เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อิฎฐสูตร อายุ วรรณะ สุขะ ยศ สวรรค์ ไม่ได้เกิดจากการอ้อนวอน 378  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ปราถนาอยากจะได้สิ่งใด
ก็ต้องปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้สิ่งนั้นๆ
ไม่ใช่การสวดอ้อนวอนหรือขอพรจากใคร


 
 
 

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๒ - ๔๓ ข้อที่ ๔๓

๓. อิฎฐสูตร

       
   "...ดูก่อน คฤหบดี ถ้าอายุ
          วรรณะ สุขะ
          ยศ สวรรค์
          จักมีได้เพราะ
          เหตุแห่งการอ้อนวอน
          หรือเพราะเหตุแห่ง
          ความปราถนาแล้วไซร์
          ในโลกนี้ ใครเล่า
          จะพึงเสื่อมจากอะไรได้

          [๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส กับ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยาก ในโลก ๕ ประการเป็นไฉน คืออายุ ๑ วรรณะ ๑ สุขะ ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑

ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยาก ในโลก ฯ ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก เรามิได้กล่าวว่า จะพึงได้ เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา

ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก จักได้ เพราะเหตุ แห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อม จากอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอน หรือเพลิดเพลินอายุ หรือแม้ เพราะ เหตุแห่งอายุ อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทา อันเป็นไปเพื่ออายุที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือแม้เพราะเหตุ แห่ง วรรณะ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอัน เป็นไปเพื่อวรรณะ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ วรรณะ อริยสาวกนั้น ย่อมได้วรรณะที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข อริยสาวก ผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไป เพื่อสุข ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุข ที่เป็น ของ ทิพย์หรือของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือแม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไป เพื่อยศ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้น ย่อมได้ยศ ที่เป็นของ ทิพย์ หรือของมนุษย

อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้เพราะเหตุ แห่งสวรรค์อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะ ปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ สวรรค์ อริยสาวกนั้น ย่อมได้สวรรค์ ฯ

ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูงและความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ความไม่ประมาท ในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุ ถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น ฯ

จบสูตรที่ ๓

สรุป
ปราถนาอยากจะได้สิ่งใด ก็ต้องปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้สิ่งนั้นๆ ไม่ใช่การสวดอ้อนวอนหรือขอพรจากใคร

 

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์