เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อภิสันทสูตร ห้วงบุญกุศล เลื่อมใสพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ +มีศีลจาคะปัญญา..มหัทธนสูตร ธรรมเป็นผู้มั่งคั่ง 2118
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

อภิสันทสูตรที่ ๑ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ เป็นไฉน?
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ประการที่ ๑ เลื่อมใสในพระธรรม นี้ประการที่ ๒ เลื่อมใสในพระสงฆ์นี้ประการที่ ๓ มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว นี้ประการที่ ๔

อภิสันทสูตรที่ ๒ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข๔ ประการนี้ เป็นไฉน?
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ประการที่ ๑ เลื่อมใสในพระธรรม นี้ประการที่ ๒ เลื่อมใสในพระสงฆ์นี้ประการที่ ๓ มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว นี้ประการที่ ๔

อภิสันทสูตรที่ ๓ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ เป็นไฉน?
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ประการที่ ๑ เลื่อมใสในพระธรรม นี้ประการที่ ๒ เลื่อมใสในพระสงฆ์นี้ประการที่ ๓
ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเหตุ ให้ถึงความเกิดและความดับ นี้ประการที่ ๔

มหัทธนสูตรที่ ๑ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว

มหัทธนสูตรที่ ๒ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าท ๓๙๗-๓๙๘

อภิสันทสูตรที่ ๑
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

            [๑๖๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน?

            อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑

            อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓

            อีกประการหนึ่งอริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการ นี้แล

            [๑๖๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบ ด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่จะนับประมาณมิได้

            [๑๖๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับประมาณน้ำในมหาสมุทรว่า ประมาณ เท่านี้อาฬหกะ ๑- หรือว่าร้อยอาฬหกะ พันอาหฬกะ แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้ โดยง่าย ที่แท้น้ำย่อมถึงความนับว่า เป็นกองน้ำใหญ่ จะนับประมาณมิได้ แม้ฉันใด ใครๆ จะประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

@๑. ๑ อาฬหกะ เท่ากับ ๔ ทะนาน ฯ

            [๑๖๐๖] แม่น้ำเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชนอาศัยแล้ว ไหลไปยังสาคร ทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำอย่างใหญ่ มีสิ่งที่น่ากลัว มาก เป็นที่อยู่ของ หมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่ นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่งและเครื่องปูลาด เหมือนแม่น้ำไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าท ๓๙๘-๓๙๙

อภิสันทสูตรที่ ๒
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

            [๑๖๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน?

            อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๓

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ อันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล

            [๑๖๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบ ด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย นำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่จะนับจะประมาณมิได้

            [๑๖๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหานทีเหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภูมหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด จะนับจะประมาณน้ำที่ปากน้ำนั้นว่า ประมาณเท่านี้ อาฬหกะหรือร้อยอาฬหกะ พันอาฬหกะ แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ แม่น้ำย่อมถึงความนับว่า เป็นกองน้ำใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ แม้ฉันใด ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขมีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความ นับว่าเป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

            [๑๖๑๐] แม่น้ำเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชนอาศัยแล้ว ย่อมไหลไปสู่ สาคร ทะเลหลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำอย่างใหญ่ มีสิ่งที่ น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของ หมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมไหล ไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่งและเครื่อง ปูลาด เหมือนแม่น้ำไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน


----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าท ๓๙๙-๔๐๐

อภิสันทสูตรที่ ๓
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

            [๑๖๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน?

            อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓

            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเหตุ ให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการ นี้แล.

            [๑๖๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบ ด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึง ความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่จะนับจะประมาณมิได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์ นี้ว่า

            [๑๖๑๓] ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศล เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้น บรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ) ย่อมไม่หวั่นไหวในเมื่อ มัจจุราชมาถึง.


----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าท ๔๐๐

มหัทธนสูตรที่ ๑
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง

            [๑๖๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่

            ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.


----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าท ๔๐๐

มหัทธนสูตรที่ ๒
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง

            [๑๖๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่

            ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก มียศใหญ่

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์