เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
    พระสูตรสั้น
ค้นหาคำที่ต้องการ       

 
พระสูตรสั้น พระสูตรโดยย่อ
  พระสูตรสั้น ชุด3 ทางลัด.. คลิกดูพระสูตรที่เป็นตัวเลข
 
1 (คลิก)
S3- 1 การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยากในโลก
S3-2 โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว
S3-3 ระเบียบของพระสุคต (แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด..)
S3-4 แบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก
S3-5 ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี
S3-6 ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะ
S3-7 ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธะ" (เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงําโลกเสียได้แล้ว)
S3-8 ตถาคตฉลาดในโลกนี้และโลกอื่น ประตูนครแห่งความ ไม่ตาย ตถาคตเปิดโลงไว้แล้ว
S3-9 ธรรม ๖ ประการ ที่ภิกษุต้องละ (มานะถือตัว ...เย่อหยิ่ง ความเข้าใจผิด ความหัวดื้อ...)
S3-10 อสัปปุริสทาน และ สัปปุริสทาน ๕ ประการ(การให้ทาน) ให้โดยเคารพ อ่อนน้อม ด้วยมือตนเอง ของไม่เป็นเดน...
2  
S3-11 กถาวัตถุ : ถ้อยคำที่ภิกษุไม่ควรพูด และ ควรพูด (เรื่องราชา เรื่องโจร เรื่องภัย เรื่องข้าว ดอกไม้ บ้าน นคร เรื่องโลก...)
S3-12 ความแตกต่างระหว่างตถาคตกับสาวก (ตถาคตเป็นมัคคัญญู เป็นผู้รู้มรรค.. สาวกเป็นมัคคานุคา ผู้เดินตาม)
S3-13 ความสำคัญในคำสอนของตถาคต (ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด)
S3-14 เหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม (เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัท4 ไม่มีความเคารพยำเกรง ในศาสดา- ในธรรม..)
S3-15 อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่ (ความกำหนัดไปตามอำนาจความติตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา...)
S3-16 การนอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไรเล่า (เจริญสมาธิ ละความคิดอกุศล เข้าสู่ฌาน 1 2 3 4 )
S3-17 อานิสงส์ของ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต (... ไม่เป็นคนหลงทำกาละ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์)
S3-18 กุมภสูตร ธรรมเครื่องรองรับจิต (มรรค8 เปรียบเหมือนหม้อ เครื่องรองรับจิต ไม่ให้กลิ้งไปได้)
S3-19 ปารสูตร ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน) (มรรค8)
S3-20 วิราคสูตร ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ (มรรค8)
3  
S3-21 อนุปาทาปรินิพพานสูตร ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (มรรค8)
S3-22 สุริยเปยยาลที่ ๖ กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค (มรรค8)
S3-23 ทุกขตาสูตร ความเป็นทุกข์ ๓ ทุกข์จากไม่สบายกาย(ทุกข์ใจ)- ทุกข์จากสังขาร(ปรุงแต่งจิต) - ทุกข์จากความเสื่อม-แปรปรวน
S3-24 ขีลสูตร เสาเขื่อน ๓ ที่ต้องละ (ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ .. แก้ได้โดยเจริญมรรค8)
S3-25 ความรัก 4 แบบ (รักเกิดจากรัก - เกลียดเกิดจากรัก - รักเกิดจากเกลียด -เกลียดเกิดจากเกลียด)
S3-26 สัมมัปปธานสี่ หรือ ปธาน4 (ยับยั้งอกุศล เพียรสร้างกุศล)
S3-27 ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ทำให้เจริญ ทำให้แจ้ง (รู้-ขันธ์5 ละ-อวิชชา เจริญ-สมถะวิปัสนา แจ้ง-วิชชาและวิมุติ)
S3-28 บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก (อัมพสูตร) (มะม่วงดิบผิวสุก-มะม่วงสุกผิวดิบ-มะม่วงดิ ผิวดิบ-มะม่วงสุกผิวสุก)
S3-29 ทรงห้ามฉันมะม่วง และผลไม้บางชนิด (เราอนุญาตผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ )
S3-30

สงบในสมาธิ ๙ ระดับ (รูปสัญญา4 อรูปสัญญา 4 สัญญาเวทยิตนิโรธ)

4  
S3-31 นิวรณ์ ๕ อาหารของอวิชชา (นิวรณ์5 คืออาหารของอวิชชา/ทุจริต3- กาย วาจา ใจ ก็เป็นอาหารของนิวรณ์5)
S3-32 อวิชชาเป็นอาหารของภวตัณหา (ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อาหารของภวตัณหา)
S3-33

โพชฌงค์7 เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ (ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อาหารของวิชชาและวิมุตติ)

S3-34 ปาริจริยานุตตริยะ (บุคคล..บำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง บำรุงคนชั้นสูงสมณะ ผู้ปฏิบัติผิด เป็นการบำรุงที่เลว)
S3-35

ผลประโยชน์ของความเป็นสมณะ (ได้ความเป็นอริยะบุคคล ได้ความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ เข้าใจมรรค8 )

S3-36 มรรค ๘ มรรคมีองค์แปด (ประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา)
S3-37 บทเจริญเมตตา แก่พญางูทั้ง4 เพื่อคุ้มครองตน (สัตว์ไม่มีเท้า 2เท้า 4 เท้า สัตว์มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเรา)
S3-38

ผู้ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน หาได้ยากในโลกนี้ (เพราะสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ )

S3-39 ธรรม 5 อย่าง รักษาพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา (ธรรม 5 อย่างคือ ที่ชื่อว่า ศรัทธา หิริ โอดตัปะ วิริยะ ปัญญา)
S3-40

ก้อนข้าวที่ลุกเป็นไฟ (ทุศีลแล้วโดนลงโทษด้วยก้อนไฟที่ง้างเข้าปากจนทะลุทวาร ยังดีกว่าตายๆไปแล้วไปลงนรก)

 
ต่อชุด 4
 
 


พระสูตรสั้น ชุด3


1
การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยากในโลก

ภิกษุ ท. ! การมาปรากฏของ บุคคลเอก
(ไม่มีใครซ้ําสอง)มีได้ยากในโลก.
ใครเล่า เป็นบุคคลเอก?

ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
เป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ําสอง).

ภิกษุ ท. ! การมาปรากฏของบุคคลเอกนี้แล
มีได้ยากในโลก

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ หน้าที่ ๑๔๙๖)

โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว

        ภิกษุ ท. !  ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็น อันเดียวกัน ทั้งหมด บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม่ไผ่?) ซึ่งมีรูปรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทางทิศ ตะวันออก ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้.

ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.

ภิกษุ ท. !  เธอ ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง  จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า !  ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”.

ภิกษุ ท. !  ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์ ยากที่จะ เป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก ยากที่จะ เป็นไปได้  ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคต ประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.

ภิกษุ ท. !  แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไป ทั่วโลกแล้ว.

ภิกษุ ท. !  เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ ว่า “นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.



...............................................................................................................................................................

2
โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

อานนท์ ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคตผู้อรหันต สัมมา สัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้น พร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน.

นั่นมิใช่ฐานะ ที่จะมีได้.

ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือข้อที่ใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น.

นั่นเป็นฐานะ ที่จะมีได้.

...............................................................................................................................................................

3
ระเบียบของพระสุคต

ภิกษุ ท. ! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็น ไปเพื่อความเกื้อกูลแกชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข ของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อยู่เพียง นั้น.

ภิกษุ ท. ! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคต บังเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้ง โลก เป็นสารถี ฝึกคนควรฝึก ไม่มีใคร ยิ่งกว่า เป็นครู ของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ เบิกบานแล้ว จําแนกธรรมออกสอนสัตว์.

นี้คือ พระสุคต.

ภิกษุ ท. ! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า? คือตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง. ธรรมที่ตถาคต แสดง พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ

นี้แล คือ ระเบียบ วินัยของพระสุคต.

ภิกษุ ท. ! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็น ไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ ความสุขของชน เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความ เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น

...............................................................................................................................................................

4
แบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก

ภิกษุ ท. ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลก นี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วย ตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะ ดําเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควร ฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา และ มนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจําแนกธรรม ออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุ ท. ! ตถาคตนั้น ได้ทําให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหมซึ่ง หมู่สัตว์กับทั้งสมณ พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยป๎ญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม.

ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

...............................................................................................................................................................

5
ฆราวาส คับแคบ

คฤหบดี หรือลูกคฤหบดี หรือคนที่เกิดในตระกูลอื่นใดในภายหลัง ย่อม ฟ๎งธรรมนั้น. ครั้นฟ๎งแล้ว ย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้นผู้ประกอบอยู่ ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณา เห็นว่า

"ฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชา เป็นโอกาสว่าง. มันไม่เป็นไปได้ โดยง่าย ที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้ จะประพฤติพรหมจรรย์นั้น ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว.

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือนไป บวช เป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด"


...............................................................................................................................................................

6
ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก

ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้อง เกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไป ในโลก.

ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คืออะไร เล่า? คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย.

ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้อง เกิดขึ้น ไปโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรือง ไปในโลก.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก.

เพราะเหตุนั้น ตถาคต จึงต้อง เกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ และธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.


...............................................................................................................................................................

7
ทรงขนานนามพระองค์เองว่า "พุทธะ"
(การสนทนากับโทณพราหมณ์ เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ทูลถาม)

ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดา หรือ ?
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.

ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์ หรือ ?
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.

ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์ หรือ ?
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.

ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์ หรือ ?
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.

ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไร ๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้
เป็นอย่างนั้น ๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า?

พราหมณ์เอย ! อาสวะ เหล่าใด ที่จะทําให้เราเป็น เทวดา
เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว

พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทําให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็น มนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว
ทําให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอก บัวเขียง บัวหลวง หรือบัวขาว
มันเกิดในน้ำ เจริญในน้ํา โผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ !

เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง
แต่เราครอบงําโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อน เราได้.

พราหมณ์ ! ท่านจงจําเราไว้ว่า เป็น
"พุทธะ" ดังนี้เถิด.

...............................................................................................................................................................

8
ตถาคตฉลาดในโลกนี้ และ โลกอื่น

ภิกษุ ท. ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่อง โลกนี้ ฉลาดในเรื่องโลกอื่น,
เป็น ผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมาร
ฉลาดต่อ วิวัฎฎะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร
เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฎฎะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู
ฉลาดต่อ วิวัฎฎะอันไม่เป็นที่ อยู่ของมฤตยู.

ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟ๎งควรเชื่อ
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคํานี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคําอื่นอีกดังนี้ว่า :-)

ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้ ชัดแจ้งแล้ว.
ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยู ไปไม่ถึง
ตถาคตผู้รู้ชัด เข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว
เพราะความรู้โลกทั้งปวง.

ประตูนครแห่งความ ไม่ตาย ตถาคตเปิดโลงไว้แล้ว
เพื่อสัตว์ทั้งหลาย เข้าถึงถิ่นอันเกษม.
กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคต ปิดกั้นเสียแล้ว
กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมดพิษสงแล้ว.

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์
ปรารถนาธรรม อันเกษมจากโยคะเถิด


...............................................................................................................................................................

9
ธรรม 6 ประการ ที่ภิกษุต้องละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ
มานะ ความถือตัว ๑
โอมานะ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑
อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ๑
อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑
ถัมภะ ความหัวดื้อ ๑
อตินิปาตะ ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ
นี้แลย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ
ความถือตัว ๑
ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑
ความเย่อหยิ่ง ๑
ความเข้าใจผิด ๑
ความหัวดื้อ ๑
ความดูหมิ่นตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต


...............................................................................................................................................................

10
ภิกษุทั้งหลาย ! อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่

(การให้ทาน)


อสัปปุริสทาน ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ให้โดยไม่เคารพ
(๒) ให้โดยไม่อ่อนน้อม
(๓) ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
(๔) ให้ของที่เป็นเดน
(๕) ให้โดยไม่คำนึงผลที่จะมาถึง (อนาคมนทิฏฐิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล อสัปปุริสทาน ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย !
สัปปุริสทาน ๕
ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ให้โดยเคารพ
(๒) ให้โดยอ่อนน้อม
(๓) ให้ด้วยมือตนเอง
(๔) ให้ของไม่เป็นเดน
(๕) ให้โดยคำนึงผลที่จะมาถึง (อาคมนทิฏฐิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๕ ประการ.

-บาลี ปญจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๗.


...............................................................................................................................................................

11
กถาวัตถุ(พระวินัย) ถ้อยคำอะไรที่ภิกษุไม่ควรพูด
และถ้อยคำอะไรที่ภิกษุควรพูด ?

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดถ้อยคำแก่งแย่งกันว่า
ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้.... ท่านปฏิบัติผิด
เราปฏิบัติถูก สิ่งที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง สิ่งที่ควรพูดทีหลัง
ท่านพูดก่อน...ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์.... ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย....เพื่อนิพพาน เมื่อเธอ
ทั้งหลายจะพูดควรพูดว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์...”

วิคคาหิตกลาสูตร มหา. สํ. (๑๖๖๒ )
ตบ. ๑๙ : ๕๒๕ ตท. ๑๙ : ๔๗๔
ตอ. K.S. ๕ : ๓๕๕

เรื่องที่พระควรพูดและไม่ควรพูด

เรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย
เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี
เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนตายไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ
และเรื่องความเสื่อมฯ

เวลาเย็น พระพุทธองค์เสด็จไปที่หอฉัน จึงตรัสถามว่าพวกเธอ
กำลังคุยอะไรกันอยู่ พวกภิกษุกราบทูลว่า คุยกันด้วยเรื่อง
ดิรัจฉานกถา ทรงติเตียนว่า ไม่สมควรที่พวกเธอผู้ออกบวช
ด้วยศรัทธาจะสนทนากันด้วยเรื่องอย่างนี้

ครั้นแล้วทรงแสดง กถาวัตถุ คือ
ถ้อยคำที่ควรนำมาพูดกันในวงของภิกษุ คือ

1. อัปปิจฉกถา :
เรื่องความมักน้อย ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารถนาน้อย

2. สันตุฏฐิกถา :
เรื่องความสันโดษ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ

3. ปวิเวกกถา :
เรื่องความสงัด ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายและใจ

4. อสังสัคคกถา :
เรื่องความไม่คลุกคลี ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

5. วิริยารัมภกถา :
เรื่องการปรารภความเพียร ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร

6. สีลกถา :
เรื่องศีล ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล

7. สมาธิกถา :
เรื่องสมาธิ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตให้ตั้งมั่น

8. ปัญญากถา :
เรื่องปัญญา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา

9. วิมุตติกถา :
เรื่องวิมุตติ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจพ้นจากกิเลสและความทุกข์

10. วิมุตติญาณทัสสนกถา :
เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจ และเข้าใจ
เรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์


...............................................................................................................................................................

12
ความแตกต่างระหว่างตถาคตกับสาวก

“ตถาคตเป็นมัคคัญญู (เป็นผู้รู้มรรค),
เป็นมัคควิทู (เป็นผู้รู้แจ้งในมรรค),
เป็นมัคคโกวิโท (เป็นผู้ฉลาดในมรรค);

ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา(เป็นผู้เดินตามมรรค)
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง”
- พุทธสูตร ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๖.


...............................................................................................................................................................

13
ความสำคัญในคำสอนของตถาคต

“...ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
...ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม,
ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง
และในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธ์ิบริบูรณ์สิ้นเชิง...”
-บาลีมู.ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน,
และบาลีอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก.


“...ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น
ให้งดงามในท่ามกลาง ให้งดงามในที่สุด,
จงประกาศพรหมจรรย์
ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธ์ิบริบูรณ์สิ้นเชิง.”
-บาลีมหาวรรค วิ. ๔/๓๙/๓๒. ตรัสแก่พระอรหันต์๖๐ รูป
ชุดแรกที่อิสิปตนมิคทายวัน
.

“พวกภิกษุเล่าเรียนสูตร อันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะ ที่ใช้กันผิด
เมื่อบท และพยัญชนะ ใช้กันผิดแล้ว แม้ความหมาย ก็มีนัย อันคลาดเคลื่อน.

ภิกษุทั้งหลาย! นี้ มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมเลอะเลือน จนเสื่อมสูญไป”
-บาลีพระพุทธภาษิต จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

...............................................................................................................................................................

14

เหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 446

๑. กิมพิลสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม

[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึง ที่ประทับถวายบังคม แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถาม ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้พระ สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคต ปรินิพพานแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในศาสดา
เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในธรรม
เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสงฆ์
เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในสิกขา
เป็นผู้ไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกัน และกัน


ดูก่อนกิมพิละนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระ สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อ ตถาคตปรินิพพานแล้ว.

...............................................................................................................................................................

15
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่

อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่
ความกำหนัด(ราคะ) ไปตามอำนาจความติตรึก (สงฺกปฺปราค)
นั่นแหละคือกามของคนเรา

อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น
ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ
ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้


(ดูพระสูตรอื่นที่คล้ายกัน)

...............................................................................................................................................................

16
ภิกษุ ท. ! การนอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! การนอนอย่างตถาคตคือ ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสงัดแล้ว จากกาม ท. สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ท., ย่อมเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่ วิเวกแล้วแลอยู่.

เพราะวิตกวิจารรำงับไป เธอเข้าถึงฌานที่ ๒ อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน สามารถให้สมาธิผุดขึ้นเป็นธรรมเอก ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและ สุขอันเกิดแต่ สมาธิแล้ว แลอยู่.

เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวย สุขด้วยนามกาย เข้าถึงฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่.

เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัสและ โทมนัส ในกาลก่อน เธอเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ และไม่สุขมีแต่สติ อันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้ว แลอยู่.

นี่เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต.

- บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๑/๒๔๖.

สรุป
ฌาน 1 สงัดจากอกุศล(ดับ) สงัดจากกาม(ดับ) มีวิตกวิจาร มีปิติและสุข(อันเกิดจากสมาธิ)
ฌาน 2 วิตกวิจารระงับไป ปิติและสุขยังคงอยู่
ฌาน 3 ปิติจางหาย มีสติ มีความรู้สึกตัวพร้อม เสวยสุขด้วยนามกาย
ฌาน 4
ละทุกข์ ละสุขได้ มีแต่สติ

ดูคลิปประกอบ
https://www.youtube.com/watch?v=hQb7pq3IIck

https://www.youtube.com/watch?v=fFKxV3qXk1g



...............................................................................................................................................................

17
อานิสงส์ของ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

พ. ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว
อานิสงส์อย่างนี้ อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ

๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ 
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ 
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป 
๔. ไม่เป็นคนหลงทำกาละ 
๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว
อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ฯ

- ฉบับหลวง ๒๐/๕๕/๒๖๔

...............................................................................................................................................................


18

กุมภสูตร ธรรมเครื่องรองรับจิต

[๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้ง ไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่องรองรับจิต.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่ายที่มีเครื่อง รองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


...............................................................................................................................................................

19
ปารสูตร ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

[๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล (มรรค8) ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

[๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่ง นั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้น ข้ามบ่วงมฤตยู ซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึง ฝั่งได้ บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสีย เจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจาก ความอาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ ยินดีได้ยาก บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้า หมองจิต ชนเหล่าใด อบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้ว ในความ สละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้ว ในโลกนี้.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


...............................................................................................................................................................

20
วิราคสูตร ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ

[๑๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่อสำรอกราคะ.

[๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มี อายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่อ สำรอกราคะมีอยู่หรือ?เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้ แล้ว พึงชี้แจงแก่ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่.

[๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ เป็นไฉน? อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นทาง นี้ เป็นข้อปฏิบัติ เพื่อสำรอกราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


...............................................................................................................................................................

21
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลาย ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น อย่างนี้ว่าดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มี อายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน มีอยู่หรือ? เธอทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมี อยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทา ปรินิพพานมีอยู่.

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทา ปรินิพพาน เป็นไฉน? อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นข้อ ปฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญ เดียรถีย์ ปริพาชก เหล่านั้นอย่างนี้.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


...............................................................................................................................................................

22
สุริยเปยยาลที่ ๖ กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่ง ที่เป็นนิมิต มาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด แห่งอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตร ดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักทำให้มากซึ่ง อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘.

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมี มิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๑๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิต มาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึง พร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ

...............................................................................................................................................................

23
ทุกขตาสูตร ความเป็นทุกข์ ๓

[๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
ความเป็นทุกข์เกิดจากความไม่สบายกาย ๑ (ทุกข์กาย-ทุกขเวทนา)
ความเป็นทุกข์เกิดจากสังขาร ๑ (ทุกข์ใจ-จากการปรุงแต่งจิต)
ความเป็นทุกข์เกิดจากความแปรปรวน ๑ (ทุกข์จากความเสื่อม-ผมหงอก-แก่ชรา)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

...............................................................................................................................................................


24
ขีลสูตร เสาเขื่อน ๓

[๓๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่เสาเขื่อนคือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

...............................................................................................................................................................

25
ว่าด้วยความรัก ๔ แบบ

สรุปย่อ
1. ความรักเกิดจากความรัก
เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่นมากระทำต่อบุคคลนั้นด้วยความรัก... เราจะรักบุคคลนั้นด้วย
2. ความเกลียดเกิดจากความรัก
เรารักใคร แล้วมีบุคคลอื่นมาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น... เราจะเกลียดบุคคลนั้น
3.ความรักเกิดจากความเกลียด
เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่นมาแสดงความเกลียดชังต่อบุคคลนั้น.. เราจะรักบุคคลนั้น
4.ความเกลียดเกิดจากความเกลียด
เราเกลียดใคร แล้วมีบุคคลอื่นมาแสดงความรักต่อบุคคลนั้น.. เราจะเกลียดบุคคลนั้น


(๑) ความ
รักเกิดจากความรัก 
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจ ของบุคคล คนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่  น่าพอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า  “บุคคลเหล่านั้นประพฤติ กระทำต่อบุคคล ที่เราปรารถนา รัก ใคร่ พอใจ ด้วยอาการ ที่น่า ปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;  บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรัก ให้เกิดขึ้นใน บุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก

(๒) ความ
เกลียดเกิดจากความรัก 
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา รักใคร่พอใจ ของบุคคล คนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ  กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนาไม่น่ารักใคร่  พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา ปรารถนา  รักใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย.! อย่างนี้แลเรียกว่า ความ เกลียดเกิดจากความรัก
.......................................................................................................
(๓) ความ
รักเกิดจากความเกลียด 
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคล คนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น  มาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่า ปรารถนา  ไม่น่ารักใคร่ พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมา  อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วย อาการ ที่ไม่น่าปรารถนา  ไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อ ว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น.ภิกษุ ทั้งหลาย.! อย่างนี้แลเรียกว่าความรัก เกิดจากความเกลียด

(๔) ความ
เกลียดเกิดจากความเกลียด 
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่  ปรารถนารักใคร่พอใจ ของบุคคล คนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา ประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจด้วยอาการ ที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่  น่าพอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่านั้น.  ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด

จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐

...............................................................................................................................................................

26
สัมมัปปธานสี่ หรือ ปธาน4
(ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ )

1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรม(นิวรณ์5*) ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญ

คำอธิบายเพิ่มเติม
       ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ที่ยังไม่เกิด
       ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิดพยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
       ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลที่ยังไม่เกิด
       ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิต ตั้งใจ เพื่อความตั้งมั่นไม่เลือนลางจำเริญยิ่ง ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งธรรมที่เป็นกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๑๗๖

*
นิวรณ์5

นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง 
มีอยู่ห้าอย่าง คือ
 
 1.กามฉันทะ : ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
 2.พยาบาท  : ความไม่พอใจ ไม่ได้สมปรารถนาในโลกียะทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
 3.ถีนมิทธะ  : ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
 4.อุทธัจจะกุกกุจจะ : ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
 5.วิจิกิจฉา : ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ


...............................................................................................................................................................

27
ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ,
ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๑)

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๕๔.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการ
เป็นอย่างไร คือ

ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ ก็มี
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็มี
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงทำให้เจริญ ก็มี
ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงทำให้แจ้ง ก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ เป็นอย่างไร คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้.

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย เป็นอย่างไร คือ อวิชชาและภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย.

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญเป็นอย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ.

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลธรรม ๔ ประการ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๕๔.

...............................................................................................................................................................

28
บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก (อัมพสูตร)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ อย่างนี้
๔ อย่างเป็นไฉน คือ

มะม่วงดิบ ผิวสุกอย่าง ๑
มะม่วงสุก ผิวดิบอย่าง ๑
มะม่วงดิบ ผิวดิบอย่าง ๑
มะม่วงสุก ผิวสุกอย่าง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือบุคคล
ดุจมะม่วง ดิบ ผิวสุก จำพวก ๑
ดุจมะม่วง สุก ผิวดิบ จำพวก ๑
ดุจมะม่วง ดิบ ผิวดิบ จำพวก ๑
ดุจมะม่วง สุก ผิวสุก จำพวก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุกอย่างไร

การก้าวการถอย การเหลียว การแล
การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส
แต่เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุกอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วงดิบผิวสุก แม้ฉันใด
เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วง สุก ผิวดิบ อย่างไร

การก้าว ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส
แต่เขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวดิบอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วงสุกผิวดิบ แม้ฉันใด
เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วง ดิบ ผิวดิบ อย่างไร

การก้าว ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส
ทั้งเขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวดิบอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วงดิบผิวดิบ แม้ฉันใด
เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วง สุก ผิวสุก อย่างไร

การก้าว ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ของบุคคลบางคนในโลกนี้ น่าเลื่อมใส
ทั้งเขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวสุกอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มะม่วงสุกผิวสุกแม้ฉันใด
เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ

พระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๑๐๖ ข้อที่ ๑๐๕


...............................................................................................................................................................

29

เรื่องทรงห้ามฉันมะม่วง

[๒๓] สมัยต่อมา มะม่วงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช กำลังมีผล พระองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้า ทั้งหลาย ฉันผล มะม่วงตามสบายเถิด พระฉัพพัคคีย์สอยผลมะม่วงกระทั่ง ผลอ่อนๆ ฉัน

พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราชต้องพระประสงค์ผลมะม่วง จึงรับ สั่งกับมหาดเล็กว่า ไปเถิด พนาย จงไปสวนเก็บมะม่วงมา มหาดเล็กรับพระ บรมราชโองการแล้ว ไปสู่พระราช อุทยาน บอกคน รักษาพระราชอุทยานว่า ในหลวง มีพระประสงค์ผลมะม่วง ท่านจงถวายผล มะม่วง คนรักษาพระราช อุทยานตอบว่า ผลมะม่วงไม่มี ภิกษุทั้งหลายเก็บไปฉันหมด กระทั่ง ผลอ่อนๆ มหาดเล็กเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารๆ รับสั่งว่า พระคุณเจ้า ทั้งหลายฉันผล มะม่วงหมดก็ดีแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความรู้จักประมาณ ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่ รู้จัก ประมาณ ฉันผลมะม่วงของในหลวงหมด

ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้น ต่อ พระผู้มีพระ ภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันผลมะม่วง รูปใดฉันต้องอาบัติ ทุกกฏ ฯ

[๒๔] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาจัดผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ ไว้ในกับ ข้าว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน ...

พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาต ผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ ฯ


สมณกัปปะ ๕ อย่าง

[๒๕] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาไม่ได้ฝาน มะม่วงเป็นชิ้นๆ ในโรง อาหารล้วนแล้วไปด้วยผลมะม่วงทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจไม่รับประเคน ...

พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ
๑. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ
๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้ ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

...............................................................................................................................................................

30
สงบในสมาธิ ๙ ระดับ

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวความสงบแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับ คือ

รูปฌาน 4 ระดับ

เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ปฐมฌาน
(สงัด จากกามทั้งหลาย สงัด จากอกุศลธรรม ทั้งหลาย)
วาจา ย่อมดับ

เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ทุติยฌาน
(เพราะ วิตก วิจาร รำงับไป)
วิตก วิจาร ย่อมดับ

เมื่อ ภิกษุเข้าถึง ตติยฌาน
(เพราะ ความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา)
ปีติ ย่อมดับ

เมื่อ ภิกษุเข้าถึง จตุตถฌาน
(เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัส ในกาลก่อน)
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมดับ

อรูปฌาน 4 ระดับ

         เมื่อ ภิกษุเข้าถึง อากาสานัญจายตน (ก้าวล่วงรูปสัญญาเสีย โดยประการทั้งปวง เพราะความดับ ไปแห่ง ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด) รูปสัญญา ย่อมดับ

         เมื่อ ภิกษุเข้าถึง วิญญาณัญจายตน (ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า วิญญาณ ไม่มีที่สุด) อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ

         เมื่อ ภิกษุเข้าถึง อากิญจัญญายตน (ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่าว่างเปล่า ไม่มีอะไร) วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ

         เมื่อ ภิกษุเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตน (ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ) อากิญ จัญญาย ตนสัญญา ย่อมดับ

         เมื่อ ภิกษุเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ (ก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ) สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ

เมื่อภิกษุเป็นผู้สิ้นอาสวะ ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ

(ภาษาไทย) สฬา. สํ. ๑๘/๒๓๑/๓๙๓. 

...............................................................................................................................................................


31

นิวรณ์ ๕ อาหารของ อวิชชา
(นิวรณ์ หมายถึง เครื่องปิดกั้นขัดขวางไม่ให้บรรลุการทำความดี)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ที่สุดในเบื้องต้นของ อวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ; ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี; แต่ว่าอวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คำกล่าวอย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใครๆควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า "อวิชชา ย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่.

ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา? คำตอบพึงมีว่า "นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเป็นอาหารของอวิชชา" ดังนี้.

นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ(สรุปย่อ)
     กามฉันทะ.. ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
     พยาบาท.. ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนา ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
     ถีนมิทธะ... ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
     อุทธัจจะกุกกุจจะ... ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
     วิจิกิจฉา... ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ

อาหารของนิวรณ์ 5 คือการไม่สำรวมอินทรีย์
     สำรวมอินทรีย์คือ - ไม่ประพฤติทุจริต ด้วยกาย วาจา ใจ
     สำรวมอินทรีย์คือ - เจริญสติปัฏฐาน4
     ถ้าสำรวมอินทรีย์ นิวรณ์ 5 ก็จะไม่มีอาหาร


...............................................................................................................................................................


32
อวิชชา เป็นอาหาร ของภวตัณหา
ปฏิจจสมุปบาท แห่งอาหารของภวตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ที่สุดในเบื้องต้นของภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ; ก่อนแต่นี้ ภวตัณหามิได้มี; แต่ว่า ภวตัณหาเพิ่มมีต่อภายหลัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คำกล่าวอย่างนี้แหละเป็นคำที่ใครๆ ควรกล่าวและ ควรกล่าวด้วยว่า "ภวตัณหาย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้ภวตัณหานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของภวตัณหา? คำตอบพึงมีว่า "อวิชชา เป็นอาหาร ของภวตัณหา" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา? คำตอบพึงมีว่า "นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่ เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ? คำตอบ พึงมีว่า "ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ" ดังนี้.
(ทุจริต3ประการ คือทุจริตทางกาย วาจา ใจ)

...............................................................................................................................................................


33

โพชฌงค์7 เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ
ปฏิจจสมุปบาท แห่ง อาหารของวิชชาและวิมุตติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า แม้วิชชาและวิมุตติ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่ เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของวิชชาและ วิมุตติ? คำตอบ พึงมีว่า "โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่าถึงแม้โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการก็เป็น ธรรมชาติ มีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของ โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ? คำตอบพึงมีว่า "สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ"ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่าถึงแม้สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ ก็เป็น ธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของ สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการ? คำตอบพึงมีว่า "สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติ มีอาหาร หาใช่ เป็น ธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสุจริต ทั้งหลาย ๓ ประการ? คำตอบพึง มีว่า "การสำรวมอินทรีย์" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้การสำรวมอินทรีย์ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์? คำตอบพึงมีว่า "ความเป็นผู้สีสติสัมปชัญญะ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก็เป็นธรรมชาติ มีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหาไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของความเป็น ผู้มีสติสัมปชัญญะ? คำตอบพึงมีว่า "โยนิโสมนสิการ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้โยนิโสมนสิการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของโยนิโส มนสิการ? คำตอบพึงมีว่า "สัทธา" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า ถึงแม้สัทธา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็น ธรรมชาติที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของสัทธา? คำตอบพึงมีว่า" การได้ฟังพระสัทธรรม" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถึงแม้การได้ฟังพระสัทธรรม ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของการได้ฟังพระสัทธรรม? คำตอบ พึงมีว่า "การคบสัปบุรุษ" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้แล
-ที่เมื่อการคบสัปบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์
-การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาให้บริบูรณ์;
-สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์;
-โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์;
-ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์; -
-การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์;
-สุจริตทั้งหลาย๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้ บริบูรณ์;
- สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการให้บริบูรณ์;
- โพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้ และ บริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา, น้ำฝนนั้นไหล ไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลายให้เต็ม;

ครั้นซอกเขาซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อย ทั้งหลายให้ เต็ม; บึงน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำบึงใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม; บึงใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้วย่อมทำ แม่น้ำน้อยทั้งหลายให้เต็ม; แม่น้ำน้อยทั้งหลายเต็มแล้ว ย่อมทำ แม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม; แม่น้ำใหญ่ ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรสาคร ให้เต็ม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร แห่งมหาสมุทรสาครนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่าง
นี้ และเต็มแล้วด้วยอาการ อย่างนี้,นี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ
- การคบ สัปบุรุษ บริบูรณ์แล้วย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์;
- การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำ สัทธาให้บริบูรณ์;
- สัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์;
- โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์;
- ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์;
- การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้วย่อมทำสุจริตทั้งหลาย ๓ ประการให้บริบูรณ์;
- สุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้วย่อมทำสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการให้ บริบูรณ์;
- สติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลาย ๗ ประการ ให้บริบูรณ์;
- โพชฌงค์ทั้งหลาย๗ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหารแห่ง วิชชา และ วิมุตต นี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วย อาการอย่างนี้, ดังนี้ แล.

...............................................................................................................................................................

34

การบำรุงที่ดี-การบำรุงที่เลว
ปาริจริยานุตตริยะ

...ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า การบำรุงนี้นั้น เป็นการบำรุงที่เลว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอด เยี่ยมกว่าการ บำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย..เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต

นี้เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุต ตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ...

-(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๙๖ – ๒๙๙/๓๐๑.

...............................................................................................................................................................

35
ผลประโยชน์ของความเป็นสมณะ
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐/๑๐๑. ๑๐๔. ๑๐๐

ภิกษุทั้งหลาย ผลของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
โสตาปัตติผล, สกทาคามิผล, อนาคามิผล และอรหัตตผล เหล่าใดแล.

ภิกษุทั้งหลาย ผลเหล่านี้ เราเรียกว่า ผลของความเป็นสมณะ.
ภิกษุทั้งหลาย ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
อันใดแล. ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เราเรียกว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ.

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า
อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งได้แก่ความเข้าใจอัน
ถูกต้อง, ความมุ่งหมายอันถูกต้อง, การพูดจาอันถูกต้อง, การทำการงานอันถูกต้อง, การเลี้ยงชีวิตอันถูกต้อง, ความพยายามอันถูกต้อง, ความมีสติครองตนอันถูกต้อง, ความปักใจแน่วอันถูกต้อง.

ภิกษุทั้งหลาย อริยอัฏฐังคิกมรรคอันนี้ เราเรียกว่า ความเป็นสมณะ.

...............................................................................................................................................................

36

มรรคมีองค์แปด

มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ

ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อ ปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียด ไว้ดังนี้

1. สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง)
หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4

2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง)
หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน

3. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง)
หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ

4. สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม

5. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบ สัมมาชีพ

6. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน ๔ คือ ความพยายาม ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

7. สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4

8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน 4

เมื่อเทียบกับหลักไตรสิกขาองค์มรรค
ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา
ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล
และข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ


...............................................................................................................................................................

37
ทรงอนุญาตการเจริญเมตตา แก่พญางูทั้ง4
เพื่อคุ้มครองตน ป้องกันตน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แลพึงทำการแผ่อย่างนี้

บทเจริญเมตตา
[๒๗]
เรากับพญางูตระกูล วิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล เอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล ฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับพญางูตระกูล กัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน

สัตว์ไม่มีเท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์ ๒ เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์ ๔ เท้า อย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเรา
แลสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า
จงประสพความเจริญ
อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย

พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้
พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้
แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ
แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ
ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว
ขอฝูงสัตว์ทั้งหลาย จงถอยกลับไปเถิด
เรานั้น ขอมนัสการแด่พระผู้มีพระภาค
ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หน้าที่ ๗๑  ข้อที่ ๖๗


...............................................................................................................................................................

38
ผู้ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องกัน หาได้ยากในโลกนี้

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง ปลายไม่ได้ ฯลฯ "สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ "สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดา" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ "สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่ชาย น้องชาย" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ "สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิง น้องหญิง" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ "สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตร" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นที่ กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ "สัตว์ที่ไม่ เคยเป็นธิดา" โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้ กำหนด ที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่ กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้อง ต้นย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะ คลาย กำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

มาตุสูตร ปิตุสูตร ภาตุสูตร ภคินีสูตร ปุตตสูตร ธีตุสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
หน้าที่ ๑๘๗-๑๘๙/๒๘๘ ข้อที่ ๔๕๐ - ๔๕๔


...............................................................................................................................................................

39

รักษาพรหมจรรย์ด้วยน้ำตา
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔/๕.

ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจ ถึงน้ำตา นองหน้า ร้องไห้อยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็มี ข้อที่น่าสรรเสริญ เธอให้เหมาะสม แก่ธรรมที่เธอมีในบัดนี้ มีอยู่ห้าอย่าง ห้าอย่าง อะไรบ้างเล่า ห้าอย่างคือ

(๑) ธรรมที่ชื่อว่า ศรัทธา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๒) ธรรมที่ชื่อว่า หิริ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๓) ธรรมที่ชื่อว่า โอตตัปปะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๔) ธรรมที่ชื่อว่า วิริยะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.
(๕) ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้มีแล้วแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตรูปใด จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม แม้จะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงน้ำตา นองหน้า ร้องไห้อยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้ก็มี ข้อที่น่าสรรเสริญ เธอ ให้เหมาะสมแก่ธรรม ที่เธอมีในบัดนี้ ห้าอย่างเหล่านี้แล


...............................................................................................................................................................

40
ก้อนข้าวที่ลุกเป็นไฟ
เป็นคนทุศีล แล้วถูกลงโทษด้วยการกลืนก้อนไฟ ยังดีกว่าการต้องไปเกิดใน อบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะทุกข์ในนรกรุนแรงกว่า การกลืนก้อนไฟ ชนิดเทียบกันไม่ได้
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๓๓/๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก เราจักอธิบายแก่พวกเธอทั้งหลายให้เข้าใจ การที่ถูกบุรุษมีกำลัง แข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟ ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้ว โยนก้อนเหล็ก แดง อันร้อนแรงลุกโพลงมีแสงโชติช่วงเข้าไปในปาก

มันไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอไหม้ท้อง ไหม้ลำไส้ใหญ่ของเขา พาลำไส้เล็ก ออกมา โดยทวารเบื้องต่ำนั่นต่างหากเป็นการดี สำหรับคนซึ่งเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาดมีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำ ที่ต้องปกปิด ซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าการที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เนื่องจาก เหตุที่เขาถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อน เป็นเปลวไฟลุกโพลง มีแสง โชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยนก้อน เหล็กแดงอันร้อนแรง ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง เข้าไปในปาก หาได้เป็นเหตุให้เขาต้องเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำ ลายแห่งกายไม่

ส่วนการที่เขาเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ ตนเองนึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการ กระทำ ที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ ปฏิญญา ว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติ หมักหมม เหมือนบ่อ ที่เทขยะมูลฝอย.

แล้วยัง(มีความคิดที่จะ) บริโภคก้อนข้าว ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธานั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตาย เพราะการทำลาย แห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก