เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อานาปานสติคือธรรมอันเป็นเครื่องอยู่ ของตถาคต ของพระอรหันต์ และของพระเสขะ(ยังไม่บรรลุ) 2101
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

อิจฉานังคลสูตร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ
ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก จะถามเธอว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษา ด้วยวิหารธรรม ข้อไหน มาก พึงตอบว่า พระผู้มีพระภาค อยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ อันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติมาก
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมอยู่ด้วยอานาปานสติ เพื่อความสิ้นอาสวะ
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต์ ย่อมอยู่ด้วยอานาปานสติ เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ
อานาปานสติ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ ของพรหม และของตถาคต

โลมสกังภิยสูตร
วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์
ถ้าเธอทั้งหลายถูกถามว่า พระสมณโคดม อยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก? พึงตอบ ว่า พระผู้มีพระภาค อยู่จำพรรษา อยู่ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติมาก

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นอาสวะ?

ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วย อานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๒ - ๓๓๓

อิจฉานังคลสูตร
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ

            [๑๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

            [๑๓๖๔] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษา ด้วยวิหารธรรม ข้อไหนมาก เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก นั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค อยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ อันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติมาก

            [๑๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจ ออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจ เข้าสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ... ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่าเราจักพิจารณาเห็น โดยความสละคืนหายใจเข้า

            [๑๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึง สิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ บ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วย อานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม บ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง

            ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจาก โยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

            [๑๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิ อัน สัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ

            [๑๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึ งสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรม เป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วย อานาปานสติ ว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็น เครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๓-๓๓๕

โลมสกังภิยสูตร
วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์

            [๑๓๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้เมือง กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปหาท่าน พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญสมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรม ของ พระเสขะ เป็นวิหารธรรมของพระตถาคต หรือว่าวิหารธรรม ของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะ ถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม ของพระตถาคต หามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง

            [๑๓๗๐] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อม ปรารถนา ความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน?คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถิ่นมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษม จากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

            [๑๓๗๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้น สังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ อันภิกษุเหล่านั้น ละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอัน เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา นิวรณ์ ๕เป็นไฉน? คือกามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต ขีณาสพ ... หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา

            [๑๓๗๒] ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรม ของ พระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง

            [๑๓๗๓] ดูกรมหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใครๆ ไม่พึง เข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มี พระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

            [๑๓๗๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงสามเดือน นั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก จะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม อยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก? เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายพระผู้มีพระภาค อยู่จำพรรษา อยู่ด้วยสมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติมาก

            [๑๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจ ออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่าเราจักพิจารณาเห็น โดยความสละคืน หายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจัก พิจารณา เห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

            [๑๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึง สิ่งนั้น ว่าธรรม เป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิอันสัมปยุต ด้วย อานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ?

            [๑๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วย อานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ เป็นสุข ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ

            [๑๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ พึงกล่าวถึง สิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรม เป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึงสมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง อยู่ ของพระตถาคตบ้าง

            [๑๓๗๙] ดูกรมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่วิหารธรรมของ พระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์