เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โพชฌงค์ ๗ ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์,โพชฌงค์เป็นเครื่องย่ำยีมาร,ไม่เจริญโพชฌงค์เรียกว่าคนโง่ เรียกว่าคนจน 2069
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

๑. วิธาสูตร ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์
๒. จักกวัตติสูตร รัตนะ ๗ อย่าง
๓. มารสูตร โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร
๔. ทุปปัญญสูตร เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้

๕. ปัญญวาสูตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนมีปัญญา
๖. ทฬิททสูตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนจน
๗. อทฬิททสูตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนไม่จน
๘. อาทิจจสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์
๙. อังคสูตรที่ ๑ โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์
๑๐. อังคสูตรที่ ๒ ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๖
จักกวัตติวรรคที่ ๕

วิธาสูตร
ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์

            [๕๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด จักละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

            [๕๐๔] โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว ... สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ ...สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

มานะ ๓ / การถือตัว ๓ (วิธาสูตร)
๑.คิดว่าเราเลิศกว่าเขา
๒.คิดว่าเราเสมอเขา
๓.คิดว่าเราด้อยกว่าเขา



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๗

จักกวัตติสูตร
รัตนะ ๗ อย่าง

            [๕๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่าง จึงปรากฏรัตนะ ๗ อย่างเป็นไฉน? คือ จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ ปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างเหล่านี้จึงปรากฏ

            [๕๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะคือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? ได้แก่รัตนะ คือ สติสัมโพชฌงค์ฯลฯ รัตนะ คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะพระ ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะ คือโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้จึงปรากฏ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๗

มารสูตร
โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร

            [๕๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น ก็มรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมารและเสนามาร เป็นไฉน? คือโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๗

ทุปปัญญสูตร
เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้

            [๕๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนโง่ คนใบ้?

            [๕๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะ โพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ก็เพราะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตน ไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๗-๑๒๘

ปัญญวาสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนมีปัญญา

            [๕๑๐] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่ คนใบ้ คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้?

            [๕๑๑] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๘

ทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนจน

            [๕๑๒] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนจน คนจน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนจน?

            [๕๑๓] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญ แล้วไม่กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา สัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตน ไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๘

อทฬิททสูตร
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนไม่จน

            [๕๑๔] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนไม่จน คนไม่จน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนไม่จน?

            [๕๑๕] พ. ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตน เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา สัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๙

อาทิจจสูตร
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์

            [๕๑๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เป็นนิมิต มาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด แห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

            [๕๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำ ให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๙

อังคสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์

            [๕๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ดูกรภิกษุทั้งหลายอันภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ โพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

            [๕๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญ โพชฌงค์๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๐

อังคสูตรที่ ๒
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์

            [๕๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้ว เรายังไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

            [๕๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดีย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์