เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน๔ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น ได้อรหัตผล หรืออนาคามีผล 2087
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

อนนุสสุตวรรค
๑. อนนุสสุตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นกาย ในกาย ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...

๒. วิราคสูตร เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

๓. วิรัทธสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคล ไม่ปรารภแล้วชื่อว่าไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ

๔. ภาวนาสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง
สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง

๕. สติสูตร ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ? ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

๖. อัญญสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง
เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พึงหวังผลได้ ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

๗. ฉันทสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
เมื่อเธอพิจารณา เห็นกาย ในกายอยู่ (เห็นเวทนา เห็นจิต...) ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอัน ชื่อว่า ทำให้แจ้งซึ่งอมตะ

๘. ปริญญาสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
เมื่อเธอพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนดรู้กายได้ เพราะกำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่า กระทำ ให้แจ้งซึ่งอมตะ (พิจารณาเห็นเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม)

๙. ภาวนาสูตร
การเจริญสติปัฏฐาน ๔

๑๐. วิภังคสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน?
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกาย
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๗

อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน

            [๗๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นกาย ในกาย ... การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเราเจริญแล้ว

            [๗๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น แก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนานี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนานี้อันเราเจริญแล้ว

            [๗๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น แก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต.. การพิจารณา เห็นจิตในจิตนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้อันเราเจริญแล้ว

            [๗๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น แก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ... การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้นั้น อันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้ อันเราเจริญแล้ว


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๗-๑๙๘

วิราคสูตร
เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย

            [๘๐๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

            สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๘

วิรัทธสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค

            [๘๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ปรารภ แล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

            สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

            สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๘-๑๙๙

ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง

            [๘๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง

             สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

            สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๙

สติสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ

            [๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ?

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

            [๘๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัด แล้วปรากฏอยู่ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อม บังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ปัญญาอัน ภิกษุทราบชัดแล้วย่อมบังเกิดขึ้นที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึง ความตั้งอยู่ไม่ได้อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนี
ของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐

อัญญสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง

            [๘๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล ในปัจจุบัน หรือ เมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๐

ฉันทสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ

            [๘๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

             สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา เห็นกาย ในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอัน ชื่อว่า ทำให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๐๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจในเวทนานั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำ ให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๐๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมละความ พอใจ ในจิตนั้นได้เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๐๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมละ ความพอใจในธรรมนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๐-๒๐๑

ปริญญาสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ

            [๘๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

             สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
            
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนดรู้กายได้ เพราะกำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำ ให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๑๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนาได้ เพราะกำหนดรู้เวทนาได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๑๒] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมกำหนด รู้จิตได้ เพราะกำหนดรู้จิตได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ

            [๘๑๓] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมกำหนดรู้ธรรมได้ เพราะกำหนดรู้ธรรมได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๑

ภาวนาสูตร
การเจริญสติปัฏฐาน ๔

            [๘๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลาย จงฟัง

             การเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือการเจริญสติปัฏฐาน ๔.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒

วิภังคสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

            [๘๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน และ ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

             ก็สติปัฏฐาน เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลก เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน

            [๘๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน?

            
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย
พิจารณาเห็นธรรม
คือ ความเสื่อมในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกาย อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย
(เห็นความเกิดขึ้นในกาย เห็นความเสื่อมในกาย และเห็นทั้งความเกิดและความเสื่อม)

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา ...
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในจิต ...
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อม ในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน

            [๘๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่า ปฏิปทา อันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์