เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ 2090
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

๑. ปฏิลาภสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕
๒. สังขิตตสูตรที่ ๑ ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
๓. สังขิตตสูตรที่ ๒ ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
๔. สังขิตตสูตรที่ ๓ อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
๕. วิตถารสูตรที่ ๑ ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ
๖. วิตถารสูตรที่ ๒ ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์
๗. วิตถารสูตรที่ ๓ อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน
๘. ปฏิปันนสูตร ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕
๙. อุปสมสูตร ว่าด้วยผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ๕
๑๐. อาสวักขยสูตร ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗

ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

            [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            [๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์

            [๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์

            [๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่าสตินทรีย์

            [๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพาน ให้ เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

            [๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนด ความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗ -๒๑๘

สังขิตตสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

            [๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์
เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์
เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี
เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน
เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารี


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๘

สังขิตตสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์

            [๘๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารี

            ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้ เพราะความต่างแห่งผล


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๘-๒๑๙

สังขิตตสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน

            [๘๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ ... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ผู้ธัมมานุสารี

             ดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชม อรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าว อินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙

วิตถารสูตรที่ ๑
ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่างๆ

            [๘๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๑. บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์
๓. เป็นพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี
๔. เป็นพระอนาคามี ผู้มีอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. เป็นพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามี ผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. เป็นอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
๘. เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ผู้ ธัมมานุสารี


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๐

วิตถารสูตรที่ ๒
ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์

            [๘๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามา ฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้ เพราะ ความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๐

วิตถารสูตรที่ ๓
อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน

            [๘๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ทั้ง ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอรหันต์ ... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า พระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีดังพรรณนามาฉะนี้แล บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญมรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่เป็นหมันเลย


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๐-๒๒๑

ปฏิปันนสูตร
ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕

            [๘๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
๑.บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์
๒.
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอรหันต์
๓.
เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ เพื่อทำอรหัตผล ให้แจ้ง
๔.
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามีผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระอนาคามี
๕.
เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามีผล ให้แจ้ง
๖.
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามีผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระสกทาคามี
๗.
เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง
๘.
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ พระโสดาบัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน

โดยย่อ
๑. พระอรหันต์ (อินทรีย์๕เต็มบริบูรณ์)
๒. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ (อินทรีย์อ่อนกว่า ๑)
๓. อนาคามี (อินทรีย์อ่อนกว่า ๒)
๔. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอนาคามี (อินทรีย์อ่อนกว่า ๓)
๕. สกทาคามี (อินทรีย์อ่อนกว่า ๔)
๖. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นสกทาคามี (อินทรีย์อ่อนกว่า ๕ )
๗. โสดาบัน (อินทรีย์อ่อนกว่า ๖)
๘. ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นโสดาบัน (อินทรีย์อ่อนกว่า ๗)


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๑

อุปสมสูตร
ว่าด้วยผู้พร้อมด้วยอินทรีย์ ๕

            [๘๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์อื่นๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าใดหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้พร้อมด้วยอินทรีย์?

            [๘๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันให้ความสงบ ให้ถึงความ ตรัสรู้ ดูกรภิกษุด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๒

อาสวักขยสูตร
ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕

            [๘๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

            [๘๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ภิกษุ จึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใ นปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์