พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓
อมตวรรคที่ ๕
อมตสูตร
ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน
[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในสติปัฏฐาน ๔ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลก เสีย
เธอทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่น อยู่เลย และอมตะจะพึงมี แก่เธอทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓
สมุทยสูตร
ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ แห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร?
ความเกิดแห่งกาย ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร
ความดับแห่งกาย ย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
ความเกิดแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ
ความดับแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ความเกิดแห่งจิต ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
ความดับแห่งจิต ย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
ความเกิดแห่งธรรม ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ
ความดับแห่งธรรม ย่อมมีเพราะความดับแห่งมนสิการ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓-๒๐๔
มัคคสูตร
ว่าด้วยทางเป็นที่ไปอันเอก
[๘๒๐] สาวัตถีนิทาน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่งเมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ควงไม้ อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตก ขึ้น ในใจอย่างนี้ว่า
[๘๒๑] ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง ความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุพึงพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางเป็นที่ไป อันเอกนี้เพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
[๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตก ในใจ ของเราด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องหน้าเรา เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้วได้กล่าวว่า:-
[๘๒๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และ โทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย ... ในเวทนา ... ในจิต ... หรือในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ ก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
[๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวดังนี้แล้ว ครั้นแล้ว ได้กล่าว
นิคมคาถาต่อไปอีกว่า:-
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติ และที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อนชนทั้งหลาย ข้ามโอฆะ ได้แล้วด้วยทางนี้ (ในอนาคต) จักข้ามด้วยหนทางนี้ (ในบัดนี้) ก็ข้ามอยู่ด้วยหนทางนี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๕
สติสูตร
ทรงเตือนภิกษุให้เป็นผู้มีสติ
[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็น อนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มี สติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๕
กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล
[๘๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง กล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่า กองกุศลทั้งสิ้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึง สติปัฏฐาน ๔เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๕-๒๐๖
ปาฏิโมกขสูตร
ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร
[๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด
[๘๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระ เบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจง สำรวม ในปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณ น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
[๘๒๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จักถึงพร้อมด้วย มารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย เมื่อนั้นเธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุเธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย เมื่อใด เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม
[๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้น เป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ก็แลภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๗
ทุจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต-สุจริต
[๘๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด
[๘๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงชำระ เบื้องต้น ในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม? เธอจัก ละกายทุจริตเจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริตเจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตเจริญ มโนสุจริต
[๘๓๓] ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักละกายทุจริตเจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตเจริญมโนสุจริต เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล แล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ...ในจิตอยู่ ... จงพิจารณา เห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลก เสีย เมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ สติปัฏฐาน ๔เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ
ก็แล ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๗
มิตตสูตร
การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน
[๘๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชน เหล่าใด พึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใด พึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวน ชักนำ ให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๘
เวทนาสูตร
เวทนา ๓
[๘๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการ นี้แล
[๘๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อกำหนดรู้ เวทนา ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้ เวทนา ๓ ประการนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๘
อาสวสูตร
อาสวะ ๓
[๘๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ กามาสวะ ๑ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้แล
[๘๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้แล
คังคาทิเปยยาลว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ สติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก ก็เป็นผู้น้อมไป โนมไป โอนไป สู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๐
คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖
ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศ ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน
[๘๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัส
ในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฯลฯ
[๘๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้ สังโยชน์ ๕เป็นไฉน? คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล
[๘๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความ สิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕เหล่านี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)
แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้งหกไหลไปสู่สมุทรทั้งสองอย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่ามรรค
|