เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สารัชชสูตร ความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า อุทายิสูตร การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น คือแสดงธรรมไปโดยลำดับ 2223
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๘. สารัชชสูตร ความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึง ความครั่นคร้าม
๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒ เป็นผู้ทุศีล
๓ เป็นผู้ได้สดับน้อย
๔ เป็นผู้เกียจคร้าน
๕ เป็นผู้มีปัญญาทราม

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
๑ เป็นผู้มีศรัทธา
๒ เป็นผู้มีศีล
๓ เป็นผู้ได้สดับมาก
๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕ มีปัญญา

๙. อุทายิสูตร การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรม พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรม คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑ เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ
๒ เราจักแสดงอ้างเหตุผล
๓ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
๔ เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม
๕ เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร ธรรมที่เกิดแล้วบรรเทาได้ยาก
๑ ราคะ
๒ โทสะ
๓ โมหะ
๔ ปฏิภาณ
๕ จิตคิดจะไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๗

๘. สารัชชสูตร
ความครั่นคร้ามและความแกล้วกล้า

              [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมถึง ความครั่นคร้าม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒ เป็นผู้ทุศีล
๓ เป็นผู้ได้สดับน้อย
๔ เป็นผู้เกียจคร้าน
๕ เป็นผู้มีปัญญาทราม

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมถึงความ ครั่นคร้าม

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ เป็นผู้มีศรัทธา
๒ เป็นผู้มีศีล
๓ เป็นผู้ได้สดับมาก
๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕ มีปัญญา

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ แกล้วกล้า


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๗

๙. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

              [๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

               ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์ บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

              ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดง ธรรม แก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า
๑ เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ
๒ เราจักแสดงอ้างเหตุผล
๓ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
๔ เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม
๕ เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น
แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

              ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรม แก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๘

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร
ธรรมที่บรรเทาได้ยาก

              [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ราคะ
๒ โทสะ
๓ โมหะ
๔ ปฏิภาณ
๕ จิตคิดจะไป

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์