เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เวสาลีสูตร การเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ต่อมาภิกษุนำศัสตรามาปลิดชีวิตตนเอง 2099
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

เวสาลีสูตร การเจริญอสุภกรรมฐาน

พระผู้มีพระภาค
  ตรัส อสุภกถา
  ตรัส สรรเสริญคุณแห่งอสุภ

  ตรัส สรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ
โดยอเนกปริยาย แก่เหล่าภิกษุเมืองเวสาลี

ภิกษุเหล่านั้น จึงขวนขวาย ประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้น อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศัตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศัตรามาปลิดชีวิตในวันเดียวกัน
(ฆ่าตัวตาย)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๘

เวสาลีสูตร
ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน

            [๑๓๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส อสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามา หาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวภิกษุเหล่า นั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

            [๑๓๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัส สรรเสริญ คุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวาย ประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้น อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาตรามาโดยวันเดียวกัน

            [๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์ จึงดู เหมือนเบาบางไป? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่ง การ เจริญอสุภ แก่ภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็น อเนกอยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาตรามาโดยวันเดียวกันขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด

            [๑๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด ที่อาศัยเมือง เวสาลี อยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่ ให้มาประชุม กันในปัฏฐานศาลาแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงทราบกาล อันควรในบัดนี้เถิด

            [๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพ สงบ ประณีตชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้น แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน

            [๑๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้าย ฤดูร้อนฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีตชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน

            [๑๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไป โดยพลัน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อม สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์