เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระอนุรุทธะบรรลุมหาอภิญญาเพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ระลึกได้ตลอดพันกัป แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง 2094
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้
๑. สหัสสสูตร การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
๒. อิทธิสูตร เจริญสติปัฏฐานแผลงฤทธิ์ได้
๓. ทิพโสตสูตร ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด
๔. เจโตปริจจสูตร ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น
๕. ฐานาฐานสูตร ว่าด้วยการรู้ฐานะอฐานะ
๖. วิปากสูตร ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม
๗. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง
๘. นานาธาตุสูตร ว่าด้วยการรู้ธาตุต่างๆ
๙. อธิมุตติสูตร ว่าด้วยการรู้อธิมุติต่างๆ
๑๐. อินทริยสูตร ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์
๑๑. สังกิเลสสูตร ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว
๑๒. วิชชาสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการระลึกชาติได้
๑๓. วิชชาสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ
๑๔. วิชชาสูตรที่ ๓ ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๕

สหัสสสูตร
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

             [๑๒๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ถามท่าน พระอนุรุทธะ ว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญได้ กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน?

             [๑๒๘๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่ง มหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔

             สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล

              อนึ่ง เราย่อมระลึกได้ตลอดพันกัลป์ (กัป) เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบ สูตรที่ ๑


----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๕

อิทธิสูตร
เจริญสติปัฏฐานแผลงฤทธิ์ได้

             [๑๒๘๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะ ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๒


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ทิพโสตสูตร
ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด

             [๑๒๘๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๓


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เจโตปริจจสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น

             [๑๒๘๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๔


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฐานาฐานสูตร
ว่าด้วยการรู้ฐานะอฐานะ

             [๑๒๙๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ฐานะ โดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๕


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิปากสูตร
ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม

             [๑๒๙๑] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้วิบาก ของการกระทำกรรม ทั้งที่ เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร
ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง

             [๑๒๙๒] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้จักปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) อันให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวงตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๗


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยการรู้ธาตุต่างๆ

             [๑๒๙๓] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนก และโลกธาตุ ต่างๆ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๘


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

อธิมุตติสูตร
ว่าด้วยการรู้อธิมุติต่างๆ

             [๑๒๙๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้อธิมุติ (ความโน้มไป) อันเป็น ต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๙


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

อินทริยสูตร
ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์

             [๑๒๙๕] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อม รู้ความยิ่ง และหย่อน แห่ง อินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑๐


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

สังกิเลสสูตร
ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว

             [๑๒๙๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑๑


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิชชาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการระลึกชาติได้

             [๑๒๙๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑๒


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิชชาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการเห็นจุติและอุปบัติ

             [๑๒๙๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑๓


----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิชชาสูตรที่ ๓
ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป

             [๑๒๙๙] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑๔

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์