เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หลายนัยยะ 119  
 

ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก (1)

"...ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
ย่อมไม่คิดไปในทางทำตนเองให้ลำบากเลย
ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก
ไม่คิดไปในทางทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบาก

เมื่อจะคิด
ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือ
เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงนั่นเอง.
ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า
ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก..."

- จตุกฺก. อํ .๒๑/๑๘๖

...........................................................................................................................................................


บัณฑิต มีปัญญามาก (2)

"...ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๔ ประการนี้ ... คือ :-

การคบสัตบุรุษ ๑,
การฟังพระสัทธรรม ๑,
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑,
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

... ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล,อรหัตตผล ... .
... ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้ปัญญา, ความเจริญ,ความไพบูลย์แห่งปัญญา,
... ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่,ปัญญาแน่นหนา, ปัญญาไพบูลย์, ปัญญาลึกซึ้ง, ปัญญาประมาณมิได้, ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน, ปัญญามาก, ปัญญาเร็ว, ปัญญาเบา, ปัญญาร่าเริง, ปัญญาไว, ปัญญาคม, ปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ..."

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖๓๔

...........................................................................................................................................................

บัณฑิต มีปัญญามาก (3)

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ
อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เพราะกรรมนั้น
อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้
เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคน
มีปัญญามาก..."

- อุปริ. ม. ๑๔/๕๗๙

...........................................................................................................................................................

บัณฑิต มีปัญญามาก (4)

"...คหบดี ! อริยสาวกนั้นแล

รู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้

รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น.

คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวก รู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้วเมื่อนั้น ย่อมละเสียได้ เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้แล้วเมื่อนั้น ย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา..."

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๑

...........................................................................................................................................................

บัณฑิต มีปัญญามาก (5)

"...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่ง
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญแห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไพบูลย์แห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญามาก
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาแล่น
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาคม
ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ..."

- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๒๓๘

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์