เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โพธนสูตรโพชฌงคธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้.. เทสนาสูตร โพชฌงค์๗ ฐานิยสูตร อโยนิโสสูตร อปริหานิยสูตร 2067
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

โพธนสูตร ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ สละ

เทสนาสูตร
โพชฌงค์ ๗

ฐานิยสูตร นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

อโยนิโสสูตร
นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย

อปริหานิยสูตร
ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗
กามฉันท์(๑) ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่ง กามราคะ ... พยาบาท (๒) ถีนมิทธะ(๓) อุทธัจจกุกกุจจะ (๔) วิจิกิจฉา(๕) สติสัมโพชฌงค์ (๖) อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (๗) ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญ ไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒

โพธนสูตร
ที่เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

            [๔๓๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญที่เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โพชฌงค์? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

            [๔๓๖] ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย วิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

             ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒

เทสนาสูตร
โพชฌงค์ ๗

            [๔๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

             ก็โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๓

ฐานิยสูตร
นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

            [๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่ง กามราคะ

            [๔๓๙] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาท

            [๔๔๐] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะ

            [๔๔๑] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุทธัจจกุกกุจจะ

            [๔๔๒] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา

            [๔๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่ เกิดขึ้น แล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรม อันเป็น ที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

            อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิด ขึ้น แล้ว ย่อมถึงความ เจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมาก ถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๓

อโยนิโสสูตร
นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย

            [๔๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง พยาบาท ... ถีนมิทธะ ...อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

            [๔๔๕] สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป

            [๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย กามฉันทะ ที่ยัง ไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้ พยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ...วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละ เสียได้

            [๔๔๗] สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึง ความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๔

อปริหานิยสูตร
ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗

            [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

             ก็ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งควาเสื่อม ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน? คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ ประการนี้แล

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์