เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์ มี 36 อย่าง เนื่องด้วยเหย้าเรือน และ หลีกจากเหย้าเรือน 805
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์
ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง ดังนี้นั้น
ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ

ความโสมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง (เคหสิตโสมนัส)
ด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง (เนกขัมม-สิตโสมนัส)

ความโทมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง  (เคหสิตโทมนัส)
ด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง (เนกขัมม-สิตโทมนัส)

อุเบกขา
เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง (เคหสิต อุเบกขา)
ด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง. (เนกขัมม-สิต อุเบกขา)

ภิกษุ ท. ทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง ดังนี้นั้น




 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า 186

เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์

ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง ดังนี้นั้น ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ
ความโสมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง

ความโทมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง
ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง

อุเบกขา เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง
อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.


(โสมนัส)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัส เนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่งรูปอันน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลกในทางตา ว่าเป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ ก็ตาม หรือว่าเมื่อระลึกถึงรูปเช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อนซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่าความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส)

(ในกรณีที่เกี่ยวกับเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อีก๕อย่างก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่ารูปผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วย ปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้ แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.

ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมม-สิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.


(โทมนัส)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูปเช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิดความโทมนัสขึ้น.

ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วย เหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส)(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจาง-คลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วย ปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึงซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้” ดังนี้.

เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความโทมนัสขึ้น เพราะความ กระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการ หลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. !เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.


(อุเบกขา)
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง. อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของบุถุชน อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วย เหย้าเรือน. (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียว กับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
................................................................

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น.

อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.

ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น คำนั้น เรากล่าวอาศัยความข้อนี้แล.


  เวทนา คือทางไปแห่งจิตของสัตว์ ๓๖ อย่าง
    มิจฉาทิฐิ (ปุถุชน) สัมมาทิฐิ (อริยะ)
    เวทนา เนื่องด้วย
เหย้าเรือน
(เคหสิต)
เวทนา เนื่องด้วยการ
หลีกออกจากเหย้าเรือน
(เนกขัมม-สิต)
  อายตนะ 6 เคหสิตโสมนัส(สุข) เคหสิต
โทมนัส(ทุกข์)
เคหสิตอุเบกขา เนกขัมมสิต
โสมนัส
เนกขัมมสิต
โทมนัส
เนกขัมมสิต
อุเบกขา
1 รูป
2 เสียง
3 กลิ่น
4 รส
5 สัมผัส
6 ธรรมารมณ์
  รวม 6 6 6 6 6 6
    เวทนาด้วยเหย้าเรือน 18 เวทนา-หลีกออกเหย้าเรือน 18
    ทางไปแห่งจิตของสัตว์ (เวทนา 36 อย่าง)    36
    เคหสิต แปลว่า เหย้าเรือน.. เนกขัมม-สิต คือ ออกจากเหย้าเรือน  



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์