เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นิวรณ์วรรค กุสลสูตร ธรรมที่เป็นกุศล มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล อุปกิเลสของทอง ๕ 2068
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

๑. กุสลสูตรที่ ๑ ธรรมที่เป็นกุศลมีความไม่ประมาทเป็นมูล
๒. กุสลสูตรที่ ๒ ธรรมที่เป็นกุศลมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
๓. อุปกิเลสสูตร อุปกิเลสของทอง ๕ อย่าง
๔. อโยนิโสสูตร มนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ ย่อมเกิด
๕. โยนิโสสูตร มนสิการโดยแยบคายย่อมเกิดโพชฌงค์
๖. วุฑฒิสูตร โพชฌงค์เป็นไปเพื่อความเจริญ
๗. อาวรณานีวรณสูตร นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต
๘. นีวรณาวรณสูตร นิวรณ์ ๕ โพชฌงค์ ๗
๙. รุกขสูตร ธรรมเป็นเครื่องกั้น ๕ อย่าง
๑๐. นีวรณสูตร นิวรณ์ทำให้มืด

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๙
นิวรณวรรคที่ ๔

กุสลสูตรที่ ๑
ธรรมที่เป็นกุศลมีความไม่ประมาทเป็นมูล

            [๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นไปในส่วน แห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท เรากล่าวว่า เป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายอันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

            [๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๙ - ๑๒๐

กุสลสูตรที่ ๒
ธรรมที่เป็นกุศลมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล

            [๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันเป็นไปในส่วน แห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ประชุมลงในโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ เรากล่าวว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

            [๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย โยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญ โพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑

อุปกิเลสสูตร
อุปกิเลสของทอง ๕ อย่าง

            [๔๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำทอง ไม่ให้ อ่อนไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน?

            [๔๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี

            [๔๖๙] โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ

            [๔๗๐] ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ

            [๔๗๑] ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ

            [๔๗๒] เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี

            [๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำทอง ไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม่ได้ดี

            [๔๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ ตั้งมั่น ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน?

            [๔๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิต ไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ

            [๔๗๖] พยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ

            [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องทำจิต ไม่ให้นิ่มนวล ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยด ีเพื่อความสิ้นอาสวะ

            [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรม ห้ามไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

            [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ

            [๔๘๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ฯลฯ ย่อมเป็น ไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ

            [๔๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรม ห้ามไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๑-๑๒๒

อโยนิโสสูตร
มนสิการโดยไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ ย่อมเกิด

            [๔๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น ฯลฯ

            [๔๘๓] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            [๔๘๔] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            [๔๘๕] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            [๔๘๖] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๒

โยนิโสสูตร
มนสิการโดยแยบคายย่อมเกิดโพชฌงค์

            [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯลฯ

            [๔๘๘] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๒

วุฑฒิสูตร
โพชฌงค์เป็นไปเพื่อความเจริญ

            [๔๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม

             โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๓

อาวรณานีวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ เป็นอุปกิเลสของจิต

            [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลส ของจิตทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้นเป็นธรรมเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม พยาบาท .. ถีนมิทธะ ...อุทธัจจกุกกุจจะ ...วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่อง ห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม

            [๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่อง ห้ามไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้นไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้นไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็น อุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุติ

            [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจ ทั้งหมดเงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความ เจริญบริบูรณ์.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๔

นีวรณาวรณสูตร
นิวรณ์ ๕ โพชฌงค์ ๗

            [๔๙๓] ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? ย่อมไม่มีแก่เธอ คือกามฉันทนิวรณ์ ย่อมไม่มี พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อมไม่มีในสมัยนั้นนิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ

            [๔๙๔] ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์? คือ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความ เจริญบริบูรณ์โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

            [๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจ ทั้งหมดเงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๔

รุกขสูตร
ธรรมเป็นเครื่องกั้น ๕ อย่าง

            [๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ งอกคลุมไม้ ต้นทั้งหลาย เป็นเครื่องทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไป

            [๔๙๗] ก็ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น ที่มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ ปกคลุมต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเครื่องทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไปเป็นไฉน? คือ ต้นโพธิ์ใบต้นไทร ต้นมิลักขุ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะสัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ เหล่านี้แลที่มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่ งอกคลุมต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเครื่องทำ ต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไป

            [๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรบางคนในโลกนี้ละกาม เช่นใดแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต กุลบุตรนั้นย่อมเป็นผู้เสียหายวิบัติไปด้วยกามเช่นนั้น หรือที่เลวกว่านั้น

            [๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ๕ อย่าง เหล่านี้ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่อง กั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม พยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉาเป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างเหล่านี้แล

            [๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรม ห้าม ไม่ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผลคือวิชชาและวิมุติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้ามไม่ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำ จิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือวิชชาและวิมุติ.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๕

นีวรณสูตร
นิวรณ์ทำให้มืด

            [๕๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน? คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำ ไม่ให้มีจักษุกระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง ความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้ มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำให้มืดกระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

            [๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มี ญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป เพื่อนิพพานโพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มี ญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่ง ความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แลกระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อ นิพพาน

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์