เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปริยายสูตร ปริยายนิวรณ์ ๕ : ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง 2071
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

ปริยายสูตร ปริยายนิวรณ์ ๕

ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน?
กามฉันทนิวรณ์
กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ กามฉันทะในภายนอกก็เป็นนิวรณ์
พยาบาทนิวรณ์
พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ พยาบาทในภายนอก ก็เป็นนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์
ถีนะก็เป็นนิวรณ์ มิทธะก็เป็นนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์
วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายภายใน วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอก
-------------------------------------------------------------------
โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?
สติสัมโพชฌงค์
แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายใน ก็เป็นสติ สัมโพชฌงค์
แม้สติ ในธรรมทั้งหลาย ในภายนอก ก็เป็น สติสัมโพชฌงค์
...ฯลฯ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๘

ปริยายสูตร
ปริยายนิวรณ์ ๕

            [๕๔๗] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะ เที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวก อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง ปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็น อุปกิเลส ของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง

            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ระหว่างธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของ พระสมณโคดม

            [๕๔๘] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก พวกนั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลายจักทราบ เนื้อความ แห่งคำพูดนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค

            [๕๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เมื่อเช้าวันนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะ เที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด

            ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า

            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง ปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็น อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง

            ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไร เป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของ พวกเรา กับ อนุศาสนีของพระสมณโคดม

            [๕๕๐] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราทั้งหลาย จักทราบ เนื้อความของคำพูดนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค

            [๕๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า

            ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ? พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถูกเธอทั้งหลายถาม อย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะ มิใช่วิสัย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดี ด้วยการแก้ปัญหา เหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของ ตถาคตนั้น

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๘
นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง

            [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน?

            [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะ ในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันทนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทใน ภายนอก ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์ นั้นก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ นั้น ก็เป็น๒ อย่าง

            [๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่ อุเทศแม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๘
โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง

            [๕๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?

            [๕๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็นสติ สัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรมทั้งหลาย ในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๑] แม้ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจ พิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลายในภายนอกที่บุคคล เลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติ ที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดย ปริยายนี้ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้ความ สงบจิต ก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่ อุเทศ แม้โดย ปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิ ที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่ อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง

            [๕๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขา สัมโพชฌงค์ คำว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ก็เป็น๒ อย่าง

            [๕๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์