เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัทธรรมสัมโมส เหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม ไม่ฟังธรรมโดยตั้งใจ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยตั้งใจ ไม่ทรงจำธรรม 2222
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

สัทธรรมสัมโมส เหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

สูตร ๑
๑ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
๒ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ
๓ ไม่ทรงจำธรรม ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้ โดยเคารพ
๔ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โดยเคารพ


สูตร ๒
๑ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ
๒ ไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่เล่าเรียนมา
๓ ไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา
๔ ไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา
๕ ไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจซึ่งธรรม

สูตร ๓
๑ เล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบท และ พยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี
๒ เป็นผู้ว่ายาก
๓ ภิกษุที่เป็นพหูสูต ไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่น
๔ ภิกษุเป็นผู้มักมาก ประพฤติย่อหย่อน ล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก
๕ สงฆ์เป็นผู้แตกกัน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐

๔. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๑
เหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตร ๑

           [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
๒ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ
๓ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ โดยเคารพ
๔ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ
๒ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ
๓ ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ
๕ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๒

๕. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒
เหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตร ๓

           [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

           ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่า เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่งภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่า เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
----------------------------------------------------------------------------------

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

           ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ แห่ง สัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้ เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียน มาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดารนี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบ เลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตาม ที่ได้ ฟังมาตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๔

๖. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๓
เหตุเสื่อมแห่งพระสัทธรรม สูตร ๓

           [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

           ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อม เล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบท และ พยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความ มีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมกระทำให้เป็น ผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไป เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับ ไปพระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อม สูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุม ชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้นก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้งนี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและ กันบริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่ เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

---------------------------------------------------------------------------------------------

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

           ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อม เล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและ พยัญชนะที่ตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและ พยัญชนะ ที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมไม่ขาด เค้ามูล มีหลักฐานอยู่นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระ ในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกันไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดีไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์ เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์