พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๖
๑. สมุทยธัมมสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชาและวิชชา
(พระผู้มีพระภาค ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง)
[๓๒๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาอวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ -ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
-ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูปอันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อม ไป เป็นธรรมดา
-
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่า รูปมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
- ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ...
-
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสัญญา ...
-
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ...
-
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
-
ย่อมไม่ รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
-
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา ว่าวิญญาณมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วย อวิชชา ด้วยเหตุ เพียง เท่านี้.
[๓๒๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วย วิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้
- ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ...
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสัญญา ...
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งสังขาร ...
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
-
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็น ธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา.
ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๖
๒. สมุทยธัมมสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา
(พระสารีบุตรกล่าวกับ พระมหาโกฏฐิตะ)
[๓๒๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ..(เนื้อความต่อจากนี้ เช่นเดียวกับ สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ ที่ทรงตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง)
ดูกรท่านผู้มีอายุนี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๖-๑๖๗
๓. สมุทยธัมมสูตรที่ ๓
ว่าด้วยความหมายของวิชชา
(พระสารีบุตรกล่าวกับ พระมหาโกฏฐิตะ)
[๓๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ แล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ... (เนื้อความต่อจากนี้ เช่นเดียวกับ สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ ที่ทรงตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง)
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบ ด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๗
๔. อัสสาทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา
(พระสารีบุตรกล่าวกับ พระมหาโกฏฐิตะ)
[๓๒๔] พระนครพาราณสี. ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถาม ท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วย อวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณโทษและ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ.
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่าอวิชชา และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๗-๑๖๘
๕. อัสสาทสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของวิชชา
(พระสารีบุตรกล่าวกับ พระมหาโกฏฐิตะ)
[๓๒๕] พระนครพาราณสี. ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถาม ท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ วิชชา เป็นไฉน หนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วย วิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัย นี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ.
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า วิชชาและบุคคล เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. |