เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  การเจริญเมตตา (การแผ่เมตตา) แบบพระพุทธเจ้า 659
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

การเจริญเมตตา
การแผ่เมตตาจิต ไปสู่ทิศที่ 1 ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 จิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทุกทิศทั้ง เบื้องบน เบื้องล่าง .. กระทำให้มากซึ่งเมตตาวิมุตตติ กรุณา มุทิตา อุเบกขา จนเกิดปิติ เกิดปราโมทย์ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ ... เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมได้ยินได้ทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ.. กรุณาเจโตวิมุตติ.. มุทิตา.. อุเบกขา..) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ ก็ไม่ยากฉันนั้น

พึงทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
๑) หลับเป็นสุข
๒) ตื่นเป็นสุข
๓) ไม่ฝันร้าย
๔) เป็นที่รักของพวกมนุษย์
๕) เป็นที่รักของพวกอมนุษย์
๖) เทพยดารักษา
๗) ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น
๘) จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว
๙) สีหน้าผุดผ่อง
๑๐) ไม่หลงทำกาละ
๑๑) เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก.

 
 



การเจริญเมตตา (หรือการแผ่เมตตา) ตามแบบพระพุทธเจ้า

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรง อยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่ง เมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ, มุทิตา เจโตวิมุตติ, อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว,เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วย ปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิ

เธอมีจิตประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย เมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้ง เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วย กรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากัน ตลอด โลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วย มุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วยมุทิตา อัน กว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

มีจิตประกอบด้วย อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตประกอบด้วย อุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไป ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวง ที่มีอยู่

สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด

เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันดียิ่งเปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ (กรุณาเจโตวิมุตติ..., มุทิตาเจโตวิมุตติ..., อุเบกขาเจโตวิมุตติ...,) ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัดย่อมไม่มี เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้ อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้นเธอจักเดินไปในทางใดๆ ก็จักเดิน เป็นสุขในทางนั้นๆยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่ง เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อัน บุคคลเสพมาแต่แรกทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ที่เทียม ดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว

พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ

๑) หลับเป็นสุข
๒) ตื่นเป็นสุข
๓) ไม่ฝันร้าย
๔) เป็นที่รักของพวกมนุษย์
๕) เป็นที่รักของพวกอมนุษย์
๖) เทพยดารักษา
๗) ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น
๘) จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว
๙) สีหน้าผุดผ่อง
๑๐) ไม่หลงทำกาละ
๑๑) เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก.

เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพมาแต่แรก ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอ ดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่างนี้แล.

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๓๐๘/๑๖๐.,
-บาลี มู. ม. ๑๒/๕๑๘/๔๘๒.,
-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๖/๒๒๒.,
-บาลี สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์