เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
   ผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่กายแตกดับ ก่อนบรรลุอรหันต์ แล้วจะไปเกิดที่ไหน 1102
 
 
นิโรธสูตร

พระสารีบุตร กล่าวกะ ภิกษุ ท.ว่า ภิกษุในธรรมวินัย ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา พึงเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก สัญญาเวทยิต นิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

แต่ถ้าเธอยังบรรลอรหันต์ในปัจจุบัน (กายแตกดับเสียก่อน) ย่อมไปเกิดเป็นเทวดาที่มี กวฬิงการาหาร เป็นภักษา (เทวดากามภพที่บริโภคอาหารทิพย์) หรือเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ แต่พระอุทายีแย้งว่า
นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้น ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ แม้พระสารีบุตรจะ กล่าวถึง 3 ครั้ง อุทายีก็แย้งเช่นเดิม จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้ทรงตัดสิน....

พระผู้มีพระภาพตรัสถามอุทายี ซึ่งอุทายีกราบทูลว่า ข้าพระองค์หมายถึง
เหล่าเทพชั้นอรูป ที่สำเร็จด้วยสัญญา (ตั้งแต่ชั้นอากาสาขึ้นไป) เมื่ออุทายีตอบเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจ คำที่เธอควรพูด

อุทายี - ผู้ที่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้น อรูป
พระสารีบุตร - ผู้ที่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้น กามภพ
ที่มี กวฬิงการาหาร เป็นภักษา (เทวดากามภพที่บริโภคอาหารทิพย์)

---------------------------------------------------------------------------

ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์
1. เป็นผู้มีศีล ศึกษาอยู่ในสิกขาบท
2.เป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
3.เป็นผู้มีวาจาไพเราะ
4.ได้ฌาน ๔ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
5.ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๗๓ - ๑๗๕

๖. นิโรธสูตร



             [๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิต นิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่า เทพ ผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง (เข้าถึงเทวดากามภพ)

ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วง ความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพ ผู้มีฤทธิ์ ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญา เวทยิต นิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้น ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ (อุทายีแย้งพระสารรีบุตร)

แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓
......

ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคันค้านเราถึง ๓ ครั้ง และภิกษุบางรูป ก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา

พระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ทรงตัดสิน

ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้างพึงออก จากสัญญาเวทยิต นิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผล ในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึง เหล่าเทพ ผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า

ดูกรท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหาร เป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้

แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี ...

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้เฉพาะ พระภักตร์ แห่งพระผู้มีพระภาค และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่งเสีย ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า

ดูกรอุทายี ก็เธอย่อมหมายถึงเหล่าเทพ ผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายี ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่าเทพชั้นอรูป ที่สำเร็จด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจ คำที่เธอควรพูด

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจักวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความการุณจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาด ซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะ ที่จะมีได้

พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจาก อาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่าน พระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า

ดูกรท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อมเบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก ที่พักผ่อน ในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้นยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะท่าน อุปวาณะ โดยเฉพาะในเหตุนั้น

ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้าไปนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถามท่านพระอุปวาณะว่า

ดูกรอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ๑

เธอ เป็นพหุสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑

เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑

เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

เธอย่อม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ

     พ. ดีละๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อนพรหมจรรย์พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น อะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เถระ ฉะนั้นเพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ ฯ



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์