เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ถปติสูตร ช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ ธรรม ๔ ประการ เลื่อมใสพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ มีจาคะอันปล่อยแล้ว 2107
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

ถปติสูตร ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ

(ช่างไม้รู้สึกเสียใจน้อยใจ ที่ไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ แม้พระองค์จะเสด็จมาใกล้หลายครั้ง และเสด็จ จากไปก็หลายครั้ง)

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ....
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท

ตรัสกับช่างไม้ ถึงธรรม ๔ ประการ เพื่อความเป็นโสดาบัน
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน

ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน เบื้องหน้า

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๙-๓๕๓

ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ

            [๑๔๓๔] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรม ของ พระผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกไป โดยล่วง สามเดือน

            [๑๔๓๕] ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้ ผู้เคยเป็นพระสกทาคามี นามว่า อิสิทัตตะ อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วย ด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเขาได้ฟังข่าวว่า ภิกษุมากรูป กระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน จึงวางบุรุษไว้ในหนทางโดยสั่งว่า

            ดูกรผู้บุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมา ในเวลาใด พึงบอกพวกเราในเวลานั้น บุรุษนั้นอยู่มาได้ ๒-๓ วัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาพวกช่างไม้แล้วได้บอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาล อันควร ในบัดนี้เถิด

            [๑๔๓๖] ครั้งนั้น พวกช่างไม้ ผู้เคยเป็นพระสกทาคามีนามว่า อิสิทัตตะ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วเดินตามพระผู้มีพระภาค ไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงแวะจากหนทางเสด็จ เข้าไปยังโคนไม้ แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย พวกช่างไม้ถวายบังคมพระผู้ มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

            [๑๔๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากพระนครสาวัตถี ไปในโกศลชนบท เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่าเสด็จจาริกจากนครสาวัตถี ไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างจากเราไปแล้ว

            [๑๔๓๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากโกศลชนบท ไปยังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลาย มีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่าเสด็จจากโกศลชนบทไปแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลาย ไปแล้ว

            [๑๔๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละ ไปยังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาค จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่าเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละ ไปยังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลาย ไปแล้ว

            [๑๔๔๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชี ไปยังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่าเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชี ไปยังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเราทั้งหลาย ไปแล้ว

            [๑๔๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าว พระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธ เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความเสียใจน้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่าเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จห่างเรา ทั้งหลายไปแล้ว

            [๑๔๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธ มายังแคว้นกาสี เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค จักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมคธ มายังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่าพระผู้มีพระภาคใกล้เรา ทั้งหลายเข้ามาแล้ว

            [๑๔๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มี พระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชี เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความดีใจปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่าพระผู้มีพระภาคใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว

            [๑๔๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชี มายังแคว้นมัลละ เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค จักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชี มายัง แคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค ใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว

            [๑๔๔๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจากแคว้นมัลละ มายังแคว้นโกศล เวลานั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายมีความดีใจปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค จักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละ มายัง แคว้นโกศลแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาค ใกล้เราทั้งหลาย เข้ามาแล้ว

            [๑๔๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังข่าว พระผู้มีพระภาคว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศล มายังพระนครสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคจักใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความดีใจ ปลื้มใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคใกล้เราแล้ว

            [๑๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท

            [๑๔๔๘] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่น ที่เป็นความคับแคบ กว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบ ยิ่งกว่าความคับแคบนี้ มีอยู่หรือหนอ?

            พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ก็ความคับแคบอย่างอื่น ที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบ ยิ่งกว่าความคับแคบนี้ เป็นไฉน?

            [๑๔๔๙] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อใดพระเจ้า ปเสนทิโกศล มีพระราชประสงค์ จะเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ ทั้งหลายต้องกำหนดช้างที่ขึ้นทรง ของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วให้พระชายาซึ่งเป็น ที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับข้างหน้า พระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือน กลิ่นของนางราชกัญญา ผู้ปะพรมด้วยของหอมดังขวดน้ำหอมที่เขาเปิด ในขณะนั้น กายสัมผัสของพระชายาเหล่านั้น เป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัสของนางราชกัญญา ผู้ดำรงอยู่ด้วยความสุข ดังปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็ต้องระวัง แม้พระชายาทั้งหลา ยข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระเจ้า ปเสนทิโกศล เล่า ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง

            [๑๔๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้สึกว่า จิตอันลามก บังเกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แล คือความคับแคบอย่างอื่น ที่เป็นความ คับแคบกว่า และที่นับว่า เป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้

            [๑๔๕๑] พ. ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสจึงคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ก็ท่านทั้งหลายควรไม่ประมาท

            [๑๔๕๒] ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่าแม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
๒. ในพระธรรม ฯลฯ
๓. ในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน

            ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน เบื้องหน้า

            [๑๔๕๓] ดูกรช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ก็ไทยธรรม สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ในตระกูล ท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมด กับผู้มีศีลมี กัลยาณธรรม ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เหมือนว่า พวกมนุษย์ ในแคว้นโกศลมีเท่าไร ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่าๆ กัน

            ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาค ทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ ของข้าพระองค์ ทั้งหลาย.

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์