เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อุปกิเลส ๑๖ : ธรรม อันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต 883
(เนื้อหาพอสังเขป)

อุปกิเลส ๑๖ : ธรรม อันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต

1. อภิชฌาวิสมโลภะ ความเพ่งเล็งอยากได้ จ้องละโมบ มุ่งแต่จะเอาให้ได้
2. พยาบาท ความพยาบาท คิดหมายปองร้ายทำลายผู้อื่น ให้เสียหายหรือพินาศ
3. โกธะ ความโกรธ จิตใจมีอาการพลุ่งพล่านเดือดดาล เมื่อถูกทำให้ไม่พอใจ
4. อุปนาหะ ความผูกเจ็บใจ เก็บความโกรธไว้ ไม่ยอมลืม ไม่ยอมปล่อย
5. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณ ไม่รู้จักบุญคุณ ลำเลิกบุญคุณ หรือ คนอกตัญญู
6. ปลาสะ ความตีเสมอ เอาตัวเราเข้าไปเทียบกับคนอื่นทั้งๆที่ตนต่ำกว่าเขา
7. อิสสา ความริษยา กระวนกระวายทนไม่ได้เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
8. มัจฉริยะ ความตระหนี่หวงแหน แม้มีเรื่องจำเป็นต้องเสียสละแต่กลับไม่ยอม
9. มายา ความเจ้าเล่ห์ อำพรางความไม่ดีให้คนอื่นเข้าใจผิด เป็นคนมีเหลี่ยม
10. สาเถยยะ ความโอ้อวด คุยโม้โอ้อวดเกินความจริง
11. ถัมภะ ความหัวดื้อถือรั้น จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ
12. สารัมภะ ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดี ยื้อแย่งเอามา โดยปราศจากความยุติธรรม
13. มานะ ความถือตัว ทะนงตน ตรงกับคำว่า “เย่อหยิ่ง”
14. อติมานะ ความดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยามหรือดูถูก
15. มทะ ความมัวเมา ความหลงเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่ใช่สาระ
       15.1. เมาในชาติกำเนิด หรือฐานะตำแหน่ง
       15.2. เมาในวัย
       15.3. เมาในความแข็งแรงไม่มีโรค
       15.4. เมาในทรัพย์
16. ปมาทะ ความประมาทเลินเล่อ จมอยู่ในความประมาท ขาดสติกำกับ แยกดีชั่วไม่ออก


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๘- ๕๐


อุปกิเลส ๑๖

          [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหน เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง]
๒. พยาบาท [ปองร้ายเขา]
๓. โกธะ [โกรธ]
๔. อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้]
๕. มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน]
๖. ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า]
๗. อิสสา [ริษยา]
๘. มัจฉริยะ [ตระหนี่]
๙. มายา [มารยา]
๑๐. สาเฐยยะ [โอ้อวด]
๑๑. ถัมถะ [หัวดื้อ]
๑๒. สารัมภะ [แข่งดี]
๑๓. มานะ [ถือตัว]
๑๔. อติมานะ [ดูหมิ่นท่าน]
๑๕. มทะ [มัวเมา]
๑๖. ปมาทะ [เลินเล่อ] เหล่านี้เป็น ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.

          [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ละพยาบาท โกธะ อุปนาหะมักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละ อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะมานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมอง ของจิตเสีย.

          [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาทโกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะอติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต ด้วยประการ ฉะนี้แล้ว ก็ละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรม เครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้แล้ว

ในกาลนั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันแน่วแน่ ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน (แล)

เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์ สาวกของพระ ผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนั้น

เป็นผู้ควรรับ เครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำ อัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุ ที่ส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันภิกษุนั้นสละได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ ความรู้ แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระธรรม

เราเป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะส่วน แห่งกิเลส นั้นๆ อันเราสละ ได้แล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้วดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิด ปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น.

          [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญา อย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลี ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย.

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ ครั้นมาถึงน้ำอันใส ย่อมเป็นผ้า หมดจด สะอาด อีกอย่างหนึ่ง ทองคำครั้นมาถึงปากเบ้า ย่อมเป็นทองบริสุทธิ์ ผ่องใส ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉัน บิณฑบาต ข้าวสาลี ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาต ของ ภิกษุนั้น ก็ไม่มีเพื่ออันตรายเลย.

          [๙๗] ภิกษุนั้น มีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน มีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ ด้านขวางทั่วโลก ทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่ สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง

ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีต มีอยู่ ธรรม เป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้ มีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็น อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน



วิกิพีเดีย

อุปกิเลส


แปลว่า ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม
กล่าวโดยรวม ก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการคือ

1. อภิชฌาวิสมโลภะ ความเพ่งเล็งอยากได้ จ้องละโมบ มุ่งแต่จะเอาให้ได้
2. พยาบาท ความพยาบาท คิดหมายปองร้ายทำลายผู้อื่น ให้เสียหายหรือพินาศ
3. โกธะ ความโกรธ จิตใจมีอาการพลุ่งพล่านเดือดดาล เมื่อถูกทำให้ไม่พอใจ
4. อุปนาหะ ความผูกเจ็บใจ เก็บความโกรธไว้ ไม่ยอมลืม ไม่ยอมปล่อย
5. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณ ไม่รู้จักบุญคุณ ลำเลิกบุญคุณ หรือ คนอกตัญญู
6. ปลาสะ ความตีเสมอ เอาตัวเราเข้าไปเทียบกับคนอื่นทั้งๆที่ตนต่ำกว่าเขา
7. อิสสา ความริษยา กระวนกระวายทนไม่ได้เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
8. มัจฉริยะ ความตระหนี่หวงแหน แม้มีเรื่องจำเป็นต้องเสียสละแต่กลับไม่ยอม
9. มายา ความเจ้าเล่ห์ อำพรางความไม่ดีให้คนอื่นเข้าใจผิด เป็นคนมีเหลี่ยม
10. สาเถยยะ ความโอ้อวด คุยโม้โอ้อวดเกินความจริง
11. ถัมภะ ความหัวดื้อถือรั้น จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ
12. สารัมภะ ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดี ยื้อแย่งเอามา โดยปราศจากความยุติธรรม
13. มานะ ความถือตัว ทะนงตน ตรงกับคำว่า “เย่อหยิ่ง”
14. อติมานะ ความดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยามหรือดูถูก
15. มทะ ความมัวเมา ความหลงเพลิดเพลินในสิ่งที่ไม่ใช่สาระ ซึ่งมี 4 ประการ ได้แก่
      15.1. เมาในชาติกำเนิดหรือฐานะตำแหน่ง
      15.2. เมาในวัย
      15.3. เมาในความแข็งแรงไม่มีโรค และ
      15.4. เมาในทรัพย์
16. ปมาทะ ความประมาทเลินเล่อ จมอยู่ในความประมาท ขาดสติกำกับ แยกดีชั่วไม่ออก

อุปกิเลส ทั้ง 16 ประการนี้ แม้ประการใดประการหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจแล้ว ก็จะทำให้ใจสกปรก ไม่ผ่องใสทันที และจะส่งผลให้เจ้าของใจ หมดความสุขกาย สบายใจ เกิดความเร่าร้อน หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว เต้นไปตามจังหวะที่ อุปกิเลสนั้นๆ บงการให้เป็นไป

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์