เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

การถือตัว ๓ อาสวะ ๓ ภพ ๓ ความเป็นทุกข์ ๓ เสาเขื่อน ๓ มลทิน ๓ ทุกข์ ๓ เวทนา ๓ ตัณหา ๓ 2064
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

วิธาสูตร การถือตัว ๓ ... เราประเสริฐกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา
อาสวสูตร อาสวะ ๓ ...กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ภวสูตร ภพ ๓ ...กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ทุกขตาสูตร ความเป็นทุกข์ ๓ .... เกิดจากความไม่สบายกาย ความเป็นทุกข์ เกิดจากสังขาร
ขีลสูตร เสาเขื่อน ๓ ..... ราคะ โทสะ โมหะ
มลสูตร มลทิน ๓ ..... ราคะ โทสะ โมหะ
นิฆสูตร ทุกข์ ๓ ..... ราคะ โทสะ โมหะ
เวทนาสูตร เวทนา ๓ ..... สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
ตัณหาสูตรที่ ๑ ตัณหา ๓ ..... กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหาสูตรที่ ๒ ละตัณหา ๓... เจริญอริยมรรค เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๒

วิธาสูตร
การถือตัว ๓

            [๓๑๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? คือ การถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑ เราเลวกว่าเขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการถือตัว ๓ อย่างนี้แล

            [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘เป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๒-๘๓

อาสวสูตร
อาสวะ ๓

            [๓๑๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้แล

            [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๓

ภวสูตร
ภพ ๓

            [๓๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือกามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้แล

            [๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๓

ทุกขตาสูตร
ความเป็นทุกข์ ๓

            [๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? คือ ความเป็นทุกข์เกิดจาก ความไม่สบายกาย ๑ ความเป็นทุกข์เกิดจาก สังขาร ๑ ความเป็นทุกข์เกิดจากความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล

            [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๓-๘๔

ขีลสูตร
เสาเขื่อน ๓

            [๓๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง เป็นไฉน? ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล

            [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๔

มลสูตร
มลทิน ๓

            [๓๒๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่มลทิน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล

            [๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละมลทิน ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๔

นิฆสูตร
ทุกข์ ๓

            [๓๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล

            [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๔-๘๕

เวทนาสูตร
เวทนา ๓

            [๓๒๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้แล

            [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเวทนา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๕

ตัณหาสูตรที่ ๑
ตัณหา ๓


            [๓๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้แล

            [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘เป็นไฉน?

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๕-๘๖

ตัณหาสูตรที่ ๒
ตัณหา ๓

            [๓๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ

            [๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบ ด้วย องค์ ๘เป็นไฉน?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์