เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกขุสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ โกสลสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ 2077
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓
๑.พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร
๒.พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ ....
๓.พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่ ....

โกสลสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการ เจริญสติปัฏฐาน ๔

แม้ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร ...
แม้ภิกษุที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมี อารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๖๓-๑๖๕

ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓

            [๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

            [๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้ เหมือนกัน และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น

            ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง ธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค แม้ไฉน ข้าพระองค์พึง
เป็น ทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค

            [๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้ บริสุทธิ์ ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

            [๖๘๘] ดูกรภิกษุ
๑. เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย

๒.จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

๓.จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

๔.จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ...
๕.จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
๖.จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

๗.จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ...
๘.จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ...
๙.จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ...

๑๐.จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

๑๑.จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

๑๒.จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

            [๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย อย่างเดียว ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย

            [๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๖๕-๑๖๖

โกสลสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

            [๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อโกศล ในแคว้น โกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัส พระพุทธ ภาษิตนี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการ เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน?

            [๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตาม ความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง จงพิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง

            [๖๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ อรหัต ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้เวทนา ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้จิตย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใสมีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม

            [๖๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมี อารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจาก เวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิต มีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว

            [๖๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์