เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ทีปสูตร อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ กายไม่ลำบาก ตาไม่ลำบาก จิตเราย่อมหลุดพ้น 2098
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

ทีปสูตร อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ
เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้
ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก
เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น


แม้กาย ของเรา ไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก
และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
พึงมนสิการ อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี
เราพึงละความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย
เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่ง ไม่ปฏิกูล ว่า ปฏิกูล
เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่ง ปฏิกูล ว่า ไม่ปฏิกูล
เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง ไม่ปฏิกูล และในสิ่ง ปฏิกูล ว่า ปฏิกูล
เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง ปฏิกูล และในสิ่ง ไม่ปฏิกูล ว่า ไม่ปฏิกูล
เราพึงเว้นสิ่ง ไม่ปฏิกูล และสิ่ง ปฏิกูล ทั้งสอง นั้น เสียแล้ววางเฉย

เราสงัดจากกาม อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน บรรลุจตุถฌาน
เราบรรลุอากาสา วิญญาณัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญา บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๒-๓๒๖

ทีปสูตร
อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ

            [๑๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้ มาก แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

            [๑๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออกมีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียก ว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาโดยความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดย ความสละคืนหายใจเข้า)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

            [๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบากจักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ ไม่ถือมั่น

            [๑๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า แม้กาย ของเรา ไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึง สละความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่า ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล ว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูล และในสิ่งปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๕] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๖] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสอง นั้น เสียแล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๗] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ สุขเกิดแก่สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วย มนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้ แหละให้ดี

            [๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วย มนสิการว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย มนสิการว่าไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๔] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ นี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี

            [๑๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้วอย่างนี้แล
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดีไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่ายินดีไม่น่าเพลิดเพลิน
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยงไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวย ทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

เมื่อเธอเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่าเวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้าแต่กายแตก

            [๑๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงลุกโพลงได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เพราะหมดน้ำมันและไส้ ประทีปน้ำมันไม่มีเชื้อ พึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนา มีกาย เป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้าแต่กายแตก

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์