เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อาเนญช (อาเนญชสมาธิ อาเนญชสมาบัติ อาเนญชาภิสังขาร อาเนญชสัญญา) 716
 
เนื้อหาพอสังเขป)




 
 


อาเนญช

(อาเนญชสมาธิ อาเนญชสมาบัติ อาเนญชาภิสังขาร อาเนญชสัญญา)
รวบรวมจากพระไตรปิฏกสยามรัฐ คัดเฉพาะ พุทธวจน


เรื่องช้างลงน้ำ

            [๒๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้า อาเนญชสมาธิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดัง ดุจนกกระเรียน

            ภิกษุทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนท่าน พระมหาโมคคัลลานะ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า

          ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเข้า อาเนญชสมาธิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกา ณ ตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดัง ดุจนกกระเรียน ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินั้นมีอยู่ แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง โมคคัลลานะ ไม่ต้องอาบัติ.

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๔๓๖)



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๙


สุนักขัตตสูตร 


          [๗๑]  ดูกรสุนักขัตตะ  ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้  พึงเป็นผู้น้อม  ใจไปใน โลกามิส นั่น เป็นฐานะที่มีได้แล  ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่อง ที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น  ย่อมตรึก  ย่อมตรองธรรมอันควรแก่  โลกามิส  คบแต่คนชนิดเดียวกัน  และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น 

          แต่เมื่อมีใคร  พูดเรื่องเกี่ยวกับ อาเนญชสมาบัติ  ย่อมไม่สนใจฟัง  ไม่เงี่ยโสต สดับ  ไม่ตั้งจิตรับรู้ไม่คบคนชนิดนั้น  และไม่ถึงความใฝ่ใจ กับคนชนิดนั้น  เปรียบเหมือนคน ที่จากบ้านหรือนิคมของตนไปนาน  พบบุรุษคนใดคนหนึ่ง ผู้จากบ้านหรือนิคมนั้น ไปใหม่ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้าน หรือนิคมนั้นมีความ เกษม  ทำมาหากินดี  และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้าน หรือนิคมนั้น มีความเกษม  ทำมาหากินดี  และมีโรคภัย ไข้เจ็บน้อยแก่เขา 

          ดูกรสุนักขัตตะ  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  เขาจะพึงสนใจ ฟังบุรุษนั้นเงี่ยโสตสดับ  ตั้งจิตรับรู้  คบบุรุษนั้น และ ถึงความใฝ่ใจกับบุรุษนั้น บ้างไหมหนอ  ฯ

          สุ.  แน่นอน  พระพุทธเจ้าข้า 

          พ.  ดูกรสุนักขัตตะ  ฉันนั้นเหมือนกันแล  ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้  พึงเป็น ผู้น้อมใจไปในโลกามิส  นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล  ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน โลกามิส  ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น  ย่อมตรึก  ย่อมตรองธรรมอันควร แก่โลกามิส  คบแต่คนชนิดเดียวกัน  และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น

          แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับ อาเนญชสมาบัติ  ย่อมไม่สนใจฟัง  ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้  ไม่คบคนชนิดนั้น  และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น  บุคคล ที่เป็นอย่างนี้นั้น  พึงทราบเถิดว่า  เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส 

          [๗๒]  ดูกรสุนักขัตตะ  ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้  พึงเป็นผู้น้อม  ใจไปใน อาเนญชสมาบัติ  นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล  ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน อาเนญชสมาบัติ  ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่ อาเนญชสมาบัติ เท่านั้น  ย่อมตรึก  ย่อมตรองธรรมอันควรแก่ อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน  และถึงความใฝ่ใจ กับคนเช่นนั้น 

          แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง  ไม่เงี่ยโสตสดับ  ไม่ตั้งจิตรับรู้  ไม่คบคนชนิดนั้น  และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือน ใบไม้เหลือง  หลุดจากขั้วแล้ว  ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้  ฉันใดดูกรสุนักขัตตะ 

          ฉันนั้นเหมือนกันแล  เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิส ของปุริสบุคคลผู้น้อมใจ ไปใน อาเนญชสมาบัติ หลุดไปแล้ว  บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น  พึงทราบเถิดว่า  เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน อาเนญชสมาบัติ  พรากแล้ว จากความเกี่ยวข้อง ในโลกามิส 

            [๗๓]  ดูกรสุนักขัตตะ  ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้  พึงเป็นผู้น้อม  ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ  นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล  ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน อากิญจัญญายตนสมาบัติ  ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่ อากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น  ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่ อากิญจัญญายตนสมาบัติ  คบแต่คนชนิดเดียวกัน  และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับ อาเนญชสมาบัติ  ย่อมไม่สนใจฟัง  ไม่เงี่ยโสตสดับ  ไม่ตั้งจิตรับรู้ไม่คบคน ชนิดนั้น  และไม่ถึงความ ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น  เปรียบเหมือนศิลาก้อน  แตกออกเป็น  ๒  ซีกแล้ว  ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้  ฉันใด 

          ดูกรสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล  เมื่อความเกี่ยวข้องใน อาเนญชสมาบัติ ของปุริสบุคคล ผู้น้อมใจไปใน อากิญจัญญายตนสมาบัติ แตกไปแล้ว  บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น  พึงทราบเถิดว่า  เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจ ไปใน อากิญจัญญายตนสมาบัติ  พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องใน อาเนญชสมาบัติ 

          [๗๔]  ดูกรสุนักขัตตะ  ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้  พึงเป็นผู้น้อม ใจไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล  ปุริสบุคคล ผู้น้อมใจไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ  ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่ เนวสัญญานาสัญญายตน สมาบัติ  ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่เนวสัญญา นาสัญญายตนสมาบัติ  คบแต่คนเช่นเดียวกัน และถึงความใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น 

          แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับ อากิญจัญญายตนสมาบัติ  ย่อมไม่สนใจฟัง  ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้  ไม่คบคนชนิดนั้น  และไม่ถึงความใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกใจอิ่มหนำแล้ว พึงทิ้งเสีย 

          ดูกรสุนักขัตตะ  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  เขาจะพึงมีความปรารถนา ใน ภัตนั้นบ้างไหมหนอ 
          สุ.  ข้อนี้หามิได้เลย  พระพุทธเจ้าข้า 

          พ.  นั่นเพราะเหตุไร 
          สุ.  เพราะว่าภัตโน้น  ตนเองรู้สึกว่า  เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว 

          พ.  ดูกรสุนักขัตตะ  ฉันนั้นเหมือนกันแล  เมื่อความเกี่ยวข้องในอากิญ จัญญายตน สมาบัติ  อันปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คายได้แล้ว  บุคคลที่เป็น อย่างนี้ นั้น  พึงทราบเถิดว่า  เป็นปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปใน เนวสัญญานา สัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องใน อากิญจัญญายตน สมาบัติ

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๙)



มหาสุญญตสูตร  (๑๒๒) หน้า ๑๘๕

…………………………

          ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ  เมื่อเธอกำลังใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส  ยังไม่ตั้งมั่น  ยังไม่นึกน้อมไปใน อาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น  ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เมื่อเรากำลังใส่ใจ อาเนญชสมาบัติ  จิตยังไม่แล่นไป  ยังไม่เลื่อมใส  ยังไม่ตั้งมั่นยังไม่นึกน้อมไปใน อาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล  ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง อาเนญชสมาบัติ นั้นได้ 

          ดูกรอานนท์  ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน  ให้จิตภายในสงบ  ทำจิตภายใน ให้เป็น ธรรมเอก ผุดขึ้น  ตั้งจิตภายในให้มั่น  ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล  เธอย่อมใส่ใจ ความว่างภายใน  เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน  จิตย่อมแล่นไป  เลื่อมใส  ตั้งมั่น  นึกน้อมไป ในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น 

          ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า  เมื่อเรากำลังใส่ใจ ความว่างภายใน  จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส  ตั้งมั่น  นึกน้อม  ไปในความว่างภายใน 

          ด้วยอาการนี้แล  ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ 
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก  ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก  ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ 

          เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติจิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส  ตั้งมั่น  นึกน้อมไปใน อาเนญชสมาบัติ  เมื่อเป็นเช่นนั้น 

          ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าเมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ  จิตย่อมแล่นไป  เลื่อมใส  ตั้งมั่น  นึกน้อมไปใน อาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล  ย่อมเป็นอันเธอ รู้สึกตัว ในเรื่อง อาเนญชสมาบัติ นั้นได้ 

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๗)



ยโสชสูตร (หน้า ๗๗)

…………………………

          [๗๕] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิอันไม่หวั่นไหว ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้วยวิหารธรรม ไหนหนอ ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริอีกว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้วย อาเนญชวิหารธรรม ภิกษุทั้งหมดนั้นแลนั่งอยู่ด้วย อาเนญชสมาธิ

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้า ๗๙)



อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ (หน้า ๓๘๒)
ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว

…………………………

          [๘๗๔] คำว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี ความว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร (นิสังขิติ). ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขาร ก็ดี อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็ไม่มีไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ เป็นสภาพ อันบุคคลนั้น ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไป คือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิสังขารอะไรๆ ย่อมไม่มี.

           [๘๗๕] คำว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ความว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร (วิยารัมภะ). ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันบุคคลนั้นละ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้ง ดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

          ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร.

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก หน้า หน้า ๔๒๓)



อาเนญชสัปปายสูตร  (๑๐๖)


…………………………

          [๘๓]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกพิจารณาเห็น  ดังนี้ ซึ่งกาม ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีใน ภพหน้า  ซึ่งรูปบางชนิดและรูปทั้งหมด  คือ  มหาภูต  ๔  และรูปอาศัย มหาภูต  ทั้ง  ๔  เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้  เป็นผู้มากด้วยปฏิปทา  นั้นอยู่  จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ 


          เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ ในปัจจุบัน  เมื่อตายไป  ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไป  ในภพนั้นๆ  พึงเป็นวิญญาณ เข้าถึงสภาพ หาความหวั่นไหวมิได้  นั่นเป็นฐานะที่  มิได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี้เราเรียกว่า  ปฏิปทามี อาเนญชสมาบัติ เป็นที่สบายข้อที่  ๒ 
…………………………

          [๘๘]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า  กามทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และกามสัญญา  ทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพนี้  รูปทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้  ทั้งที่มีในภพหน้า  และ อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้  ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ใด  ที่นั่นคือเนวสัญญานาสัญญายตนะอันดีประณีต 

คลิก ดูพระสูตรเต็ม

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้า ๕๗)



๓. ยโสชสูตร

…………………………

          ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้น แล้วตรัสกะท่าน พระอานนท์ ว่า ดูกรอานนท์ ถ้าว่าเธอพึงรู้ไซร้ ความแจ่มแจ้ง แม้มีประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงปรากฏแก่เธอ ดูกรอานนท์ เราและภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ทั้งหมด นั่งแล้วด้วย อาเนญชสมาธิ

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า ภิกษุใดชนะหนาม คือ กาม ชนะการด่า การฆ่า และการจองจำได้ แล้ว ภิกษุนั้น มั่นคงไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ในเพราะสุขและทุกข์


คลิก ดูพระสูตรเต็ม

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๗)

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์