เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก มรรค ๘ โลกธรรม ๘ มิจฉัตตะ๘ ปรารภความเพียร๘ 841
 

(เนื้อหาพอสังเขป)

ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก

มรรคมีองค์ ๘ (ควรทำให้เจริญ)
โลกธรรม ๘ (ควรกำหนดรู้)
มิจฉัตตะ ๘ (ควรละ)
ปรารภความเพียร ๘ (ควรทำให้แจ้ง)

 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๗๑

ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก


1) มรรคมีองค์ ๘ (ควรทำให้เจริญ)
      [๔๔๕] ธรรม ๘ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบเลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบตั้งใจชอบ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ

2) โลกธรรม ๘ (ควรกำหนดรู้)
      [๔๔๖] ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่โลกธรรม ๘ คือความได้ลาภ  ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ความได้ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้

3) มิจฉัตตะ ๘ (ควรละ)
      [๔๔๗] ธรรม ๘ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่ มิจฉัตตะ ๘ คือ ความเห็นผิด ความดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด ธรรม๘ อย่างเหล่านี้ควรละ

4) ปรารภความเพียร ๘ (ควรทำให้แจ้ง)
      [๔๔๘] ธรรม ๘ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน
    4.1) ได้แก่เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน ๘ อย่าง คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกระทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งที่เราควรกระทำ เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอนเสียไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๑

    4.2)
อีกข้อหนึ่ง การงานเป็นสิ่งอันภิกษุกระทำแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิด เราจะนอนเธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๒

    4.3) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้องเดินทางก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๓

    4.4) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทาง มาถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๔

    4.5 )อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะ อันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอ แก่ความต้องการกาย ของเรานั้น เหน็ดเหนื่อยแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๕

    4.6) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ อันเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะ อันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก เหมือนถั่วทองที่เขาหมักไว้ ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๖

    4.7) อีกข้อหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธ เล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสียไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๗

    4.8) อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน  เธอย่อม มีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน กายของเรานั้นยังมีกำลังน้อย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๘

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์