลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้น เป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าว อย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโส เป็นลาภของท่านนั้นละ ท่านนั้นได้ดีแล้ว ศาสดาของท่าน (นิครนฐ์) ไม่เป็นสัมมา สัมพุทธะ และ ธรรมเล่าก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศ ไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไป จากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ท่าน ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควร แก่ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติ หลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ แม้ศาสดาก็เป็นผู้ควรติเตียน ในธรรม นั้น แม้ธรรมก็ควรติเตียนในธรรมนั้น ส่วนสาวกควรสรรเสริญในธรรมนั้นอย่างนี้

ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาปฏิบัติตาม ธรรม ที่ศาสดาของท่านแสดงแล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้น จะประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัย ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4)

(ผู้ใดไม่มีโอกาสเข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต ที่ประกาศไว้ดีแล้ว ถือว่าไม่ได้ลาภ ไม่สามารถออกจากทุกข์ได้ )


          [๙๗] ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่า ก็เป็น ธรรมอัน ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไป เพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมา สัมพุทธะ ประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติ สมควร แก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้นประพฤติ สาวกนั้นเป็นผู้อัน ใครๆ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่านนั้น ท่านนั้นได้ไม่ดีแล้ว ด้วยว่าศาสดาของท่าน ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่าก็เป็นธรรมที่ ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดีประกาศไว้ ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมา สัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งตัวท่านก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควร แก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรม นั้นประพฤติ ด้วยเหตุดังนี้แล

จุนทะ แม้ศาสดาก็เป็นผู้ควรติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรติเตียนในธรรมนั้น แม้ สาวก ก็เป็นผู้ควรติเตียนในธรรมนั้น อย่างนี้

ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวก เห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรม อันควรรู้ จักยัง ธรรม อันควร รู้ให้สำเร็จได้โดยแท้ ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้ว ปรารภ ความเพียร โดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น จะประสบ สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร

ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัย ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็น สัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5)

(แม้ภิกษุจะเข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต แต่ไม่ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมไม่ได้ลาภ ภิกษุนั้นไม่ได้ดีแล้ว)

          [๙๘] ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่าก็เป็น ธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออก ไปจากทุกข์ได้เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็น สัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้น เป็นผู้อัน ใครๆ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่านนั้น ท่านนั้นได้ไม่ดีแล้ว ด้วยว่าศาสดาของท่าน เป็นพระสัมมา สัมพุทธะ และธรรม เล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรม ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความ สงบ ระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้ เป็นพระสัมมา สัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าตัวท่าน ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรมไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่เป็นผู้ ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติหลีก เลี่ยงจากธรรมนั้น ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ แม้ศาสดาก็ควร สรรเสริญในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรสรรเสริญในธรรมนั้น แต่ว่าสาวกควรติเตียน ในธรรมนั้น อย่างนี้

ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาปฏิบัติตามธรรม ที่พระศาสดา ของท่านแสดงแล้ว บัญญัติแล้วเถิด ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวนแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้น เพราะเหตุไร

ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัย ที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้อย่างนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6)

(ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต และประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมเป็นลาภอย่างยิ่ง ภิกษุนั้นได้ดีแล้ว)

   [๙๙] ดูกรจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเล่าก็เป็นธรรม อันศาสดา นั้น กล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไป จากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความ สงบ ระงับ เป็นธรรมอันท่านผู้เป็น สัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ ทั้งสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ ประพฤติตามธรรม ย่อมสมาทานธรรม นั้นประพฤติ สาวกนั้น เป็นผู้อันใครๆ พึงกล่าว อย่างนี้ว่า

ดูกรอาวุโส เป็นลาภอย่างยิ่งของท่านนั้น ท่านนั้นได้ดีแล้ว ด้วยว่าพระศาสดา ของท่าน ก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเล่าก็เป็นธรรม อันพระศาสดา นั้น กล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไป จากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ ทั้งตัวท่านก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นผู้ประพฤติ ตามธรรม ย่อมสมาทานธรรมนั้น ประพฤติด้วยเหตุดังนี้แล

จุนทะ แม้ศาสดาก็ควร ได้รับสรรเสริญในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรได้รับสรรเสริญ ในธรรมนั้น แม้สาวกเล่า ก็ควรได้รับสรรเสริญใน ธรรมนั้นอย่างนี้

ดูกรจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรม อันควรรู้ จักยังธรรม อันควรรู้ให้สำเร็จได้โดยแท้ ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้ว ย่อมปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น จะประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูกรจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่ ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำ ผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ อย่างนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7)

(ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต แต่ไม่แจ้งในอรรถในธรรม แต่หลังทำ กาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุทำให้เดือดร้อน)

          [๑๐๐] ดูกรจุนทะ ศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธะ เกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ และธรรม อันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นำ ผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไป เพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมา สัมพุทธะ ประกาศไว้ แต่ว่าสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่รู้แจ้งอรรถใน พระสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อันศาสดาของ สาวก เหล่านั้น ทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มี ปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย ประกาศได้ด้วยดีแก่สาวกเหล่านั้น ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ ศาสดาของสาวกเหล่านั้น

          ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็น ปานนี้แล เป็นผู้ทำกาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุเดือดร้อน ในภายหลัง แก่สาวก ทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าศาสดาผู้เป็น พระอรหันต สัมมาสัมพุทธะ ได้เกิดแล้วในโลก และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันศาสดานั้น กล่าวไว้ ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นำ ผู้ปฏิบัติให้ออกไป จากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรม ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าเรา ทั้งหลาย ไม่ได้เป็นผู้รู้แจ้งอรรถใน พระสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่ได้เป็น ปาพจน์ อันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอัน รวบรวมไว้ พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย ประกาศได้ ด้วยดี ครั้นต่อมา ความอันตรธานย่อมมีแก่ศาสดา ของเรา ทั้งหลาย

          ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้วย่อมเป็นเหตุเดือดร้อน ใน ภายหลัง แก่สาวกทั้งหลาย ฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
8)

(ภิกษุที่เข้ามาสู่ธรรมวินัยของตถาคต และรู้แจ้งในอรรถในธรรม แต่หลังทำ กาละแล้ว ย่อมเป็นเหตุไม่ทำให้เดือดร้อน)


          [๑๐๑] ดูกรจุนทะ อนึ่ง พระศาสดาผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เกิดขึ้น แล้ว ในโลกนี้ และธรรมเล่าก็เป็นธรรมอันพระศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรม ที่จะนำ ผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่ท่าน ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ประกาศไว้ และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้ รู้แจ้ง อรรถ ในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นปาพจน์อันศาสดานั้น ทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดา มนุษย์ ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น ครั้นต่อมาความ อันตรธาน ย่อมมีแก่ศาสดาของสาวก เหล่านั้น

          ดูกรจุนทะ ศาสดา เห็นปานนี้แล ทำกาละแล้วย่อมไม่เป็นเหตุเดือดร้อน ในภายหลัง แก่สาวกทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้ศาสดาผู้เป็น พระ อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เกิดขึ้นแล้วในโลก และ ธรรมเล่าก็เป็นธรรมอัน พระศาสดา นั้น กล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไป เพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมอันท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และเราทั้งหลาย ก็ได้เป็นผู้รู้แจ้งอรรถในสัทธรรม ทั้งพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นปาพจน์ อันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทอันรวบรวม ไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทพดา มนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี ครั้นต่อมา ความอันตรธาน ย่อมมีแก่ศาสดา

          ดูกรจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ทำกาละแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุเดือดร้อน ในภายหลัง แก่สาวกทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9)

พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ต้องการกอบด้วย
1.ศาสดาที่สมบูรณ์ (1เป็นเถระ 2 รู้ราตรีนาน 3.บวชมานาน 4.เป็นผู้ล่วงกาลมาโดยลำดับ)
2.สาวกที่สมบูรณ์ (1.เป็นเถระ 2.เป็นผู้เชี่ยวชาญ 3.แกล้วกล้า 4.เป็นผู้บรรลุธรรม)

          [๑๐๒] ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดา ไม่ได้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้รู้ราตรีนาน ไม่เป็นผู้บวชนาน ไม่เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา โดยลำดับแล้วอย่างนี้ พรหมจรรย์นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

          ดูกรจุนทะ เมื่อใดแล แม้ถ้าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดา เป็นเถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ อย่างนี้ พรหมจรรย์ นั้น บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เมื่อนั้น

          [๑๐๓] ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดา เป็นเถระเป็นผู้รู้ราตรี นาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ แต่ว่า ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ของศาสดา นั้นไม่เป็นเถระ ไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่เป็นผู้ ได้รับแนะนำ ไม่เป็นผู้แกล้วกล้า และไม่บรรลุธรรมเป็นแดน เกษมจากโยคะ ไม่สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรม ได้โดยชอบ ไม่สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มี ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาท ที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม พรหมจรรย์นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์ นั้น อย่างนี้

           ดูกรจุนทะ ในกาลใดแล แม้ถ้าพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดา เป็น เถระ เป็นผู้รู้ราตรี นาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดย ลำดับแล้ว และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ ศาสดา นั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้รับ แนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า และเป็นผู้บรรลุธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ แล้ว สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้ โดยชอบสามารถ เพื่อแสดงธรรม ให้มี ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาท ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยดีโดยชอบธรรม อย่างนี้ พรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น ฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
10)

แม้พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ ด้วยศาสดาที่สมบูรณ์ และ สาวกที่สมบูรณ์มีอยู่ แต่..
หากขาดผู้สืบทอด คือ สาวกผู้ปานกลาง สาวกผู้ใหม่ อุบากสิกา เถรี อุบาสิกา ผู้ใหม่ อุบาสกผู้นุ่งขาวห่มขาว ทั้งเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือเป็นผู้บริโภคกาม มีอยู่... พรหมจรรย์นั้นก็ไม่สมบูรณ์

          [๑๐๔] ดูกรจุนทะ แม้ถ้าพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้คือ ศาสดาเป็น เถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ และ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวก ของ ศาสดานั้นก็เป็นเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ได้รับ แนะนำ แล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้บรรลุธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว สามารถ เพื่อจะกล่าวพระสัทธรรม ได้โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรม ให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ ปรัปปวาท* อันบังเกิดขึ้นแล้วด้วยดี โดยชอบธรรม
*(คำกล่าวของพวกอื่น หรือลัทธิอื่น คำกล่าวคัดค้าน โต้แย้ง ของคนพวกลัทธิภายนอก)

แต่ภิกษุทั้งหลาย(1) ที่เป็น สาวกของศาสดานั้นที่เป็นผู้ปานกลางไม่มี หรือ ภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นสาวก ผู้ปานกลางมีอยู่

แต่ภิกษุทั้งหลาย(2)
ที่เป็น สาวกของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี ภิกษุณีทั้งหลายผู้ เป็นสาวิกา ของศาสดานั้น เป็นผู้ใหม่ มีอยู่

แต่ภิกษุณี ทั้งหลาย (3) ที่เป็น สาวิกา(อุบาสิกกา) ของศาสดานั้นที่เป็นเถรี(เณรภิกษุณี)ไม่มี หรือ ภิกษุณี ทั้งหลาย ที่เป็นสาวิกาของ ศาสดานั้นที่เป็นเถรีมีอยู่

แต่ภิกษุณีทั้งหลาย (4) ที่เป็น สาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางไม่มี หรือ ภิกษุณี ทั้งหลาย ผู้เป็นสาวิกา ของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางมีอยู่

แต่ภิกษณีทั้งหลาย (5) ผู้เป็น สาวิกา ของศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี หรือ ภิกษุณี ทั้งหลาย ผู้เป็นสาวิกา ของศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่มีอยู่

แต่อุบาสกทั้งหลาย (6) ผู้เป็น สาวกของ ศาสดานั้น ที่เป็น คฤหัสถ์นุ่งขาว ห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี หรือ อุบาสก ทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่

แต่อุบาสกทั้งหลาย (7)ผู้เป็น สาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามไม่มี หรือ อุบาสกทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว ห่มขาว บริโภคกามมีอยู่

แต่อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็น สาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็น คฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มี หรือ อุบาสิกา ทั้งหลายที่เป็น สาวิกา ของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่

แต่อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็น สาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว บริโภค กามมีอยู่ แต่พรหมจรรย์ของศาสดานั้น มิได้เป็นพรหมจรรย์สำเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมาก รู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย ประกาศ ได้ด้วยดี หรือพรหมจรรย์ของศาสดานั้น เป็นพรหมจรรย์สำเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้เป็นปึกแผ่น พอที่เทพดามนุษย์ ทั้งหลาย ประกาศได้ ด้วยดี แต่พรหมจรรย์นั้น ไม่เป็นพรหมจรรย์ ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ อย่างนี้ พรหมจรรย์นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
11)

พรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ จึงจะถือว่า พรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์
1.พระศาสดาเป็นเถระ 2. สาวกเป็นผู้รู้ราตรีนาน 3. เป็นผู้บวชมานาน 4.เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมาโดยลำดับ 5. สาวกของศาสดาเป็นเถระเชี่ยวชาญ บรรลุธรรม โดยชอบ สามารถ แสดงธรรมได้ด้วยดี

             ดูกรจุนทะ เมื่อใดแล พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็น เถระ เป็นผู้รู้ราตรีนาน เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล ผ่านวัยมา โดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็น สาวก ของศาสดานั้น ก็เป็นเถระเชี่ยวชาญ ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า บรรลุธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรม ได้โดยชอบ สามารถ เพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาท ที่เกิดขึ้นแล้ว เสียได้ ด้วยดี โดยชอบธรรม

ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น สาวกของ ศาสดานั้น ที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่

ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นเถรีก็มีอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็น สาวิกาของ ศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่

อุบาสกทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์ก็มีอยู่ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ห่มขาว บริโภคกามก็มีอยู่

อุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ พรหมจรรย์ ก็มีอยู่

อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ก็มีอยู่ และ พรหมจรรย์ของศาสดานั้น ก็เป็นปาพจน์ สำเร็จแพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทพดามนุษย์ทั้งหลาย ประกาศได้ ด้วยดี และถึงความ เลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศแล้วอย่างนี้ พรหมจรรย์นั้น ย่อมบริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เมื่อนั้น ฯ

... ฯลฯ...

๖. ปาสาทิกสูตร (๒๙) พระสูตรนี้ค่อนข้างยาว และตรัสไว้หลายเรื่อง จากหลายๆเหตุการณ์
ผู้สนใจสามารถศึกษาต่อได้ด้วยตนเอง

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์