เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ
 ทรงทำลายความขลาด /ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้
756
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ทรงพยายามใน อธิเทวญาณทัศนะ เป็นขั้นๆ (ญาณขั้นสูงที่เข้าถึงชั้นเทวดา)
ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่น
ก่อนตรัสรู้.. จำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป(เทวดา)
จำแสงสว่างได้ - เห็นรูปได้ .... จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
จำแสงสว่างได้ - โต้ตอบร่วมกับเทวดา...จักเป็นญาณทัศนะ ที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
จำแสงสว่างได้ - รู้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆมาจากเทพนิกายไหน.. จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
จำแสงสว่างได้ - รู้ได้ด้วยว่าเทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วย
                       วิบากของกรรม อย่างนี้ๆแล้ว ..จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา.

ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก
เรารู้ว่า... เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆ
แต่ไม่รู้ได้ว่า...เทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ มีปรกติเสวยสุข และทุกข์อย่างนี้ อายุยืนเท่านี้ ตั้งอยู่ได้นาน เท่านี้ เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้ หรือไม่หนอ 

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมี ปริวัฏฏ์แปด อย่างของเราบริสุทธิ์ แล้ว เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เรา ว่าความหลุดพ้น ของเรา ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไป ดังนี้.


ทรงทำลายความขลาด
สมณะเหล่าใด มีกรรมทางกาย ไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะสงัด คือป่า และป่าเปลี่ยว ย่อมเรียกร้อง มาซึ่ง ความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่ บริสุทธิ์ เราเป็นอริยเจ้า องค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น.

ความคิดค้นได้มี แก่เราว่า
ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว ถ้าอย่างไร เราจะหัก ห้ามความ ขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้น ๆ มาสู่เรา.
  เมื่อเราจงกรมอยู่ เราก็ขืนจงกรมแก้ความขลาดนั้น โดย เราไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน.
  เมื่อเรายืนอยู่ เราก็ขืนยืนแก้ความขลาด นั้นโดย เราไม่จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอน.
  เมื่อเรานั่งอยู่ เราก็ขืน นั่งแก้ความขลาดนั่น โดย เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน.
  เมื่อเรานอนอยู่ เราก็ขืน นอนแก้ความขลาด นั้น. โดบ เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นั่งเลย
  (ฝืนตน อยู่ในอิริยาบถนั้น โดยไม่เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่น)


ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก
เราอบรมธรรมห้าอย่าง คือ อบรมอิทธิบาท อันประกอบด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย 1.ฉันทะ 2.วิริยะ 3.จิตตะ 4.วิมังสาเป็น ปธานกิจ 5. ความเพียรมีประมาณโดยยิ่ง

เราได้น้อมจิตไปเฉพาะ ต่อธรรมใดๆ ซึ่งควรทำให้แจ้ง โดยปัญญา อันยิ่ง ในธรรมนั้นๆ เราได้ถึงแล้ว ซึ่งความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่. เราพึงมีอิทธิวิธี มีประการต่างๆผู้เดียว แปลงรูปเป็น หลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้ง ให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝาทะลุกําแพง ... ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลําดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และแสดงอํานาจ ทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้

 
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า93


756-1

ทรงพยายามใน อธิเทวญาณทัศนะ เป็นขั้นๆ ก่อนตรัสรู้

 

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย.
          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท.(ทั้งหลาย) ได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะ ที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา.


          ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรมีตนส่งไปอยู่ ก็จำ แสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท.ได้ด้วย แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม ไม่ได้โต้ตอบ ร่วมกับเทวดา ทั้งหลายเหล่านั้นๆ.
          ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย ตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา ท.เหล่านั้นๆ ก็ได้ด้วย. ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะ ที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา.


          ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...โต้ ตอบกับเทวดา ท.เหล่านั้นๆได้ด้วย แต่ไม่รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพ นิกายไหนๆ
          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้น ก็ได้ด้วย  ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายนั้นๆ ด้วยแล้ว   ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นของเรา


          ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ มาจากเทพ นิกายนั้น ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้น ๆ ด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน.
          ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติ  ในโลกนั้นได้ด้วย วิบาก ของกรรมอย่างนี้ๆแล้ว ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ ยิ่งขึ้น ของเรา.

          ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ ก็...รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ ด้วยวิบากของกรรม อย่างนี้ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆมีปรกติเสวยสุข และทุกข์ อย่างนี้ๆ... เทวดาเหล่านี้ๆ มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นาน เท่านี้ๆ ...เราเองเคยอยู่ร่วม กับเทวดา ท. เหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ.  

          ภิกษุ ท. ! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่  ก็...รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท.เหล่านี้ๆ หรือไม่ แล้ว.

          ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาเพียงไร ที่ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมี ปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อม ทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

          ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมี ปริวัฏฏ์แปด อย่างของเรา บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าตรัสรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

          ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เรา ว่าความหลุดพ้น ของเรา ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก ต่อไป ดังนี้.



พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า95


756-2

ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้

 

         พราหมณ์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ อยู่ มีความรู้สึกว่า เสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว เป็นเสนาสนะยากที่จะเสพได้ ความสงัดยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเป็น ประหนึ่งว่า นำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ.

          พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีกรรมทางกาย ไม่บริสุทธิ์   เสพเสนาสนะสงัดคือป่า และป่าเปลี่ยวอยู่ เพราะโทษคือกรรมทางกาย อันไม่ บริสุทธิ์ของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล.

          ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์ แล้วเสพเสนาสนะสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์. ในบรรดาพระอริยเจ้า ทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์  และเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยว  เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น.

          พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ในตนอยู่ จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.

          พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด  มี วจีกรรม ไม่บริสุทธิ์....      มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์, ....มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์, ....มีอภิชฌามาก มีความกำหนัด    แก่กล้าในกามทั้งหลาย, ....มีจิตพยาบาทมีดำริชั่วในใจ, ....มีถีนมิทธะกลุ้มรุมจิต,  .... มีจิตฟุ้ง ขึ้นไม่สงบ, ....มีความระแวง  มีความสงสัย, ....เป็นผู้ยกตนข่มท่าน,     .... เป็นผู้มักหวาดเสียว  มีชาติแห่งคนขลาด, ....มีความปรารถนาเต็มที่ในลาภสักการะ และ สรรเสริญ, ...เป็นคนเกียจคร้าน  มีความเพียรเลวทราม, ...เป็นผู้ละสติปราศจาก สัมปชัญญะ, ...มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด, ...มีปัญญาเสื่อม ทราม เป็นคนพูดบ้า น้ำลาย, .(อย่างหนึ่งๆ) ...เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่ เพราะโทษ (อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมา ซึ่ง ความขลาด และความกลัวอย่างอกุศล.

          ส่วนเราเองหา ได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (เป็นต้น) ไม่ เราเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (และปราศจากโทษ เหล่านั้น ทุกอย่าง). ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และ เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่ง ในพระอริยเจ้า เหล่านั้น.

          พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) ในตนอยู่ จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้ว แลอยู่ในป่าได้.

          พราหมณ์ ! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่า ถ้ากระไรในราตรีอันกำหนด ได้แล้วว่า เป็นวัน ๑๔ ๑๕ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์ สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าอันถือ กันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหล่าใด เป็นที่น่าพึงกลัวเป็นที่ชูชันแห่ง โลมชาติ(ขน) เราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิด บางทีเราอาจเห็นตัวความขลาด และ ความกลัวได้.

          พราหมณ์ ! เราได้อยู่ในเสนาสนะ เช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแล้ว.

         พราหมณ์ ! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น สัตว์ป่าแอบเข้ามา หรือว่านกยูงทำ กิ่งไม้แห้งให้ตกลงมา หรือว่าลมพัดหยากเยื่อใบไม้ให้ตกลงมา ความตกใจกลัว ได้เกิดแก่เราว่า นั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเป็นแน่. ความคิดค้นได้มี แก่เราว่า ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว ถ้าอย่างไร เราจะหัก ห้ามความ ขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้น ๆ มาสู่เรา.

          พราหมณ์ ! เมื่อเราจงกรมอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนจงกรมแก้ความ ขลาดนั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน.

เมื่อเรายืนอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืนยืนแก้ความขลาด นั้น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่นั่ง ไม่นอน.

เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน นั่งแก้ความขลาด นั่น ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน.

พราหมณ์ ! เมื่อเรานอนอยู่ ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืน นอนแก้ความขลาด นั้น. ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นั่งเลย


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า97


756-3

ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้

 

         ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้อบรมทําให้มากแล้วซึ่งธรรมห้าอย่าง.

          ธรรมห้าอย่างอะไรบ้าง? ธรรมห้าอย่างคือ เราได้อบรมอิทธิบาท อันประกอบ พร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ...วิริยะ...จิตตะ... วิมังสาเป็น ปธานกิจ และความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า.

          ภิกษุ ท.! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรม มีความเพียร มีประมาณ โดยยิ่งเป็นที่ห้า เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใดๆ ซึ่งควรทำให้แจ้ง โดยปัญญา อันยิ่ง เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วในธรรมนั้นๆ เราได้ถึงแล้วซึ่ง ความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

          ภิกษุ ท.! ถ้าเราหวังว่า เราพึงมีอิทธิวิธีมีประการต่างๆผู้เดียว แปลงรูปเป็น หลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทําที่กําบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้ง ให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝาทะลุกําแพง ทะลุภูเขา ดุจไปใน อากาศว่างๆ ผุดขึ้นและ ดําลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบน แผ่นดิน ไปได้ใน อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลําดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอํานาจทางกาย เป็นไปตลอดถึง พรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม ในอิทธิวิธีนั้น ๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความ สามารถทําได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

          ภิกษุ ท. ! หรือถ้าเราหวังว่า เราพึงทําให้แจ้งซึ่ง...ฯลฯ...เจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมดอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม นี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้ก็ตาม. ในวิชชานั้น ๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทําได้ จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่

 


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์