เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 วิภาคแห่งปัญจุปาทานขันธ์ .. จำแนกขันธ์ 5 โดยละเอียด 639
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ขันธ์ ๕ (ปัญจุปาทานักขันธ์)
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ... 
ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. 
ภิกษุ ท. ! ขันธ์ที่ยังมีอุปาทานห้าขันธ์เหล่านี้ เรียกว่าปัญจุปาทานักขันธ์ แล.

อุปาทานมี ๔ สี่อย่าง คือ
๑. กามุปาทานความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐุปาทานความถือมั่นในทิฎฐิ
๓. สีลัพพตุปาทานความถือมั่นในศีลพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นในวาทะว่าตน.

อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ ..
๑. รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน 
๒. เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน  
๓. สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน
๔. สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน  
๕. วิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน


รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์ คือ ฉันทะ (ความพอใจ) 

อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ มิใช่อันเดียวกัน..
ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวขันธ์๕ แต่อุปาทานนั้นก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ขันธ์๕
เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ใน ขันธ์ ๕ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทาน ในที่นี้แล.

สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร ? และ ตัวอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 
ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น 
นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น .. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน

สักกายะ. ภิกษุ ท. ! สักกายะเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! คำตอบคืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
๑.รูปขันธ์
ที่ยังมีอุปาทาน  
๒.เวทนาขันธ์
ที่ยังมีอุปาทาน  
๓.สัญญาขันธ์
ที่ยังมีอุปาทาน  
๔.สังขารขันธ์
ที่ยังมีอุปาทาน
๕.วิญญาณขันธ์
ที่ยังมีอุปาทาน

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า208

วิภาคแห่งปัญจุปาทานขันธ์
 

ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! เวทนาชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! สัญญาชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลายชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะเป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! ขันธ์ที่ยังมีอุปาทานห้าขันธ์เหล่านี้ เรียกว่าปัญจุปาทานักขันธ์แล.

...........................................................................................................................................

อุปาทานสี่
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า210

ภิกษุ ท. ! อุปาทานมี อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่ อย่างคือ :-
     ๑. กามุปาทานความถือมั่นในกาม
     ๒. ทิฏฐุปาทานความถือมั่นในทิฎฐิ
     ๓. สีลัพพตุปาทานความถือมั่นในศีลพรต
     ๔. อัตตวาทุปาทานความถือมั่นในวาทะว่าตน.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง.

...........................................................................................................................................

รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์ 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า212

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อุปาทานขันธ์มีแต่เพียงห้าอย่าง คือรูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ เหล่านี้เท่านั้นหรือ?

ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ 
     รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้เท่านั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้มีอะไรเป็นรากเง่าเล่าพระเจ้าข้า?”

ภิกษุ! อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นรากเง่า แล.

...........................................................................................................................................

อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ มิใช่อันเดียวกัน

อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า212

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานนั้นเองหรือชื่อว่า ปัญจุปาทานขันธ์ เหล่านั้น  หรือว่าอุปทานเป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเล่า? พระเจ้าข้า ! ”

ภิกษุ ! ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวปัญจุปาทานขันธ์ แต่อุปาทานนั้นก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทานในที่นี้แล.

...........................................................................................................................................

อุปาทาน และ ที่ตั้งแห่งอุปาทาน
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า212

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม) และ ตัวอุปาทาน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท. ! 
สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทา
เป็นอย่างไร ? และ
ตัวอุปาทาน
เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน 
ฉันทราคะ
(ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น 
นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น 

ภิกษุ ท. ! เวทนาเป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น 
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น 

ภิกษุ ท. ! สัญญาเป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น 
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสัญญานั้น 

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น 
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น

ภิกษุ ท. ! วิญญาณเป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น 
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญาณนั้น

ภิกษุ ท. ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล

...........................................................................................................................................

เบญจขันธ์ได้นามว่า สักกายะ และ สักกายันตะ
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า214

ภิกษุ ท. ! สักกายะเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! คำตอบคืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ 
     รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุ ท. ! สักกายันตะเป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! คำตอบ คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ 
     รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑ 
     และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายันตะ แล. 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์