เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พระพุทธเจ้าหายตัวไปพบเทวดาชั้นพรหม ทำให้ทราบเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในอดีต 607
 
 
การเสด็จสุทธาวาส 

พระศาสดาหายตัวไปพบกับเทวดาชั้นสุทธาวาส ซึ่งเป็นชั้นที่พระองค์ไม่เคยมาเกิด (แม้อดีตชาติ) จึงเสด็จไปปรากฎที่ชั้น อวิหา (ชั้นต่ำสุดของสุทธาวาส) เหล่าเทวดาชั้นนี้ได้เล่าเรื่องพระพุทธเจ้า ในอดีต ว่าชื่ออะไร โคตร ปัญญา วิมุตติ ให้พระพุทธเจ้าฟัง จากนั้นเทวดาชั้น อวิหา ได้พากันไปยังชั้นที่สูงกว่าคือ อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี จนถึงชั้นสูงสุดคือ อกนิฏฐา
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 383-384

(อ่านฉบับหลวง ในเรื่องนี้)

การเสด็จสุทธาวาส 


            ภิกษุ ท.! ในกาลครั้งหนึ่ง เราพักอยู่ ณ ควงพญาไม้สาละ ปุาสุภวันในเขต อุกกัฎฐนคร เมื่อเราเร้นอยู่ ณ ที่นั้น ได้เกิดความคิดขึ้นในใจว่าภพเป็นที่กําเนิดที่ เรา ไม่เคยกําเนิดนั้น ไม่หาได้ง่ายๆเลย นอกจากชั้นสุทธาวาสประเภทเดียว ถ้ากระไร
เราพึงไปหาพวกเทพชั้น สุทธาวาส เถิด

ลําดับนั้นเราได้ออกจากควงพญาไม้ สาละ ปุาสุภวัน ในเขตอุกกัฎฐนคร ไปปรากฏอยู่ ในหมู่ เทวดาชั้นอวิหา รวดเร็วเท่าเวลาที่บุรุษแข็งแรง เหยียดแขนออกแล้วงอเข้า เท่านั้น

ภิกษุ ท.! หมู่เทวดานับร้อยนับพันเป็นอันมาก ในเทพนิกายนั้นได้เข้ามาหาเรา ครั้นไหว้แล้ว ยืนอยู่ที่ควร (พวกเทพชาวสุทธาวาสชั้นนั้น ได้ทูลเล่าเรื่อง การบังเกิดขึ้น ในโลกของบรรดาพระพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ว่า มีชาติ ชื่อ โคตร ศีล ธรรมปัญญา วิหาร ธรรม และวิมุตติ เป็นต้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเล่าถึงความที่ตนเอง ได้เคยประพฤติ พรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้า องค์นั้นๆ จึงได้มีการคลายความพอใจใน กามทั้งหลาย ได้มาบังเกิดใน พรหมวิมานนั้น ๆ)
  
ภิกษุ ท.! ลําดับนั้น เราพร้อมด้วยเทวดาชั้น อวิหา ได้พากันไปยัง สุทธาวาส ชั้น อตัปปา เราพร้อมด้วยเทวดาทั้งสองชั้น ได้พากันไปยังสุทธาวาสชั้น สุทัสสา เราพร้อมด้วยเทวดา ทั้งสามชั้นนั้นได้พากันไปยัง สุทธาวาส ชั้น สุทัสสี และรวมพร้อมกันทั้งหมด ไปยัง สุทธาวาส ชั้นสุด คือ อกนิฏฐา แล้ว 

(เทพเหล่านั้นได้กล่าวเล่า ข้อความกราบทูลพระองค์ ถึงเรื่องพระพุทธเจ้าบรรดา ที่ล่วงไปแล้ว และเล่าถึงการประพฤติพรหมจรรย์ของตน ในชาติที่พบพระพุทธเจ้านั้น ทํานองเดียวกัน ทุกชั้น) 
ผังเทวดาชั้นพรหม



อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 384-386

การเสด็จไปทรมานพกพรหม ผู้กระด้างด้วยลัทธิ 

ภิกษุ ท.! ในกาลครั้งหนึ่ง เราพักอยู่ ณ ควงพญาไม้สาละ ปุาสุภควันในเขต อุกกัฎฐนคร

ภิกษุ ท.! สมัยนั้นพวกพรหม มีทิฎฐิอันชั่วร้าย อย่างนี้ว่า"พรหม สภาวะเช่นนี้ เป็นของ เที่ยง ยั่งยืนมีอยู่เสมอ เป็นของอย่างเดียวตลอดกาล มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
เพราะว่า พรหมสภาวะเช่นนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ ก็แหละไม่มี สภาวะอื่น ที่เป็นนิสสรณะเครื่องออกไปจากทุกข์ ยิ่งไปกว่าพรหมสภาวะนี้"
ดังนี้

ภิกษุ ท.! ครั้งนั้นแล เรารู้ปริวิตกของพกพรหมในใจด้วยใจ แล้วละจากควง แห่งพญา ไม้สาละ ไปปรากฏตัวในพรหมโลกนั้น ชั่วเวลาสักว่าบุรุษแข็งแรงเหยียดแขน หรือ คู้แขนเท่านั้น

ภิกษุ ท. ! พกพรหมได้เห็นเราผู้มาอยู่จากที่ไกล แล้วได้กล่าวกะเราว่า

"ท่านผู้นิรทุกข์ ! เข้ามาเถิด ท่านผู้นิรทุกข์ ! ท่านมาดีแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ! ต่อนาน ๆ ท่านจึงจะมาถึงที่นี้.

ท่านผู้นิรทุกข์ พรหมสภาวะนี้ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน มีอยู่เสมอ เป็นของอย่างเดียว ตลอดกาล มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา เพราะว่าพรหม สภาวะนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ ก็แหละไม่มีสภาวะอื่นที่เป็น นิสสรณะเครื่อง ออกไปจากทุกข์ ยิ่งไปกว่าพรหมสภาวะนี้" ดังนี้  

ภิกษุ ท.! เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกะเขาว่า "พกพรหมผู้เจริญไปสู่ อวิชชา เสียแล้วหนอ ! พกพรหมผู้เจริญไปสู่อวิชชาเสียแล้วหนอ! คือข้อที่ ท่านกล่าว สิ่งที่ไม่เที่ยงเลย ว่าเป็นของเที่ยง, กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเลย ว่ายั่งยืน, กล่าวสิ่งที่ไม่มี อยู่เสมอ ว่าเป็นของมีอยู่เสมอ, กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นของอย่างเดียว ตลอดกาลว่าเป็นของ อย่างเดียวตลอดกาล, กล่าวสิ่งมีความเคลื่อนเป็นธรรมดา ว่าเป็นสิ่งทีไม่มีความ เคลื่อนเป็นธรรมดา; และข้อที่กล่าวสิ่งที่เกิด ที่แก่ ที่ตาย ที่เคลื่อน ที่อุบัติ ว่าเป็นสิ่งที่ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่เคลื่อน ไม่อุบัติ; และกล่าว นิสสรณะอัน ยิ่งอื่นที่มีอยู่ ว่าไม่มีนิสสรณะอื่นที่ยิ่งกว่า" ดังนี้

ดูพระสูตรเต็ม(P608) พรหมนิมันตนิกสูตร ทิฏฐิอันลามกของพรหม (มารขุ่พระพุทธเจ้า)

หมายเหตุ : ข้อความตอนต่อไปจากข้างบนนี้ ยังมีอีกยืดยาว กล่าวถึงมารมาช่วย พวก พรหมโต้กับพระองค์ ทั้งขู่ทั้งล่อ เพื่อให้พระองค์ ทรงยอมตามพวกพรหม. แม้พกพรหม ก็ยังยืนและอธิบายลัทธินั้นด้วย อุปมาที่น่าคล้อยตาม.

ทรงแก้คําของ พรหมด้วยอาการต่างๆ เช่นว่าพกพรหมยังไม่รู้จักพรหม ที่เหนือขึ้นไป จากตน เช่น พรหมพวกอาภัสสระ-สุภกิณหะ-เวหัปผละ

และทรงแสดงข้อที่พระองค์ไม่ทรงยึดถือดิน น้ํา ลม ไฟ เป็นต้น. 
ในที่สุด มีการท้า ให้มี การเล่นซ่อนหากัน และทรงชนะ แล้วตรัสคาถาที่เป็นหัวใจแห่งพุทธศาสนา ที่เหนือ กว่าพรหมโดยประการทั้งปวง กล่าวคือความรู้สึกที่อยู่เหนือภพ และ วิภพ ซึ่งพุทธบริษัท ทุกคนควรสนใจอย่างยิ่ง. พวกพรหมยอมแพ้ มารก็ยอมรับ แต่ก็ยังแค่น ของ ร้องอย่าให้ พระองค์ทรงสอนลัทธิของพระองค์เลย ตรัสตอบมารว่า นั่นมันไม่เป็น ความเกื้อกูล แก่สัตว์โลก สัมมาสัมพุทธะที่มารอ้างมานั้น เป็นสัมมาสัมพุทธะเก๊. 

ข้อความที่เป็นรายละเอียด พึงดูได้จากพรหมนิมันตนิกสูตร มู.ม. เล่ม ๑๒ ตั้งแต่หน้า ๕๙๑ เป็นต้นไป หรือตั้งแต่บรรพ ๕๕๓ เป็นต้นไปจนจบสูตร. 

บาลีพระสูตรนี้สําคัญมาก ได้กล่าวถึงหัวใจของพุทธศาสนา ในรูปปุคคลาธิษฐาน  ถึงกับ สมมติให้เป็นการโต้กันระหว่างลัทธิที่มีอาตมัน กับไม่มีอาตมัน  ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง.  ---ผู้รวบรวม

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์