เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในสัมปรายะ (ภพหน้า) 355  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ให้ถึงพร้อมด้วย (1) สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในตถาคต)... สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)....
(3) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)... (4) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

 
 
 

หนังสือพุทธวจน เรื่องทาน  หน้า 18
บาลี อฏก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.


หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในสัมปรายะ
(ภพหน้า)

พ๎ยัคฆปัชชะ!  ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตรในสัมปรายะ(ในกาลเบื้องหน้า) ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วย ศรัทธา)
(2) สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วย ศีล)
(3) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วย การบริจาค)
(4) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วย ปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ!  สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร.
พ๎ยัคฆปัชชะ!  กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ!  สีลสัมปทา เป็นอย่างไร.
พ๎ยัคฆปัชชะ!  กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจาก อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้น ขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ!  จาคสัมปทา เป็นอย่างไร.
พ๎ยัคฆปัชชะ!  กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ!  ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร.
พ๎ยัคฆปัชชะ!  กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญา เครื่องให้ถึงสัจจะ แห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ!  ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตรในสัมปรายะ


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์