เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ธรรม ๘ อย่าง มีอุปการะมาก 1138
ธรรม ๑๐ อย่าง
มีอุปการะมาก
ธรรม
อย่างหนึ่ง

1131
ธรรม
๒ อย่าง

1132
ธรรม
๓ อย่าง

1133
ธรรม
๔ อย่าง

1134
ธรรม
๕ อย่าง

1135
ธรรม
๖ อย่าง

1136
ธรรม
๗ อย่าง

1137
ธรรม
๘ อย่าง

1138
ธรรม
๙ อย่าง

1139
ธรรม
๑๐ อย่าง

1140


"ทสุตตรสูตร" พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๗๓ - ๒๗๘


ทสุตตรสูตร

ธรรม ๘ อย่างมีอุปการะมาก

ข้อ [๔๔๓]-[๔๕๓]

         [๔๔๓] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เจริญ  ธรรม ๑๐ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเจริญ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้บังเกิด ขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ธรรม ๘ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่เหตุ ๘ ปัจจัย
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้
เพื่อความมี ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่ง ปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ เป็นไฉน

(๑) ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่อาศัยครู หรือสพรหมมจรรย์ ผู้ตั้งอยู่ ในฐานะครู รูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ ความรัก และ ความเคารพอย่าง แรงกล้า ในท่านนั้น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๑ เป็นปัจจัยข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ก็ภิกษุนั้นอยู่อาศัยครู หรือ สพรหมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไป ตั้งไว้ซึ่งหิริ โอตตัปปะ ความรักและความเคารพ อย่างแรงกล้าในท่านนั้นแล้ว

(๒) ย่อมเข้าไปหาท่านเสมอๆ สอบถามไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้อย่างไร เนื้อความ ของข้อนี้ เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดเผย สิ่งที่ยังมิได้เปิดเผย กระทำให้ง่าย ซึ่งสิ่ง ที่ยังมิได้กระทำให้ง่าย บรรเทาความสงสัย ในธรรม เป็นที่ตั้ง แห่งความสงสัย หลายอย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๒ เป็นปัจจัยข้อ ที่ ๒ เป็นไปเพื่อ ความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๓) ภิกษุนั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความหลีกออก ๒ ประการให้ถึงพร้อม คือความ หลีกออก แห่งกาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๓ เป็นปัจจัย ข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมี ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๔) ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร อยู่เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุข้อที่ ๔ เป็นปัจจัยข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น แห่ง พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๕) ภิกษุผู้มีสุตะมาก ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ ธรรมทั้งหลาย อันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้ง พยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นสิ่งอันภิกษุนั้นสดับแล้วมาก ทรงไว้คล่องปาก ตามพิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วยความเห็น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๕ เป็นปัจจัยข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๖) ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม แห่ง กุศลธรรมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม นี้เป็นเหตุ ข้อที่ ๖เป็นปัจจัยข้อที่ ๖ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๗) ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญา เครื่องรักษาตน อันยอดเยี่ยม ระลึก ตามระลึก ถึงสิ่งที่ได้ทำ คำที่ได้พูดไว้แล้วแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ ข้อที่ ๗ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ ที่ยัง ไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

(๘) ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้ รูปดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่ง เวทนา ดังนี้ความ ดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญาดังนี้ ความดับ แห่งสัญญา ดังนี้สังขารดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

ธรรม ๘ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
(๑) ความเห็นชอบ
(๒) ความดำริชอบ
(๓) เจรจาชอบ
(๔) การงานชอบ
(๕) เลี้ยงชีพชอบ
(๖) พยายามชอบ
(๗) ระลึกชอบ
(๘) ตั้งใจชอบ

ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่โลกธรรม ๘ คือ
(๑) ความได้ลาภ 
(๒) ความเสื่อมลาภ
(๓) ความได้ยศ
(๔) ความเสื่อมยศ
(๕) นินทา
(๖) สรรเสริญ
(๗) สุข
(๘) ทุกข์

ธรรม ๘ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่มิจฉัตตะ ๘ คือ
(๑) ความเห็นผิด
(๒) ความดำริผิด
(๓) เจรจาผิด
(๔) การงานผิด
(๕) เลี้ยงชีพผิด
(๖) พยายามผิด
(๗) ระลึกผิด
(๘) ตั้งใจผิด

ธรรม ๘ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่เหตุเป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้าน ๘ อย่าง (ความเกียจคร้าน) คือ
(๑) การงานเป็นสิ่งอันภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้พึงกระทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งที่เราควรกระทำ เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุ เป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้าน ข้อที่ ๑

(๒) การงานเป็นสิ่งอันภิกษุกระทำแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการ งานแล้ว ก็เมื่อเรา กระทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุ เป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๒

(๓) ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทาง ก็เมื่อเรา เดินทางไปอยู่ ร่างกาย จักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้ง แห่งความ-เกียจคร้านข้อที่ ๓

(๔) ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางมาถึง แล้วก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ ทำให้แจ้งนี้คือเหตุเป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๔

(๕) ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ อันเศร้า หมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไป บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อยแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง มิได้ทำให้ แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๕

(๖) ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ อัน เศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก เหมือนถั่วทองที่เขาหมักไว้ ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำ ให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๖

(๗) อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่าอาพาธ เล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควร เพื่อจะนอนมีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสียไม่ ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้คือเหตุ เป็นที่ตั้งแห่ง ความเกียจคร้านข้อที่ ๗

(๘) ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน  เธอย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน กายของเรานั้น ยังมีกำลังน้อย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร ... เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๘

ธรรม ๘ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเจริญเป็นไฉน ได้แก่เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการ ปรารภความเพียร ๘ (มีความเพียร) คือ
(๑) การงาน เป็นสิ่งอันภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้พึงกระทำ เธอย่อมมีความคิด อย่างนี้ ว่า การงาน จักเป็นสิ่งที่เราควรกระทำ ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ความ กระทำไว้ ในใจ ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้ง ธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อธรรม ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

(๒) การงานย่อมเป็นสิ่งอันภิกษุกระทำเสร็จแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการงานเสร็จแล้ว ก็เรากระทำการงานอยู่ ไม่อาจกระทำไว้ในใจ ซึ่ง คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

(๓) ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ความ กระทำ ไว้ในใจ ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

(๔) หนทางที่ภิกษุเดินไปถึงแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่าเราได้เดินทาง มาถึงแล้ว ก็เราเมื่อเดินทาง ไปอยู่ ไม่อาจกระทำไว้ในใจซึ่งคำสอนของ พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรม ที่ยัง มิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง

(๕) ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมอง หรือ ประณีตพอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาต ยังบ้าน หรือนิคมไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ ความต้องการ กายของเรานั่นเบาควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจักปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยัง มิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรม ที่ยัง มิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

(๖) ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ อันเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีต พอแก่ความต้องการกายของเรานั่น มีกำลัง ควรแก่การงาน ช่างเถิด
เราจะปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรม ที่ยังมิได้บรรลุเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

(๗) อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธ เล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ข้อที่อาพาธของเราจะพึงมากขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๗

(๘) ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมี ความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน ข้อที่อาพาธ ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิด เราจะปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรม ที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรร มที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๘

ธรรม ๘ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่กาล ที่มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติ พรหมจรรย คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติ ในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไป เพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรม อันพระสุคตประกาศแล้ว
(๑)... แต่บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงนรกเสีย

(๒) ...แต่บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานเสีย

(๓) ...แต่บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงปิตติวิสัยเสีย...

(๔) ... แต่บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย ซึ่งมีอายุยืน อย่างใด อย่างหนึ่งเสีย ....

(๕) ...แต่บุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน ปัจจันตชนบท อันเป็นถิ่น ของชนมิลักขะผู้ไม่รู้ความ ซึ่งมิใช่คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ....

(๖) ...ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน มัชฌิมชนบท แต่เขาเป็น มิจฉาทิฐิ มีความเห็นผิด ไปว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก ของกรรม ที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ ผู้ผุดเกิดขึ้น ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ซึ่งกระทำโลก นี้และ โลกหน้า ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้

(๗) ... ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน มัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคน มีปัญญาทรามโง่เขลา เป็นใบ้ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความของถ้อยคำ ที่เป็นสุภาษิต และทุพภาษิตได้

(๘) พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติในโลก และพระองค์ยังไม่ ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท และเขาเป็น คนมีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ สามารถจะรู้เนื้อความของถ้อยคำ ที่เป็นสุภาษิต และ ทุพภาษิตได้ นี้เป็น กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ธรรม ๘ อย่าง ที่ควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่ มหาปุริสวิตก ๘ คือ
(๑) ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่
(๒) ธรรมนี้ของผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษ
(๓) ธรรมนี้ของผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในความคลุกคลี
(๔) ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้าน
(๕) ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้ มิใช่ของผู้มีสติหลง  
(๖) ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
(๗) ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทราม
(๘) ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องหน่วงให้เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในธรรม ไม่เป็นเครื่องหน่วงให้เนิ่นช้า มิใช่ของผู้มีธรรมเป็นเครื่องหน่วง ให้เนิ่นช้าเป็นที่มา ยินดี ผู้ยินดีในธรรมเป็นเครื่องหน่วงให้เนิ่นช้า

ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่อภิภายตนะ ๘ คือ
(๑) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และ ผิวพรรณ ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ ข้อที่ ๑

(๒) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดี และ ผิวพรรณ ทรามครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นอันนี้เป็น อภิภายตนะ ข้อที่ ๒

(๓) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่เล็ก มีผิวพรรณดี และ ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นอันนี้เป็น อภิภายตนะข้อที่ ๓

(๔) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ที่ใหญ่ มีผิวพรรณดีและมี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็น อภิภายตนะข้อที่ ๔

(๕) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณเขียวเขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิด ในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกันครอบงำ รูป เหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๕

(๖) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณเหลืองเหลืองล้วน มีรัศมี เหลืองหรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองอันเกลี้ยง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลืองมีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่าเรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๖

(๗) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกชะบาอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิด ในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันแดง มีวรรณแดงแดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดงฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๗

(๘) ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณขาว  ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว 
หรือว่าผ้า ที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน
มีรัศมีขาว แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๘

ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่วิโมกข์ ๘ คือ 
(๑) ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

(๒) ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

(๓) บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

(๔)
เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจ ซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

(๕)
เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญา ณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕

(๖)
เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

(๗)
เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึง ซึ่งเนวสัญญานา สัญญา-ยตนะ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

(๘)
เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ธรรมทั้ง ๘๐ ดังพรรณามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ฯ







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์