เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

คังคาเปยยาล อัปปมาทวรรค พลกรณียวรรค เอสนาวรรค โอฆวรรค 2075
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

๙. คังคาเปยยาล
๑๐. อัปปมาทวรรค
๑๑. พลกรณียวรรค
๑๒. เอสนาวรรค
๑๓. โอฆวรรค

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

๙. คังคาเปยยาล

            [๖๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ

            แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒ อย่างๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค

จบ คังคาเปยยาลที่ ๙
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

๑๐. อัปปมาทวรรค

            [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี เท้ามากก็ดี มีประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิก สูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
(พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)

จบ อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงคสังยุต
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

๑๑. พลกรณียวรรค

            [๖๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำ อยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฉันใด.
(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร
(พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่งโพชฌงคสังยุต)

จบ พลกรณียวรรคที่ ๑๑
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

๑๒. เอสนาวรรค

            [๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑ (พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.

(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยอาศัยวิเวก)

จบ เอสนาวรรคที่ ๑๒
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

๑๓. โอฆวรรค

โอฆะ ๔

            [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? ได้แก่โอฆะ คือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฏฐิ โอฆะคืออวิชชา (พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).

            [๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่ นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นิวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร

จบ โอฆวรรคที่ ๑๓

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๘-๑๖๑

วรรคที่ ๑๔

            แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สาย ไหลไปสู่สมุทร ทั้ง ๒อย่างนั้น อย่างละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่าวรรค

(คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถแห่งราคะ)

จบ วรรคที่ ๑๔
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วรรคที่ ๑๕

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)

จบ วรรคที่ ๑๕
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วรรคที่ ๑๖

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สุกกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. เมฆสูตรที่ ๑ ๙. เมฆสูตรที่ ๒ ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร (พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถ แห่งราคะ)

จบ วรรคที่ ๑๖
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วรรคที่ ๑๗

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขสูตรที่ ๑ ๖. ทุกขสูตรที่ ๒ ๗. ทุกขสูตรที่ ๓ ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.

จบ เอสนาวรรคแห่งโพชฌงคสังยุตที่ ๑๗
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วรรคที่ ๑๘

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัมภาคิยสูตร.

(โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการกำจัดราคะเป็นที่สุด การกำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะเป็นที่สุด)

จบ วรรคที่ ๑๘
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(มรรคสังยุตแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงคสังยุต แม้นั้น ก็พึงขยาย เนื้อความให้พิสดาร)


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์